วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
ปัญหาข้อขัดข้องของกระปุกเกียร์
ปัญหาข้อขัดข้องของกระปุกเกียร์
เมื่อเกิดปัญหาข้อขัดข้องกับกระปุกเกียร์รถยนต์แบบธรรมดา อันดับแรกจะต้องตรวจหาอาการและตำแหน่งที่เป้นสาเหตุของปัญหาก่อน ถ้าอาการที่แสดงออกไม่เด่นชัดอาจทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยปัญหา สาเหตุและทำการตรวจสอบชิ้นส่วนที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระปุกเกีย ซึ่งอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1.ขณะเปลี่ยนเกียร์ เกียร์จะมีเสียงดัง มีสาเหตุมาจาก
- มีข้อบกพร่องมาจากคลัตช์ เช่น คลัตช์ไม่จากออกขณะเข้าเกียร์ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องจากคลัตช์โดยตรง
- ตรวจสอบร่องเล็กๆในเฟืองทองเหลืองของกลไกซิงโครเมต เมื่อร่องเล็กๆเหล่านี้สึก การสัมผัสระหว่างเฟืองทองเหลืองกับเฟืองเกียร์เกิดลื่นไถล มีแรงฝืดน้อย ทำให้การปรับความเร็วของเกียร์ด้อยลง
- ระยะช่องว่างระหว่างเฟืองทองเหลืองกับเฟืองเกียร์ เมื่อดันเฟืองทองเหลืองให้แนบกับส่วนกรวยของเฟืองเกียร์และใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่าง ถ้ามีการสึกหรอ ระยะช่องว่างจะมีค่าน้อยลง ซึ่งจากการสึกหรอที่เกิดขึ้นจะเป็นสาเหตุของการปรับรอบความเร็วของปลอกดุมกับเฟืองเกียร์เป็นไปได้ยาก ทำให้เกิดเสียงดัง
- อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ตัวหนอนของชุดเฟืองซิงโครไนซ์โดยเฉพาะส่วนยอดนูนซึ่งมีการสึกหรอมาก ทำให้เฟืองทองเหลืองถูกดันน้อยลง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงดังในขณะที่เปลี่ยนเกียร์
2.เปลี่ยนเกียร์ยาก มีวิธีการตรวจสอบดังนี้
- ปัญหาส่วนใหญ่ของการเข้าเกียร์ยากมักเกิดจากก้านต่อควบคุมกระปุกเกียร์ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าแบบควบคุมโดยตรง ทั้งนี้เนื่องมาจากบูชต่างๆสึกหรอ
- ปัญหาเกิดจากการทำงานของคลัตช์
- ตรวจสอบชิ้นส่วนกระปุกเกียร์ เช่น การสึกหรอของร่องเฟืองทองเหลือง การสึกหรอของตัวหนอน สปริงตัวหนอน และกลไกล็อคเกียร์
3.เกียร์หลุด มีวิธีตรวจสอบดังต่อไปนี้
- ให้ตรวจสอบระยะห่างด้านข้างของแต่ละเฟืองเกียร์ ถ้ามีการสึกหรอมากจะทำให้ความสัมพันธ์ของตำแหน่งระหว่างเฟืองเกียรืและปลอกดุมลดลงเป็นสาเหตุให้เกียร์หลุดออกจากการขบกันได้ง่าย
- ตรวจความแข็งของสปริงและลูกปืนล็อคเกียร์ได้จากความรู้สึกในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่ ซึ่งมันจะเกิดแรงต้านเมื่อลูกปืนล็อคถูกกดลงในร่องของเพลาก้ามปูด้วยสปริง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสปริงมีความแข็งมากเกินไป มันจะช่วยป้องกันเกียร์หลุดได้ดี แต่ทำให้ผู้ขับขี่รถจะต้องใช้แรงพยายามที่จะดันคันเกียร์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าความแข็งของสปริงมีน้อยเกินไป การเปลี่ยนเกียร์ก็สามารถทำได้โดยง่าย แต่เฟืองเกียร์ที่ขบกันอาจจะหลุดจากกันได้ง่ายเช่นกัน
- ตรวจสอบการสึกหรอร่องหางเหยี่ยวของปลอกดุม ถ้าเกิดการสึกหรอ ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้เกียร์หลุดได้ง่าย
4.เกิดเสียงดังในกระปุกเกียร์ สาเหตุอาจเกิดจาก
- ความบิดเบี้ยวของเพลา
