วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตรวจสอบอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

>  การตรวจสอบอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
 ระบบฉีดเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลแบบคอมมอนเรลควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบประจุอากาศ ระบบเชื้อเพลิง และระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่ส่งสัญาณการทำงานไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องยนต์  ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดข้องขึ้นในระบบต่างๆจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์และเซนเซอร์ต่างๆเพื่อนำมาพิจารณาในการแก้ไขปัญหานั้นๆแต่การตรวจสอบในที่นี้จะใช้เครื่องมือวัดไฟฟ้า เช่น โอห์มมิเตอร์และโวลด์มิเตอร์เป็นหลัก  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. การตรวจสอบรีเลย์หลัก  ซึ่งสามารถตรวจสอบตามลำดับได้ดังนี้
 - ถอดฝาครอบกล่องรีเลย์
 - ถอดรีเลย์หลัก EFI
 - วัดการขาดวงจรของรีเลย์ โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ถ้าไม่ต่อเนื่องให้เปลี่ยนรีเลย์ใหม่
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5  ถ้าต่อเนื่งให้เปลี่ยนรีเลย์ใหม่
 - ตรวจการทำงานของรีเลย์ โดยป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 1 และขั้วที่ 2จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5
2. การตรวจสอบมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ  ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยใช้โอห์มมิเตอร์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
 - ถอดมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้ว THA กับขั้ว E2  ซึ่งค่าความต้านทานขั้วต่างๆของมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศจะมีดังนี้
     * ขั้ว  THA (4) -E2 (5)   ค่าความต้านทาน   12.5 - 16.9 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ   -20 องศา
     * ขั้ว  THA (4) - E2 (5)  ค่าความต้านทาน   2.19 - 2.67 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ     20องศา
     * ขั้ว  THA (4) -E2 (5)   ค่าความต้านทาน   0.50 - 0.68 กิโลโอห์ม   อุณหภูมิ     60 องศา
  - หลังจากตรวจหาค่าความต้านทานแล้ว จากนั้นให้ตรวจสอบการทำงานของมิเตอร์ โดยต่อขั้วต่อสายไฟเข้ามิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ
  - ต่อสายขั้วลบเข้ากับแบตเตอรี่ บิดสวิตช์จุดระเบิดไปยังตำแหน่ง ON
  - ใช้สายวัดบวกของโวลด์มิเตอร์ต่อเข้าขั้ว VG และสายลบต่อเข้าขั้ว E2 ของมิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ
  - เป่าลมเข้ามิเตอร์วัดปริมาณการไหลของอากาศ แล้วตรวจค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า จะต้องขึ้นๆลงๆ
3.การตรวจสอบมอเตอร์ควบคุมลิ้นเร่ง  สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้ามอเตอร์ควบคุมลิ้นเร่ง
  - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วที่ 2 กับขั้วที่ 1 และขั้วที่ 3 และขั้วที่ 5 กับขั้วที่ 4 และขั้วที่ 6 เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 15 ถึง 18 โอห์มและเมื่อเครื่องยนต์ร้อน ค่าความต้านทานประมาณ 20 ถึง 33 โอห์ม
4.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น มาสารถปฏิบัติได้ดังนี้
  - ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกจากเครื่องยนต์
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - ใช้ประแจบ็อกซ์คลายเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นออก
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ
  - ติดตั้งเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
  - ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์
  - เติมน้ำหล่อเย็น
5.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  -ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์ ( ค่าความต้านทานประมาณ 2.21 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และค่าความต้านทานประมาณ 0.287 - 0.349 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส )
  - ต่อขั้วต่อสายไฟเข้ากับเซนเซอร์
