วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง

การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง  เป็นการตรวจสอบระบบการจ่ายเชื้อเพลิงซึ่งได้แก่ ปั๊มเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ต่างๆในคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งจะต้องพอจารณาและตรวจสอบตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การตรวจปั๊มเชื้อเพลิง การตรวจการทำงานของปั๊มเชื้อเพลิงแบบกลไกสามารถปฏิบัติดังนี้
  -ตรวจการทำงานของลิ้นน้ำมันเข้าด้วยการอุดท่อเข้า-ออกและท่อไหลกลับ และพิจารณาดูการเคลื่อนตัวของกระเดื่องกดแผ่นไดอะแฟรมซึ่งจะเคลื่อนตัวเป็นอิสระ
  -ตรวจสอบลิ้นทางด้านน้ำมันออก โดยใช้นิ้วมืออุดช่องทางเข้าและตรวจสอบการล็อคตัวของกระเดื่องนั้นด้วยแรงเช่นเดียวกับการตรวจสอบลิ้นทางเข้า
  -ตรวจสอบไดอะแฟรมโดยใช้นิ้วมืออุดท่อทางเข้าและท่อทางออกและตรวจสอบการล็อคตัวของกระเดือง
   หมายเหตุ ถ้าทำการตรวจสอบทั้ง 3 หัวข้อแล้วปั๊มยังคงทำงานผิดปกติอยู่ นั่นแสดงว่าการผนึกของปั๊มผิดปกติ
  *ให้อุดรูระบายปั๊มเพื่อตรวจสอบการรั่วของน้ำมันและการล็อคของกระเดิ่องปั๊ม
 2.การถอดแยกคาร์บูเรเตอร์ การถอดแยกคาร์บูเรเตอร์ควรถอดแยกชิ้นส่วนออกเป็น 2 ส่วนอย่างระมัดระวัง เช่น ควรแยกฝาครอบคาร์บูเรเตอร์ และตัวเรือนของคาร์บูเรเตอร์ออกอย่างระมัดระวังอย่าให้สับสน และควรจัดเรียงชิ้นส่วนให้เป็ไปตามลำดับ
 3.การตรวจสอบคาร์บูเรเตอร์  ก่อนทำการตรวจสอบคาร์บูเรเตอร์ ชิ้นส่วนทุกชิ้นควรจะได้รับการทำความสะอาดเสียก่อน  การตรวจสอบสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  -ตรวจสอบการสึกหรอของสลักลูกลอย  การแตกบิ่นของรูสลักลูกลอย  การบิดเบี้ยวของสปริง  เข็มลูกลอย   ลูกสูบ   และการแตกของตัวกรองเชื้อเพลิง
  -ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของลูกสูบกำลัง
  -ตรวจสอบการชำรุดและการเปิด-ปิดของลิ้นกำลัง
  -ตรวจสอบการทำงานของนมหนูไฟฟ้าด้วยการต่อขดลวดกับแบตเตอรี่
  -ตรวจสอบความต้านทานตัวเรือนขดลวดโช้กอัตโนมัติ (ความต้านทาน 20 ถึง 22 โอห์ม ที่อุณหภูมิ 20องศาเซลเซียส )
  -ตรวจรอยชำรุดของสกรูปรับส่วนผสมเดินเบา
  -ตรวจสอบการอุดตันของนมหนูเดินเบาและนมหนูหลักแต่ละตัว
 4.การประกอบคาร์บูเรเตอร์  การประกอบให้ประกอบอย่างระมัดระวังตามขั้นตอนดังนี้
  -ประกอบสกรูปรับแต่งส่วนผสมเดินเบาเข้าที่เรือนคาร์บูเรเตอร์
  -ประกอบชุดไดอะแฟรมตรวจวัดตำแหน่งลิ้นเร่ง
  -ประกอบลูกเบี้ยวเดินเบารอบสูง แหวนรองลูกเบี้ยว และโบลด์
  -ประกอบคอคอดท่อที่ 1 และท่อที่ 2บนปะเก็นที่เปลี่ยนใหม่
  -ประกอบปั๊มเร่งช่วย ลูกปืนไดอะแฟรมสปริง และเรือนปั๊มเร่งช่วย
  -ประกอบนมหนูหลักท่อที่ 1 และ 2 และนมหนูเดินเบา
  -ประกอบตัวหน่วงลิ้นเร่งและนมหนูไฟฟ้าเข้ากับตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์
  -ประกอบลูกปืนกันกลับของปั๊มเร่ง
  -ประกอบตัวเรือนขดลวดสปริงไบมีทัลของโช้กอัตโนมัติ
  -จัดขีดบนเรือนโช้กให้ตรงกัน และตรวจการทำงานของลิ้นโช้ก
  -ประกอบบ่าลิ้นและปะเก็นใหม่เข้าช่องทางเชื้อเพลิงเข้า
  -ประกอบเข็มลูกลอย สปริงลูกลอย  ลูกลอย และสลัก
  -ตรวจวัดระดับลูกลอยโดยใช้เวอร์เนียร์หรือเครื่องมือวัดเฉพาะวัดระหว่างลูกลอยกับฝาครอบคาร์บูเรเตอร์ (ระดับลูกลอย 7.2 มิลลิเมตร หรือ 0.238 นิ้ว)
  -ถ้าระดับลูกลอยไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ ให้ทำการปรับที่ส่วนปลายของลูกลอย
  -ประกอบฝาครอบและตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์เข้าด้วยกันกับสกรู
  -ประกอบก้านต่อโช้กโอเพนเนอร์
  -ประกอบขาปั๊มเร่งและก้านต่อโช้กเข้ากับฝาครอบคาร์บูเรเตอร์
 5.การปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ หลังจากทำการประกอบคาร์บูเรเตอร์แล้ว ควรทำการปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  -ตรวจสอบการเปิดเต็มที่ของลิ้นเร่งท่อที่1 (ค่ามุมมาตรฐาน 90 องศาตามแนวนอน )
  -ถ้ามุมการเปิดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับตั้งขากั้นลิ้นเร่งท่อที่ 1
  -ตรวจวัดมุมการเปิดเต็มที่ของลิ้นเร่งท่อที่ 2 ( ค่ามุมมาตรฐาน 80 องศาตามแนวนอน)
  -ถ้ามุมเปิดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับตั้งขากั้นลิ้นเร่งท่อที่ 2
  -ปรับตั้งระยะห่างระหว่างลิ้นเร่งท่อที่ 2 กับตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์ (ระยะคิกอัป  ระยะห่างคิกอัปประมาณ 0.16 ถึง 0.27 มิลลิเมตร)
  -ถ้าระยะห่างคิกอัปไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ใช้คีมปรับตั้งดัดขาลิ้นเร่งท่อที่ 2
  -ปรับตั้งขีดเครื่องหมายบนเรือนขดลวดให้ตรงกับขีดกลางของตัวเรือน
  -ถ้าต้องการปรับส่วนผสมให้เหมาะสมกับการสตาร์ท ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางดังนี้
      ถ้าต้องการส่วนผสมหนา ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางเข็มนาฬิกา
      ถ้าต้องการส่วนผสมบาง ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
  -ปรับขาลิ้นเร่งในตำแหน่งเดินเบารอบสูง
  -ถ้ารอบเดินเบารอบสูงไม่ได้ตามที่กำหนด ให้ใช้คีมดัดขาเดินเบารอบสูง
  -ดัดก้านต่อ A เพื่อปรับตั้งระยะการทำงานของปั๊มเร่ง (ค่าระยะมาตรฐาน 4.0 มิลลิเมตร)


WWW.PCNFORKLIFT.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น