- ช่องว่างน้ำมันระหว่างบูชและเพลา
- ช่องว่างระหว่างปลอกดุมและก้ามปูเกียร์ เป็นต้น
การถอดและประกอบกระปุกเกียร์ธรรมดาแบบใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า
การถอด - ประกอบและตรวจสอบมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบและการทำงานของกระปุกเกียร์แบบใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งก็ช่วยให้เกิดความชำนาญในการตรวจสอบชิ้นส่วนและศึกษาวิธีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับสภาพการทำงานของชิ้นส่วนที่หมุนเคลื่อนที่และชิ้นส่วนที่ต้องหล่อลื่นในขณะที่ถอดแยกชิ้นส่วนของกระปุกเกียร์ธรรมดาแบบใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า
1.การถอดแยกชิ้นส่วนย่อยของกระปุกเกียร์ มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ถอดก้ามปูกดคลัตช์และลูกปืน
- ถอดเซนเซอร์วัดความเร็วรถยนต์
- ถอดสวิตช์ไฟถอยหลัง
- ถอดกระเดื่องคันเกียร์
- ถอดแผงยึดสายควบคุมเกียร์
- ใช้ประแจหัวจีบถอดสกรูหัวจีบ 3 ตัว
- คลายโบลด์ยึดฝาครอบเรือนเกียร์
-ใช้ค้อนและแท่งทองเหลืองเคาะเบาๆที่ฝาครอบส่วนที่ยื่นของเรือนเกียร์ออกจากตัวเรือน
- คลายโบลด์ยึดชุดเพลาคันเลื่อนและเลือกตำแหน่งเกียร์
- คลายนอตล็อคเข้าตำแหน่งเกียร์พร้อมกันและใช้ค้อนกับสกัด สกัดส่วนที่ย้ำของนอตออก
- ถอดนอตล็อคและเข้าตำแหน่งเกียร์
- คลายโบลด์ล็อคก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 3 และถอดปลอกเลื่อนและก้ามปุเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 3
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะกันรุนเฟืองเกียร์ 5 ( ระยะช่องว่างมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.57 มิลลิเมตร)
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะช่องว่างน้ำมัน ( ระยะช่องว่างมาตรฐาน 0.015 ถึง 0.058 มิลลิเมตร)
- ใช้ค้อนตอกไขควง 2 ตัว ตอกแหวนล็อคออก
- ใช้ไขควงถอดสปริงล็อคลิ่มและถอดเฟืองดุมคลัตช์ตัวที่ 3 เฟืองทองเหลือง เฟืองเกียร์ 5 และลูกปืนเข็ม
- คลายนอตล็อคและถอดฝาครอบลูกปืนตัวหลัง
- ใช้คีมถ่างแหวนและถอดแหวนล็อค 2 ตัว(ถ้าแหวนล็อคถอดออกยาก ให้ดึงเพลาขึ้น )
- คลายโบลด์ล็อคเพลาเฟืองสะพานเกียร์ถอยหลัง
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อคออก
- ใช้ประแจหกเหลี่ยมขันปลั๊ก 3 ตัวและใช้ไขควงแม่เหล็กถอดสปริง บ่ารองสปริง และลูกปืนออก
- คลายโบลด์ด้านเรือนเกียร์และด้านชุดเฟืองท้าย
- ใช้ค้อนพลาสติกเคาะๆ เพื่อถอดเรือนเกียร์ออกจากเรือนเฟืองท้าย
- ถอดเฟืองสะพานเกียร์ถอยหลัง แหวนกันรุนและเพลาออก
- คลายโบลด์ยึดแผ่นขาเลื่อนเกียร์ถอยหลัง 2 ตัวและถอดแผงออก
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อค 3 ตัวออก
- คลายโบลด์ 3 ตัวออก
- ดึงเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 3 ต่อจากนั้นให้ถอดเพลาก้ามปูตัวที่ 2 และหัวเลือกตำแหน่งเกียร์
- ใช้ไขควงแม่เหล็กดูดลูกปืน 2 ลูกออกจากก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ถอยหลัง
- ถอดเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 3 และก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ถอยหลังออก
- ดึงเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1 ออก
- ถอดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1 และ 2 ออก
- ถอดชุดเพลาส่งกำลังและเพลารับกำลังออกจากเรือนกระปุกเกียร์พร้อมกัน
- ถอดชุดเฟืองท้ายออก
- ถอดแม่เหล็กออกจากเรือนชุดเฟืองท้าย
2.การตรวจสอบเฟืองทองเหลืองและช่องว่างระหว่างก้ามปูเปลี่ยนเกีร์กับปลอกดุมคลัตช์ของเฟืองเกียร์ 5
ภายหลังจากถอดชิ้นส่วนประกอบของกระปุกเกียร์ ควรตรวจสอบการสึกหรอของเฟืองทองเหลืองและช่องว่างระหว่างก้ามปูเปลี่ยนเกียร์กับปลอกดุมคลัตช์อย่างระมัดระวังด้วยเครื่องมือวัดละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตรวจดูการสึกหรอและแรงเบรกของเฟืองทองเหลือง โดยหมุนเฟืองไปพร้อมกับการกดเฟืองไปในทิศทางเดียวเพื่อตรวจดูการล้อคของเฟืองทองเหลือง ( ถ้าแรงเบรกไม่พอ ให้บดเฟืองทองเหลืองกับกรวยเฟืองเกียร์ )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างเฟืองทองเหลืองกับปลายเฟืองเกียร์ (ค่าระยะช่องว่างต่ำสุด 0.6 มิลลิเมตร )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างของปลอกดุมคลัตช์กับก้ามปูเปลี่ยนกียร์ (ระยะช่องว่างสูงสุด 1.00 มิลลิเมตร) ถ้าระยะช่องว่างสูงกว่าค่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนก้ามปูเปลี่ยนเกียร์หรือปลอกดุมคลัตช์
3.การเปลี่ยนลูกปืน ซีล และสลักป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังของกระปุกเกียร์ธรรมดาแบบใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า สามารถทำได้เมื่อทำการตรวจซ่อมกระปุกเกียร์ครั้งใหญ่ ( ovarhaul )มรขั้นตอนในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ถอดแผงรับน้ำมันที่เรือนกระปุกเกียร์ด้านชุดเฟืองท้าย
- ใช้เครื่องมือถอดลูกปืนเพลารับกำลังออก
- เปลี่ยนลูกปืนใหม่และใช้เครื่องกดไฮดรอลิกประกอบลูกปืน
- คลายโบลด์และแผ่นล็อคลูกปืนเพลาส่งกำลังตัวหน้า
- ใช้เครื่องมือดูดลูกปืนและถอดฝาครอบหน้าเพลาส่งกำลังออก
- ประกอบฝาครอบหน้าเพลาส่งกำลังโดยให้ส่วนเว้าของฝาครอบตรงกับส่วยเว้าของเรือนกระปุกเกียร์
- ใช้ไฮดรอลิกประกอบลูกปืนใหม่
- ประกอบแผ่นล็อคลูกปืนและขันโบลด์ให้แน่น
- ใช้ไขควงงัดซีลน้ำมันเพลาของเพลารับกำลังหน้าออก
- ถ้าต้องการเปลี่ยนสลักป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลัง ให้ถอดปลั๊กสกรูปิด
- ใช้ค้อนและเหล็กส่งสลักตอกสลักล็อคออก
- เปลี่ยนสลักป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังออก
- ใช้ค้อนและเหล็กส่งสลักตอกสลักล็อคเข้า
- ทาปะเก็นเหลวที่เกลียวปลั๊กและใช้เครื่องมือประกอบปลั๊กสกรู
- ประกอบและขันโบลด์ยึดแผงรับน้ำมันเรือนชุดเฟืองท้าย
4.การถอดแยกเพลารับกำลัง ชิ้นส่วนประกอบของเพลารับกำลังจะกระทำได้เมื่อได้ถอดแยกกระปุกเกียร์แล้ว ซึ่งมีลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนของเฟืองเกียร์ 3 (ค่าระยะรุนมาตรฐานของเฟืองเกียร์ 3 ประมาณ 0.10 ถึง 0.35 มิลลิเมตร
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนของเฟืองเกียร์ 4 (ค่าระยะรุนมาตรฐานของเฟืองเกียร์ 4 ประมาณ0.10 ถึง 0.55 มิลลิเมตร )