6.การตรวจสอบเซนเซอร์วัดแรงดันเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
  - บิดสวิตชืจุดระเบิดไปตำแหน่ง ON ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VCC กับขั้ว GND ของขั้วต่อด้านสายไฟ  แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.75 ถึง 5.25 โวลด์
  - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
  - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
  - ตรวจแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PCR เข้ากับ E2 ของคอมพิวเตอร์เครื่องยนต์
7.การตรวจสอบเซนเซอร์อุณหภูมิเข้า สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้ประแจบ็อกซ์คลายเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ  ค่าความต้านทานประมาณ 2.211 ถึง 2.649 กิโลโอห์มที่อุณหภูมิ  20  องศาเซลเซียส
 - ติดตั้งเซนเซอร์
 - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
8.การตรวจสอบเซนเซอร์วัดแรงดันเทอร์โบว์ชาร์จ  สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดชั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON
 - ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VC (3) กับขั้ว E2  (1) ของขั้วต่อด้านสายไฟ  แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.75 ถึง 5.5 โวลด์
 - บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
 - ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์กลับเข้าที่เดิม
9.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์  เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 1,630 ถึง 2,740 โอห์ม และเมื่อเครื่องยนต์ร้อน ค่าความต้านทานประมาณ 2,065 ถึง 3,225 โอห์ม
 - ภายหลังจากการตรวจสอบ ให้ต่อขั้วสายไฟเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยงกลับเข้าที่เดิม
10.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งแป้นเหยียบคันเร่ง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้ว Vcp1กับขั้ว Ep1 และขั้ว Vcp2 กับขั้ว Ep2 ค่าความต้านทานประมาณ  1.5 ถึง 6.0 กิโลโอห์ม
11.การตรวจสอบหัวฉีด เป็นการตรวจสอบบนรถยนตืโดยใช้โอห์มมิเตอร์สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าหัวฉีดออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของหัวฉีด ค่าความต้านทานประมาณ 2.5 ถึง 3.1 โอห์ม
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของหัวฉีดกับกราวด์ตัวถัง
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานปรับแก้ไขของหัวฉีด ค่าความต้านทานประมาณ 30 ถึง 9,530 โอห์ม
 - ต่อขั้วสายไฟหัวฉีดกลับเข้าที่เดิม
12.การตรวจสอบลิ้นควบคุมการดูดเชื้อเพลิง   ( SCV ) สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าลิ้นควบคุมการดูดออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าคตวามต้านทานระหว่างขั้วต่างๆ ค่าความต้านทานประมาณ 1.95 ถึง 2.55 โอห์ม ที่อุณหภูมิ 320 องศาเซลเซียส
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นควบคุมการดูดกับกราวด์ตัวถัง
13.การตรวจสอบลิ้นระบายเชื้อเพลิง สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าลิ้นระบายเชื้อเพลิงออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 4 กับกราวด์ตัวถัง
14.การตรวจสอบลิ้นตัดต่อสุญญากาศของลิ้นควบคุมไอเสีย  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - วัดการขาดวงจร โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นตัดต่อสุญญากาศ ค่าความต้านทานประมาณ  33 ถึง 39 โอห์ม
 - วัดการลัดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆของลิ้นกับกราวด์ตัวถัง
 - ตรวจการทำงานของลิ้น โดยป้อนแรงดันไฟฟ้า 6 โวลด์จากแบตเตอรี่เข้าขั้วต่างๆและตรวจการดูดที่ช่องทางออกสุญญากาศ
15.การตรวจสอบลิ้นตัดต่อสุญญากาศของเซนเซอร์วัดแรงดันเทอร์โบชาร์จ สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังนี้
 - ตรวจการขาดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องที่ขั้วต่างๆของลิ้น ค่าความต้านทานประมาณ 33 ถึง 39 โอห์ม
 - ตรวจการลัดวงจรของลิ้น โดยใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วต่างๆ  กับตัวเรือนลิ้น
