วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตรวจสอบอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

>  การตรวจสอบอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
 ระบบฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบประจุอากาศ ระบบเชื้อเพลิง และระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่ส่งสัญาณการทำงานไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องยนต์  ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดข้องขึ้นในระบบต่างๆจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์และเซนเซอร์ต่างๆเพื่อนำมาพิจารณาในการแก้ไขปัญหานั้นๆแต่การตรวจสอบในที่นี้จะใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า เช่น โอห์มมิเตอร์และโวลด์มิเตอร์เป็นหลัก  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. การตรวจสอบรีเลย์หลัก  ซึ่งสามารถตรวจสอบตามลำดับได้ดังนี้
 - ถอดฝาครอบกล่องรีเลย์
 - ถอดรีเลย์หลัก EFI
 - วัดการขาดวงจรของรีเลย์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ถ้าไม่ต่อเนื่องให้เปลี่ยนรีเลย์ใหม่
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5  ถ้าต่อเนื่งให้เปลี่ยนรีเลย์ใหม่
 - ตรวจการทำงานของรีเลย์ โดยป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 1 และขั้วที่ 2จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5
2. การตรวจสอบมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ  ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยใช้โอห์มมิเตอร์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
 - ถอดมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้ว THA กับขั้ว E2  ซึ่งค่าความต้านทานขั้วต่างๆของมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศจะมีดังนี้
     * ขั้ว  THA (4) -E2 (5)   ค่าความต้านทาน   12.5 - 16.9 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ   -20 องศา
     * ขั้ว  THA (4) - E2 (5)  ค่าความต้านทาน   2.19 - 2.67 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ     20องศา
     * ขั้ว  THA (4) -E2 (5)   ค่าความต้านทาน   0.50 - 0.68 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ     60 องศา
  - หลังจากตรวจหาค่าความต้านทานแล้ว จากนั้นให้ตรวจสอบการทำงานของมิเตอร์ โดยต่อขั้วต่อสายไฟเข้ามิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ
  - ต่อสายขั้วลบเข้ากับแบตเตอรี่ บิดสวิตช์จุดระเบิดไปยังตำแหน่ง ON
  - ใช้สายวัดบวกของโวลด์มิเตอร์ต่อเข้าขั้ว VG และสายลบต่อเข้าขั้ว E2 ของมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ
  - เป่าลมเข้ามิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ แล้วตรวจค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า จะต้องขึ้นๆลงๆ
3.การตรวจสอบมอเตอร์ควบคุมลิ้นเร่ง  สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้ามอเตอร์ควบคุมลิ้นเร่ง
  - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วที่ 2 กับขั้วที่ 1 และขั้วที่ 3 และขั้วที่ 5 กับขั้วที่ 4 และขั้วที่ 6 เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 15 ถึง 18 โอห์มและเมื่อเครื่องยนต์ร้อน ค่าความต้านทานประมาณ 20 ถึง 33 โอห์ม
4.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น มาสารถปฏิบัติได้ดังนี้
  - ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกจากเครื่องยนต์
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - ใช้ประแจบ็อกซ์คลายเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นออก
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ
  - ติดตั้งเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
  - ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์
  - เติมน้ำหล่อเย็น
5.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  -ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์ ( ค่าความต้านทานประมาณ 2.21 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และค่าความต้านทานประมาณ 0.287 - 0.349 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส )
  - ต่อขั้วต่อสายไฟเข้ากับเซนเซอร์
6.การตรวจสอบเซนเซอร์วัดแรงดันเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - บิดสวิตชืจุดระเบิดไปตำแหน่ง ON ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VCC กับขั้ว GND ของขั้วต่อด้านสายไฟ  แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.75 ถึง 5.25 โวลด์
  - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
  - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
  - ตรวจแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PCR เข้ากับ E2 ของคอมพิวเตอร์เครื่องยนต์