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะช่องว่างน้ำมันระหว่างเฟืองเกียร์ 3 และเฟืองเกียร์ 4 กับเพลารับกำลัง (ระยะช่องว่างมาตรฐาน 0.015 ถึง 0.058 มิลลิเมตร)
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อคออก
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกถอดลูกปืนตัวหลัง เฟืองเกียร์ 4 ตลับลูกปืนเข็ม ปลอกรอง และเฟืองทองเหลืองตามลำดับ
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อคออก
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 2 เฟืองเกียร์ 3 เฟืองทองเหลือง และตลับลูกปืนเข็มออกตามลำดับ
- ถอดปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 2 ลิ่มและสปริงออกจากดุมคลัตช์
5.การตรวจสอบชิ้นส่วนของเพลารับกำลัง จะสามารถปฏิบัติได้ภายหลังจากถอดชิ้นส่วนออกจากเพลาและทำความสะอาด จากนั้นจึงวัดด้วยเครื่องมือวัดละเอียดอย่างระมัดระวังเพื่อให้เกิดความแม่นยำสูงซึ่งก็มีขั้นตอนในการตรวจสอบชิ้นส่วนของเพลารับกำลังดังนี้
- ตรวจดูการสึกหรอและแรงเบรก โดยกดเฟืองทองเหลืองของเฟืองเกียร์ 3 และเกียร์ 4 เพื่อตรวจความฝืดการล็อคของเฟืองทองเหลือง (ถ้าแรงเบรกไม่พอ ให้ทำการบดเฟืองทองเหลืองกับส่วนกรวยของเฟืองเกียร์ด้วยกากเพชรละเอียด )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างเฟืองทองเหลืองกับปลายเฟืองเกียร์ 3 และเกยีร์ 4 (ค่าระยะช่องว่างสูงสุด 0.6 มิลลิเมตร )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 2 กับก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ (ระยะช่องว่างสูงสุด 1.00 มิลลิเมตร )
- ใช้ไมโครมิเตอร์วัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของข้อเพลารับกำลัง (ค่ามาตรฐาน จุด A 24.800 มิลลิเมตร จุด B 28.970 มิลลิเมตร จุด C 30.900 มิลลิเมตร จุด D 24.970 มิลลิเมตร
- ใช้ไดอัลเกจวัดความคดงอของเพลา (ความคดงอสูงสุด 0.5 มิลลิเมตร )
6.การประกอบชิ้นส่วนเข้าเพลารับกำลัง ภายหลังที่ทำการตรวจวัดและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอแล้วให้ประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าเพลารับกำลังตามลำดับขั้นตอนย้อนกลับการถอดดังนี้ (ก่อนประกอบให้ชโลมน้ำมันเกียร์ที่ชิ้นส่วนต่างๆ )
- ประกอบสปริง ลิ่ม 3 ตัว ปลอกดุมคลัตช์
- ประกอบตลับลูกปืน เฟืองทองเหลือง และดุมคลัตช์เข้ากับเพลารับกำลัง (โดยให้เฟืองทองเหลืองตรงกับลิ่ม )
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดเฟืองเกียร์ 3 และปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 2
- เลือกแหวนล็อคที่มีระยะขยับตัวน้อยที่สุด
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อค
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนของเฟืองเกียร์ 3 (ค่าระยะรุนมาตรฐาน0.10 ถึง 0.35 มิลลิเมตร
- ประกอบตลับลูกปืนเข็มเฟืองเกียร์ 4 ปลอกรอง ตามลำดับ
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดตลับลูกปืนหลัง
- เลือกขนาดของแหวนล็อคที่มีระยะขยับตัวน้อยที่สุด
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อค
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะกันรุนเฟืองเกียร์ 4 (ค่าระยะรุนมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.55 มิลลิเมตร )