 - ตรวจการทำงานของลิ้น โดยป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เข้าขั้วของลิ้น และตรวจการไหลของอากาศที่ออกจากช่อง  E
16. การตรวจสอบรีเลย์หลัก  ECD  สามารถปฏิบัติได้ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
 - ถอดฝาครอบรีเลย์
 - ถอดรีเลย์หลัก ECD  ( มีเครื่องหมาย INJ )
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ของรีเลย์ ( จะต้องไม่ต่อเนื่อง ) จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการไม่ต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5
 - ตรวจการทำงานของรีเลย์ โดยการป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าจจากแบตเตอรี่เข้าขั้วที่ 1 กับขั้วที่ 2 ของรีเลย์ จากนั้นใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องระหว่างขั้วที่ 3 กับขั้วที่ 5 ของรีเลย์
17.การตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - ปลดขั้วต่อสายไฟเข้าเซนเซอร์ออก
 - ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่างๆของเซนเซอร์  เมื่อเครื่องยนต์เย็นค่าความต้านทานประมาณ 1,630 ถึง 2,740 โอห์ม และเมื่อเครื่องยนต์ร้อนค่าความต้านทานประมาณ 2,065 ถึง 3,225 โอห์ม
 - ภายหลังจากการตรวจสอบ ให้ต่อขั้วต่อสายไฟของเซนเซอร์เข้าที่เดิม

WWW.PCNFORKLIFT.COM






วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ดีเซล

                           ปัญหาข้อขัดขอ้งของเครื่องยนต์ดีเซล
1.เครื่องยนต์สาร์ตไม่ติดหรือติดยาก มีขั้นตอนในการตรวจสอบดังนี้
  -หมุนเครื่องยนต์ ถ้ามีความฝืดมากเกินไปอาจมีสาเหตุมาจากชิ้นส่วยภานในมีการยึดติด เช่น แหวนลูกสูบ หรืลูกสูบภายในปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง หรือมีสิ่งแปลกปลอมขัดตัวอยู่ระหว่างเฟืองไทมิ่ง
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างมอเตอร์กับแบตเตอรี่ V1,V2,V3 แล้วตรวจเช็คดู
    *แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วัดได้จะต้องไม่ต่ำกว่า 9.6 โวลด์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง START แสดงว่าแบตเตอรี่ปกติ
    *ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่แบตเตอรี่ปกติ ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว 30 และขั้ว 50 ของมอเตอร์สตาร์ตกับกราวด์ เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง START แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะต้องไม่ต่ำกว่า 8 โวลด์ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ตรวจสายไฟ ขั้วต่อสายและฟิวส์
  -ตรวจสอบการทำงานของชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงดีเว,ด้วยไฟฟ้า โดยใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ส่งไปยัง ชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงเมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปตำแหน่ง ON หรือ START
  -เมื่อชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงด้วยไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการทำงานของรีเลย์หัวเผาและหัวเผา  ถ้าเป็นปกติให้ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงจะกระทำได้ภายหลังจากตรวจระบบไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลแล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
    *ตรวจเครื่องหมายของจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงระหว่างปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงกับฝาครอบเฟืองไทมิ่ง
   *ใช้ประแจปากตายคลายน็อตท่อน้ำมันแรงดันสูงออกจากหัวฉีดทั้งหมด และหมุนเครื่องยนต์เพื่อตรวจการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงปกติให้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ทางด้านกลไกอีกครั้ง
   *ถ้าไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายออกมาที่หัวฉีด ให้ปั๊มน้ำมันจากถังมายังปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง นอกจากนี้ให้ตรวจการอุดตันของท่อส่งน้ำมันและกรองเชื้อเพลิง
   *สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลแบบจานจ่าย ให้ตรวจสอบการทำงานของลิ้นโซลีนอยด์ตัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั๊ม