7.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิเข้า สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้ประแจบ็อกซ์คลายเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ  ค่าความต้านทานประมาณ 2.211 ถึง 2.649 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ  20  องศาเซลเซียส
 - ติดตั้งเซนเซอร์
 - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
8.การตรวจสอบเซนเซอร์วัดแรงดันเทอร์โบว์ชาร์จ  สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดชั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON
 - ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VC (3) กับขั้ว E2  (1) ของขั้วต่อด้านสายไฟ  แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.75 ถึง 5.5 โวลด์
 - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
 - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
9.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์  เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 1,630 ถึง 2,740 โอห์ม และเมื่อเครื่องยนต์ร้อน ค่าความต้านทานประมาณ 2,065 ถึง 3,225 โอห์ม
 - ภายหลังจากการตรวจสอบ ให้ต่อขั้วสายไฟเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยงกลับเข้าที่เดิม
10.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งแป้นเหยียบคันเร่ง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้ว Vcp1กับขั้ว Ep1 และขั้ว Vcp2 กับขั้ว Ep2 ค่าความต้านทานประมาณ  1.5 ถึง 6.0 กิโลโอห์ม
11.การตรวจสอบหัวฉีด เป็นการตรวจสอบบนรถยนตืโดยใช้โอห์มมิเตอร์สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าหัวฉีดออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของหัวฉีด ค่าความต้านทานประมาณ 2.5 ถึง 3.1 โอห์ม
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของหัวฉีดกับกราวด์ตัวถัง
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานปรับแก้ไขของหัวฉีด ค่าความต้านทานประมาณ 30 ถึง 9,530 โอห์ม
 - ต่อขั้วสายไฟหัวฉีดกลับเข้าที่เดิม
12.การตรวจสอบลิ้นควบคุมการดูดเชื้อเพลิง   ( SCV ) สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าลิ้นควบคุมการดูดออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าคตวามต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ ค่าความต้านทานประมาณ 1.95 ถึง 2.55 โอห์ม ที่อุณหภูมิ 320 องศาเซลเซียส
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นควบคุมการดูดกับกราวด์ตัวถัง
13.การตรวจสอบลิ้นระบายเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าลิ้นระบายเชื้อเพลิงออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 4 กับกราวด์ตัวถัง
14.การตรวจสอบลิ้นตัดต่อสุญญากาศของลิ้นควบคุมไอเสีย  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - วัดการขาดวงจร โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นตัดต่อสุญญากาศ ค่าความต้านทานประมาณ  33 ถึง 39 โอห์ม
 - วัดการลัดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นกับกราวด์ตัวถัง
 - ตรวจการทำงานของลิ้น โดยป้อนแรงดันไฟฟ้า 6 โวลด์จากแบตเตอรี่เข้าขั้วต่างๆและตรวจการดูดที่ช่องทางออกสุญญากาศ
15.การตรวจสอบลิ้นตัดต่อสุญญากาศของเซนเซอร์วัดแรงดันเทอร์โบชาร์จ สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ตรวจการขาดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องที่ขั้วต่างๆของลิ้น ค่าความต้านทานประมาณ 33 ถึง 39 โอห์ม
 - ตรวจการลัดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆ  กับตัวเรือนลิ้น
 - ตรวจการทำงานของลิ้น โดยป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าขั้วของลิ้น และตรวจการไหลของอากาศที่ออกจากช่อง  E
16. การตรวจสอบรีเลย์หลัก  ECD  สามารถปฏิบัติได้ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
 - ถอดฝาครอบรีเลย์
 - ถอดรีเลย์หลัก ECD  ( มีเครื่องหมาย INJ )
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ของรีเลย์ ( จะต้องไม่ต่อเนื่อง ) จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5
 - ตรวจการทำงานของรีเลย์ โดยการป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจจากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ของรีเลย์ จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5 ของรีเลย์
17.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์  เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 1,630 ถึง 2,740 โอห์ม และเมื่อเครื่องยนต์ร้อนค่าความต้านทานประมาณ 2,065 ถึง 3,225 โอห์ม
 - ภายหลังจากการตรวจสอบ ให้ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์เข้าที่เดิม

WWW.PCNFORKLIFT.COM






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น