7.การถอดแยกชิ้นส่วนของเพลาส่งกำลัง การถอดแยกชิ้นส่วนของเพลาส่งกำลังกระทำได้เช่นเดียวกับเพลารับกำลัง ซึ่งก็มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนเฟืองเกียร์ 1 (ค่าระยะรุนมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.40 มิลลิเมตร )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนเฟืองเกียร์ 2 (ค่าระยะรุนมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.45 มิลลิเมตร )
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะช่องว่างเฟืองเกียร์ 1 และเฟืองเกียร์ 2 กัลเพลาส่งกำลัง (ระยะรุนมาตรฐาน 0.015 ถึง 0.058 มิลลิเมตร )
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดเฟืองเกียร์ 4 ตลับลูกปืนหลัง และแหวนรองออก
- เลื่อนปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 1 ไปยังเฟืองเกียร์ 1
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดเฟืองเกียร์ 2 และถอดตลับลูกปืนเข็ม เฟืองทองเหลือง และสเปเซอร์ตามลำดับ
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อคออก
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดเฟืองเกียร์ 1 และถอดปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 1 เฟืองทองเหลือง ตลับลูกปืนเข็ม แหวนกันรุน และลูกปืน ตามลำดับ
- ถอดลิ่มและสปริง 3 ตัว ออกจากดุมคลัตช์ตัวที่ 1
8.การตรวจสอบชิ้นส่วนของเพลาส่งกำลัง ภายหลังจากถอดชิ้นส่วนต่างๆของเพลาส่งกำลัง จะต้องทำความสะอาดและใช้เครื่องมือวัดละเอียดอย่างระมัดระวัง เพื่อตรวจการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆก่อนทำการประกอบซึ่งก็มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ตรวจการสึกหรอและแรงเบรก โดยกดหมุนเฟืองทองเหลืองไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อตรวจสอบความฝืดและการล็อคของเฟืองทองเหลือง (ถ้าแรงเบรกไม่พอ ให้ทำการบดเฟืองทองเหลืองและส่วนกรวยของเฟืองเกียร์ด้วยกากเพชรละเอียด )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างเฟืองทองเหลืองกับปลายเฟืองเกียร์ 1 และเกียร์ 2(ค่าระยะช่องว่างสูงสุด 0.6 มิลลิเมตร )
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างระหว่างปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 1 กับก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ (ค่าระยะช่องว่างสูงสุด 1.0 มิลลิเมตร )
- ใช้ไมโครมิเตอร์วัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเพื่อตรวจสอบการสึกหรอของเพลาส่งกำลัง
- ใช้ไดอัลเกจตรวจความคดงอของเพลาส่งกำลัง (ค่าความคดงอของเพลาสูงสุด 0.05 มิลลิเมตร )
9.การประกอบชิ้นส่วนของเพลาส่งกำลัง การประกอบชิ้นส่วนของเพลาส่งกำลังจะกระทำได้ภายหลังจากตรวจวัดและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอและให้ปฏิบัติตามขั้นตอนย้อนกลับการถอดดังนี้
- ถ้าเปลี่ยนเพลาส่งกำลังใหม่ ให้ตอกสลักเข้าไปในเพลาลึกประมาณ 6.0 มิลลิเมตร
- ประกอบสปริง ลิ่ม 3 ตัว และปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 1 เข้ากับดุมคลัตช์
- ใส่ลูกปืน แหวนกันรุน ให้ร่องแหวนตรงกับลูกปืนล็อคในขณะที่ประกอบแหวนกันรุนเข้ากับเพลา
