การตรวจสอบระบบจุดระเบิด
การตรวจหาข้อบกพร่องของระบบจุดระเบิดเพื่อ วิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นและแก้ไขให้ถูกต้องควรทำตามขั้นตอนที่ได้แนะนำไว้ เพื่อจะได้ค้นหาสาเหตุและแก้ไขได้ถูกต้องและรวดเร็วดังนี้
1.การตรวจสอบสายไฟแรงสูง (สายหัวเทียน) การตรวจสอบสายไฟแรงสูงปฏิบัติได้ดังนี้
-ทดสอบแรงเคลื่อนไฟแรงสูงโดยใช้มือจับที่ยางหุ้มขั้วสายหัวเทียน ดึงสายหัวเทียนออก และจี้ที่กราว หมุนเครื่องยนต์ทดสอบว่ามีประกายไฟเกิดขึ้นหรือไม่
-ตรวจค่าความต้านทานสายหัวเทียน (แบบตัวนำเป็นคาร์บอน) ค่าความต้านทานต้องน้อยกว่า 25 กิโลโอห์ม ถ้าค่าความต้านทานมากกว่นี้ ให้เปลี่ยนสายหัวเทียนใหม่
2.การตรวจสอบหัวเทียน ถอดหัวเทียนออกทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างหัวเทียนหรือแปรงลวด ตรวจสอบขั้วอิเล็กโทรดเขี้ยวหัวเทียน เกลียวหัวเทียน ถ้ามีข้อบกพร่องให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ตั้งระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนใหม่ให้ถูกต้อง
3.การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิด การตรวจสอบคอยลืจุดระเบิดสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
-ตรวจสอบความต้านทานขดลวดปฐมภูมิ โดยถอดสายไฟแรงสูงออก ถอดสายไฟที่ไปจานจ่ายออก ค่าความต้านทานของขดลวดปฐมภูมิ 1.3 - 1.6 โอห์ม ถ้าไม่ได้ค่าตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
-ตรวจสอบความต้านทานขดลวดทุติยภูมิ ค่าความต้านทานของขดลวดทุติยภูมิ 10.7 - 14.5 กิโลโอห์ม ถ้าไม่ได้ค่าตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
-ตรวจสอบค่าความต้านทานของตัวความต้านทานภายนอก มีค่าความต้านทานประมาณ 1.3 - 1.5 โอห์ม ถ้าไม่ได้ตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
-ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่คอยล์จุดระเบิด เปิดสวตช์กุญแจจุดระเบิด ใช้โวลต์มิเตอร์สายบวก(+)จึ้ที่ขั้วบวก(+) ของตัวความต้านทาน สายลบ (-) จี้ที่กราวด์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะต้องได้ 12 โวลต์ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้ตรวจสอบฟิวส์ ขั้วสายไฟ สวิตช์กุญแจจุดระเบิด และสายไฟ
4.การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิดแบบรวม การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิดแบบรวม (llA)ทำได้ดังนี้
-ถอดฝาครอบจานจ่าย โรเตอร์ และฝาครอบกันฝุ่นออก
-ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าจานจ่าย
-ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วบวก และขั้วลบ ของขดลวดปฐมภูมิ
-ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วบวก และขั้วไฟแรงเคลื่อนสูงของขดลวดทุติยภูมิ (ความต้านทาน 10.2 - 13.8 กิโลโอห์ม )
5.การตรวจสอบชุดช่วยจุดระเบิดของคอยล์จุดระเบิดแบบรวม การตรวจสอบสามารถทำได้ดังนี้
-ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าจานจ่าย
-บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง IG
-ใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจวัดโดยต่อสายวัดบวก เข้ากับขั้วบวก ของคอยล์จุดระเบิด และจี้สายวัดลงกราวด์แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 12 โวลด์
-ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดทรานซิสเตอร์กำลังในชุดช่วยจุดระเบิด โดยต่อสายวัดบวก เข้ากับขั้วลบ ของคอยล์จุดระเบิด และจี้สายวัดลบ ลงที่กราวด์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 12 โวลด์
-ใช้ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 โวลด์ โดยต่อสายไฟสีชมพูเข้ากับขั้วบวก ของถ่านไฟฉายและต่อสายไฟสีขาวเข้ากับขั้วลบ ของถ่านไฟฉาย (แรงคลื่นไฟฟ้าประมาณ 0 - 3 โวลด์)
-บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
6.การตรวจสอบจานจ่ายของระบบจุดระเบิดแบบรวม สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
-ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะห่างระหว่างโรเตอร์กับขดลวดกำเนิดสัญญาณจะต้องมีระยะห่างประมาณ 0.2 -0.4มิลลิเมตร (0.008 - 0.016 นิ้ว )
-ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดความต้านทานของขดลวดกำเนิดสัญญาณ ความต้านทานประมาณ 140 - 180โอห์ม
-ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้อุปกรณืเร่งไฟอิลเกทรอนิกส์ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วดังนี้
--ความต้านทานขดลวดกำเนิดสัญญาณ G ให้วัดระหว่าง G+ ถึง G- ประมาณ 140 - 180 โอห์ม
--ความต้านทานขดลวดกำเนิดสัญญาณ Ne ให้วัดระหว่างขั้ว Ne+ ถึง G- ประมาณ 140 - 180 โวลด์ ถ้าความต้านทานไม่ได้ตามที่กำหนดให้เปลี่ยนจานจ่ายใหม่
7.การตรวจจานจ่ายแบบทรานซีสเตอร์ล้วน การตรวจสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
* การตรวจสอบเครื่องกำเนิดสัญญาณจานจ่าย
-ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะระหว่างโรเดอร์กำเนิดสัญญาณและขดลวดกำเนิดสัญญาณ แต่ถ้าระยะห่างไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับใหม่ด้วยการคลายสกรู 2 ตัว และขยับชุดขดลวดกำเนิดสัญญาณไปจนกระทั่งได้ระยะห่างที่ถูกต้อง จึงล็อคสกรูทั้ง 2 ตัวให้แน่น (ค่ามารตฐานระยะห่างประมาณ 0.2 - 0.4 มิลิเมตร
-ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของขดลวดกำเนิดสัญญาณ (ค่าความต้านทานมาตรฐานอยู่ที่ 140 - 180 โอห์ม )
* การตรวจสอบชุดเร่งไฟ สามารถทำการตรวจสอบได้ดังนี้
-ปลดท่อและต่อทอ่สุญญากาศ ตรวจแรงเคลื่อนตัวของชุดเร่งไฟ
-บิดตัวโรเตอร์ให้เคลื่อนตัวไปตามเข็มนาฬิกาและปล่อย ให้สังเกตุการเคลื่อนตัวกลับในตำแหน่งเดิม ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของชุดเร่งไฟกลไก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น