   *ถ้าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปกติ ให้คลายหัวฉีดออกเพื่อตรวจการอุดตัน แรงดัน และการฉีดเป็นฝอยของหัวฉีด ถ้าไม่ถูกต้องให้ทำความสะอาด และปรับแก้ไขด้วยเครื่องทดสอบหัวฉีด
  เมื่อตรวจสอบการจ่ายเชื้อเพลิงของปั๊มแรงดันสูงแล้วปรากฏว่าปกติ ให้ตรวจสอบการทำงานด้านกลไกของเครื่องยนต์ เช่นวัดกำลังอัด ตั้งระยะห่างของลิ้นและตรวจเครื่องหมายตำแหน่งการฉีดของเฟืองไทมิ่ง
2.เครื่องยนต์เดินเบาไม่คงที่  มีขั้นตอนในการตรวจดังนี้
  -ตรวจเครื่องหมายการฉีดเฟืองไทมิ่งที่ปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงกับฝาครอบเฟืองไทมิ่ง
  -ตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ดีเซล
  -ถ้าความเร็วรอบเครื่องยนต์เป็นปกติ ให้ตรวจสอบการอุดตันหรือรั่วของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองเชื้อเพลิง
  -ถ้าไม่มีการรั่วหรืออุดตันของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองเชื้อเพลิง ให้ตรวจสอบระดับลูกลอยของหม้อดักน้ำ ถ้ามีน้ำมากให้คลายปลั๊กถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกและใช้ปั๊มมือผลักดันให้น้ำและสิ่งสกปรกระบายออกมาให้หมด
  -ตรวจเครื่องหมายของเฟืองไทมิ่ง ถ้าไม่ตรงให้ปรับแก้ไขใหม่
  -ถ้าเครื่องหมายของเฟืองไทมิ่งปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงถูกต้อง ให้ปรับตั้งระยะห่างของลิ้น
  -ตรวจการฉีดเป็นฝอยละออง การอุดตันของหัวฉีดทุกสูบ ด้วยเครื่องทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง
  -ถ้าเป็นปั๊มแบบจานจ่าย ให้ปรับตั้งระยะเคลื่อนตัวของพลันเยอร์ด้วยไดอัลเกจที่ปลั๊กของหัวจ่าย ( 0.54ถึง 0.66 มิลลิเมตร )
  -ตรวจการทำงานของปั๊มมือ สำหรับปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแบบเรียงแถว ลิ้นจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเปลี่ยนปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง
3.เครื่องยนต์มีควันขาว  ถ้าเครื่องยนต์มีควันดำหรือควันขาว มีสาเหตุมาจากความผิดปกติจากระบบเชื้อเพลิงหรือตัวของเครื่องยนต์เอง หรือการปรับแต่งเครื่องยนต์ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยมากมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้
  -ตรวจการอุดตันหรือเปลี่ยนทำความสะอาดกรองอากาศ
  -ตรวจจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง ถ้าตั้งจังหวะการฉีดที่ล่าช้าเกินไป จะทำให้เกิดควันขาวปริมาณมาก เป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง หรือปรับตั้งจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงเร็วเกินไป น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณมากจะถูกฮีดเข้าไปก่อนที่อากาศภายในกระบอกสูบจะมีอุณหภูมิที่สูงพอในการจุดระเบิด จึงเป็นสาเหตุให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเสียงเคาะและการทำงานที่ความเร็วรอบต่ำไม่ดี
  -ถ้าจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงถูกต้อง ให้วัดกำลังอัดในกระบอกสูบเพื่อตรวจการหักของแหวนลูกสูบ การสึกหรอของบ่าลิ้น และปะเก็นฝาสูบ
  -ตรวจระดับน้ำในหม้อดักน้ำของกรองเชื้อเพลิงถ้ามีน้ำมาก ให้ระบายน้ำทิ้ง (เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดควันขาว )
  -ตรวจการฉีดเป็นฝอยละอองของหัวฉีด เพื่อตรวจเข็มหัวฉีดว่าชำรุด อุดตัน และแรงดันรั่วด้วยเครื่องทดสอบแรงดันหัวฉีด
  -ตรวจเครื่องหมายไทมิ่งของปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงว่าถูกต้องหรือไม่
  -ถ้าตรวจตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้วปรากฏว่าเป็นปกติ ให้ตรวจซ่อมหรือเปลี่ยนปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง
4.เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง  สาเหตุโดยทั่วไปซึ่งทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง มีสาเหตุมาจากระบบเชื้อเพลิงและตัวของเครื่องยนต์เอง แต่บางสาเหตุก็ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ เช่น คลัตช์ลื่น เบรกติด ขนาดของยางทีไม่ถูกต้อง  แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สาเหตุเกิดกับเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงช่างซ่อมควรตรวจสอบและพิจารณาตามขั้นตอนดังนี้