- ชโลมน้ำมันเกียร์กับตลับลูกปืนเข็มและประกอบตลับลูกปืนเข็ม เฟืองเกียรื 1 และเฟืองทองเหลืองตามลำดับ
- ประกอบเฟืองทองเหลืองเข้ากับเฟืองเกียร์และจัดร่องบากของเฟืองทองเหลืองให้ตรงกับลิ่ม
- ใช้เคาองอัดไฮดรอลิกอัดประกอบเฟืองเกียร์และปลอกดุมคลัตช์ตัวที่ 1
- เลือกขนาดแหวนล็อคที่มีระยะขยับตัวที่น้อยที่สุด
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อคเข้า
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะกันรุนของเฟืองเกียร์ 1 (ค่าระยะกันรุนมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.40 มิลลิเมตร
- ประกอบเฟืองทองเหลืองเข้ากับเฟืองเกียรื 2 แหวนรอง ตลับลูกปืนเข็มและเฟืองเกียร์ 2 ผตามลำดับ (จัดร่องบากของเฟืองทองเหลืองให้ตรงกับลิ่ม )
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดประกอบเฟืองขับเกียร์ 3
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะรุนของเฟืองเกียร์ 2 (ค่าระยะรุนมาตรฐาน 0.10 ถึง 0.45 มิลลิเมตร )
- ประกอบลูกปืนตัวในและใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดประกอบเฟืองขับเกียร์ 4
- ใช้เครื่องอัดฮดรอลิกอัดประกอบตลับลูกปืนหลัง
10.การถอดชิ้นส่วนของเพลาเปลี่ยนเกียร์และเลือกเกียร์ การถอดชิ้นส่วนของเพลาเปลี่ยนเกียร์และเลือกตำแหน่งเกียร์มีจุดประสงค์เพื่อทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอ ซึ่งก็มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ใช้ค้อนและไขควง 2 ตัวตอกแหวนล็อค บ่ารองสปริง และสปริง ตามลำดับ
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลักล็อคขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 2 และถอดเปลี่ยนขาเกียร์ตัวที่ 2 ออก
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลักออกจากขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1 จากนั้นให้ถอดแผ่นกันเข้าเกียร์พร้อมกับขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1 ออก
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลัก ตอกสลักออกจากขาเลือกเกียร์ ขาเลือกเกียร์ตัวใน สปริงตัวที่ 1 บ่ารองตัวที่ 1 ตามลำดับ
- ถอกฝาครอบเพลาควบคุมและยางกันฝุ่น
- ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนซีล ให้ใช้ไขควงงัดซีลน้ำมันออก
- ใช้ค้อนและประแจล็อคตอกซีลตัวใหม่
11.การประกอลเพลาเปลี่ยนเกียร์และเลือกเกียร์ ชิ้นส่วนของเพลาเปลี่ยนเกียรืและเลือกเกียร์ที่ต้องทาจาระบีก่อนทำการประกอบภายหลังจากที่ทำความสะอาดและเปลี่ยนชิ้นส่วนของเพลาเปลี่ยนเกียร์และเลือกเกียร์ที่สึกหรอ ให้ประกอบชิ้นส่วนเข้าตามลำดับย้อนกลับการถอด ดังนี้
- ประกอบยางกันฝุ่นและฝาครอบเพลาเข้ากับเพลา (ช่องระบายอากาศจะต้องอยู่ด้านล่าง )
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อค
- ประกอบบ่ารองสปริงตัวที่ 1 สปริงตัวที่ 1 ตามลำดับ
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลัก ตอกสลักเข้ากับขาเปลี่ยนเกียร์
- ประกอบแผ่นกั้นเข้าเกียร์พร้อมกันและขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลักตอกสลักเข้าขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 1 และตรวจการหมุนของแผ่นล็อคตัวใน
- ประกอบขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 2
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลัก ตอกสลักล็อคขาเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 2
- ประกอบสปริงและบ่ารองสปริงตัวที่ 2
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนตัว อี (E)
12.การถอดชิ้นส่วนของเฟืองท้าย (รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า) ส่วนประกอบของชุดเฟืองท้ายกระทำได้ภายหลังจากแยกตัวเรือนของกระปุกเกียร์ออกซึ่งก็มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ก่อนทำการแยกชิ้นส่วนของชุดเฟืองท้าย ให้ทำเครื่องหมายลงบนเฟืองบายศรีกับตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแผ่นล็อคออก
- คลายโบลด์ยึดเฟืองบายศรีเพือ่ถอดออกจากตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้ค้อนทองแดงตีลงบนเฟืองบายศรีเพื่อถอดออกจากตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้เครื่องมือถอดลูกปืนข้างออกจากตัวเรือนเฟืองท้ายด้านเฟืองขับมิเตอร์วัดความเร็ว
- ใช้เครื่องมือถอดลูกปืนข้างออกจากตัวเรือนเฟืองท้ายด้านเฟืองบายศรี
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะช่องว่างของเฟืองข้างด้านใดด้านหนึ่ง ในขณะที่ยึดเฟืองดอกจอกตัวหนึ่งไปทางตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกสลัก ตอกสลักล็อคเพลาเฟืองดอกจอก
- ถอดเพลาเฟืองดอกจอก เฟืองดอกจอก 2 ตัว เฟืองข้าง 2 ตัว และแหวนกันรุนออกจากตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้ค้อนและไขควงตอกซีลน้ำมันออกจากตัวเรือนกระปุกเกียร์
- ใช้เครื่องมือดูดปลอกลูกปืนพร้อมกับแผ่นซิมออก
- จัดวางแผ่นซิมเข้ากับตัวเรือนกระปุกเกียร์ ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกปลอกลูกปืนตัวใหม่เข้ากับตัวเรือนกระปุกเกียร์
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกซีลน้ำมันตัวใหม่
- ใช้ค้อนและไขควงตอกซีลน้ำมันออก
- ใช้เครื่องมือดูดปลอกลูกปืนและแผ่นซิมรองออกจากตัวเรือนกระปุกเกียร์
- วางแผ่นซิมเข้ากับตัวเรือนกระปุกเกียร์ ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกปลอกลูกปืนตัวใหม่เข้า
- ใช้ค้อนและเครื่องมือตอกซีลน้ำมันตัวใหม่เข้าตัวเรือนกระปุกเกียร์
13.การประกอบชุดเฟืองท้าย หลังจากเปลี่ยนลูกปืน ซีล ชิ้นส่วนของเฟืองท้ายที่สึกหรอและทำความสะอาดให้ประกอบชุดเฟืองท้ายย้อนกลับของการถอด ซึ่งก็มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ประกอบแผ่นกันรุนเข้ากับเฟืองข้างให้ถูกต้อง (ระยะแบ็กแลช 0.05 ถึง 0.20มิลลิเมตร )
-ประกอบแผ่นกันรุนและเฟืองข้างเข้ากับตัวเรือนเฟืองท้าย
-ประกอบเพลาเฟืองดอกจอก
- ใช้ไดอัลเกจตรวจวัดระยะช่องว่างของเฟืองข้าง โดยวัดระยะช่องว่างเฟืองข้างในขณะที่ยึดเฟืองดอกจอกตัวหนึ่งไปทางตัวเรือนเฟืองท้าย (ค่าระยะช่องว่าง 0.05 ถึง 0.20 มิลลิเมตร )
- ใช้ค้อนและตัวตอกสลักผ่านทางตัวเรือนเฟืองท้ายและรูสลักเพลาเฟืองดอกจอก
- ตอกย้ำสลักล็อคเข้าที่ตัวเรือนเฟืองท้าย
- ใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดลูกปืนข้างเข้า
- ต้มเฟืองบายศรีในน้ำร้อนเพื่อให้เกิดการขยายตัว แลรีบประกอบเข้ากับตัวเรือนเฟืองท้ายทันที
- ขันโบลด์ยึดเฟืองบายศรี
- ใช้ค้อนและเหล็กนำศูนย์ตอกย้ำแผ่นล็อค
- ประกอบเฟืองท้ายเข้ากับตัวเรือนกระปุกเกียร์ต้านเฟืองท้าย
- ใช้ประแจปอนด์ตรวจวัดความตึง ผค่าความตึงลูกปืนใหม่ 0.8ง 1.6 นิวตัน - เมตร )
14.การประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้ากระปุกเกียร์ เมื่อได้ทำการตรวจวัดชิ้นส่วนต่างๆ เปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอ ประกอบชุดเฟืองเกียร์ของเพลารับกำลัง ประกอบชุดเฟืองเกียร์ของเพลาส่งกำลัง ประกอบชุดเฟืองท้าย ตามลำดับ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆดังกล่าวประกอบเข้ากับกระปุกเกียร์ ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
- ประกอบแม่เหล็กเข้ากับตัวเรือนชุดส่งกำลังของกระปุกเกียร์
- ประกอบชุดเฟืองท้ายเข้ากับตัวเรือนกระปุกเกียร์
- ประกอบเพลารับกำลังและเพลาส่งกำลังพร้อมๆกัน
- ประกอบเฟืองสะพานเกียร์ถอยหลัง
- ประกอบแผ่นยึดขาเปลี่ยนเกียร์ถอยหลังด้วยโบลด์ 2 ตัว
- จัดก้ามปูเปลี่ยนเกียรืตัวที่ 1 และ 2
- ประกอบเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์เข้ากับรูสวมเพลาของก้ามปูเปลี่ยนเกียร์
- ประกอบลูกปืน 2 ลูกเข้ากับรูลูกปืนของก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ถอยหลัง
- ประกอบเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 3 และก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ถอยหลัง
- ประกอบเพลาก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ตัวที่ 2 และขาล็อคเกียร์
- ขันโบลด์ยึด 3 ตัว
-ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อค 3 ตัว
-ใช้ปะเก็นเหลวทาที่ตัวเรือนกระปุกเกียร์
- ขันโบลด์ยึด 16 ตัว
- ทาปะเก็นที่ปลั๊กและเกลียวของชุดลูกปืนล็อค และใช้บล๊อคหกเหลี่ยมขันโบลด์ลูกปืนล็อคให้แน่น
- ประกอบลูกปืน สปริง และบ่าสปริงเข้าในรูตัวเรือนกระปุกเกียร์ด้านชุดส่งกำลัง
- ทาปะเก็นเหลวที่ปลั๊กและใช้บล็อคหกเหลี่ยมขันปลั๊ก 3 ตัวให้แน่น
- ประกอบขันโบลด์ล็อคเพลาเฟิองสะพานถอยหลัง
- ใช้คีมถ่างแหวนประกอบแหวนล็อค 2 ตัว
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล้อคเข้ากับเพลา
- ประกอบและขันโบลด์ยึด 5 ตัว
- ใช้เครื่องมือประกอบเฟืองตามเกียรื 5
- ประกอบแหวนรองและตลับลูกปืนเข็ม
- ประกอบเฟืองเกียร์ 5 และเฟืองทองเหลือง
- ประกอบลิ่ม แหวนล้อคลิ่ม 3 ตัว และปลอกดุมคลัช์เข้ากับคลัตช์
- ใช้เครื่องมือและค้อนตอกปลอกดุมคลัตช์เข้ากับก้ามปูเปลี่ยนเกียร์
- ใช้ไดอัลเกจวัดระยะรุนของเฟืองเกียร์ 5 ( ระยะรุน 0.10 ถึง 0.57 มิลลิเมตร )
- เลือกแหวนล็อคที่มีระยะขยับตัวน้อยที่สุด
- ใช้ค้อนและไขควงตอกแหวนล็อคเข้า
- ประกอบและขันโบลด์ยึด
- ประกอบนอตล็อค ปลดเกียร์ว่างและขันนอตล็อคให้แน่น
- ขันโบลด์ล็อคเพลาเปลี่ยนเกียร์
- ทาปะเก็นเหลวที่ตัวเรือนกระปุกเกียร์
- ขันโบลด์ยึดฝาครอบเรือนกระปุกเกียร์ 9 ตัว
- ประกอบประกับลูกปืนหน้าและใช้ประแจหัวจีบขันสกรูหัวจีบ 3 ตัว
- ประกอบกระเดื่องเลือกเกียร์ แผ่นยึดสายควบคุมเกียร์ สวิตช์ไฟถอยหลัง และเซนเซอร์วัดความเร็วรถยนต์ตามลำดับ
- ประกอบก้ามปูคลัตช์และลูกปืนกดคลัตช์
WWW.PCNFORKLIFT.COM
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น