  -ตรวจคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  -ตรวจการเปิดของลิ้นเร่งในท่อเวนจูรี่  เช่น ตรวจช่วงระยะแป้นเหยียบคันเร่ง สายคันเร่งเกิดการหักงอหรือรั่วที่ท่อเวนจูรี ( สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้กลไกควบคุมด้วยสุญญากาศ ) สำหรับปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงแบบจานจ่าย ให้ตรวจแขนปรับตั้งการเรงเครื่องยนต์ว่าสัมผัสกับสกรูปรับแต่งรอบสูงสุดหรือไม่เมื่อเหยียบคันเร่งลงจนสุด
  -ตรวจจังหวะการฉีดน้ำมัน ถ้าตั้งให้ล่าช้ามาก ก็จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง
  -ตรวจท่อทางเดินน้ำมันและกรองเชื้อเพลิง เช่น อุดตัน ท่อหักงอ หรือรั่วเป็นต้น
  -ตรวจระดับน้ำในหม้อดักน้ำ ถ้ามีมากเกินไป ให้ระบายน้ำทิ้ง หรือถ้ามีอากาศปะปนอยู่ในระบบเชื้อเพลิงให้ไล่อากาศออกจากระบบให้หมด
  -ตรวจการอุดตันของกรองอากาศ
  -ตรวจวัดกำลังอัดของเครื่องยนต์

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิิธีใช้และการตรวจสอบรถยก

                                  วิธีการใช้งานรถยกและการตรวจเช็คความพร้อมใช้งานเบื้องต้น
พนักงานขับรถยกและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์  และสัญลักษ์ต่างๆที่อยู่ในรถ  วิธีการตรวจเช็คสภาพที่พร้อมใช้งาน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น  และการดูแลรักษาเครื่องยนต์เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์   ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
    การต่อแบตเตอรี่
ดึงหัวปลั๊กแบตเตอรี่ออกจากเครื่องชาร์ทไฟ  แล้วนำไปเสียบกับตัวเสียบที่ตัวรถ
   ตรวจสอบการชาร์ทแบตเตอรี่
มาตรวัดระดับแบตเตอรี่จะบอกสภาพของแบตเตอรี่ในขณะนั้น เราจะสามารถอ่านค่าไฟแบตเตอรี่ที่ถูกต้องได้หลังจากที่ได้ต่อแบตเตอรี่แล้วประมาณ 1 นาที
  ความหมายเมื่อเข็มชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ
- ช่องระดับแรกนับจากซ้ายมือแสดงว่าเหลือระดับไฟ  20  เปอร์เซน
-สัญญาณไฟกระพริบเมื่อเหลือระดับไฟ 20 เปอร์เซน เพื่อเตือนให้ชาร์ทไฟ ระบบไฮดรอลิกในการยกจะถูกตัดโดยอัตโนมัติหากปิดสวิตช์มาตรวัด
-เมื่อเข็มชี้ไปที่ฝั่งขวามือแสดงว่าระดับไฟปกติคือ 80 เปอร์เซนต์   เมื่อระดับไฟแบตเตอรี่ลดเหลือ 20 เปอร์เซนต์ ควรหยุดปฏิบัติงานและทำการชาร์ทไฟใหม่ทันที
  การสตาร์ทเครื่อง
เสียบกุญแจลงในล็อค  แล้วหมุนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา
  มาตรวัดชั่งโมงการทำงาน
มาตรวัดจะทำการบอกชั่วโมงการทำงานที่ผ่านมาของรถและจะทำงานเมื่อไขกุญแจเริ่มการใช้งานเท่านั้น
  การปรับเบาะที่นั่ง
-เลื่อนเบาะไปข้างหน้า หรือข้างหลังโดยการผลักปุ่มด้านล่างทางซ้ายมือของเบาะที่นั่ง ไปทางซ้าย เลื่อนที่นั่งแล้วปล่อย
 -ปรับพนักพิงหลังโดยดึงเหล็กที่อยู่ด้านล่างของเบาะด้านหน้าขึ้น
-ปรับความยืดหยุ่นของเบาะที่นั่งตามน้ำหนักของคนขับโดยหมุนปุ่มที่อยู่ด้านข้างทางซ้ายของเบาะหมุนไปทางซ้ายสำหรับน้ำหนักเบา และทางขวาสำหรับน้ำหนักมากและควรปรับเมื่อไม่มีคนอยู่บนเบาะ
 การปรับระดับพวงมาลัย
-กดคันล๊อคแกนพวงมาลัยลงปรับระดับความต้องการแล้วปรับคันล๊อคพวงมาลัยเข้าที่เดิม
-ในกรณีที่คันล๊อคพวงมาลัยเกะกะเท้า หรืทำให้ไม่สะดวกในการทำงานให้ดันคันล๊อคออกจากแกนหมุนให้พ้นทางแล้วเสียบกลับตมาเดิม
-ตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งว่าแกนพวงมาลัยได้ถูกล๊อคไว้อย่างแน่นหนาแล้ว
การตรวจระดับน้ำมันเบรค
ตรวจระดับน้ำมันเบรคในถังเก็บให้มีปริมาตรอย่างน้อย 3 / 4 ของปริมาตรทั้งหมดหรือเติมน้ำมันเบรคตามคู่มือคำแนะนำ
การตรวจสอบระบบการเบรค
- รถต้องหยุดสนิทเมื่อเหยียบเบรค
- รถต้องจอดนิ่งเมื่อใส่เบรค
การตรวจสอบเบรคจอด
- ล้อหยุดนิ่งเมื่อใส่เบรคจอด
- เมื่อรถเบรคไฟเบรคสว่างขึ้น
- เบรคมือจัดเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษ
การขับเคลื่อน
- ยกงาให้สูงจากพื้นเพียงพอแล้วดึงคันบังคับ
- ห้ามใช้งายกนำ้หนักในขั้นนี้
- เลือกทางเดินรถที่คนขับมีความชำนาญ และให้เมาะกับขนาดของรถ
การสตาร์ท
-ปลดเบรคจอดโดยเหยียบไปที่ส่วนล่างของคันเบรค  แล้วปล่อยให้ถอนคืน สัญญาณเบรคจะหายไป
- เลือกทิศทางโดยใช้คันบังคับ
- เหยีียบคัยเร่ง
การถอยหลัง
- ปล่อยคันเร่งแล้วเหยียบเบรค
- ปรับคันเลือกทิศทาง แล้วเหยียบคันเร่ง  สามารถปรับคันเลือกทิศทางได้ในขณะเหยียบคันเร่งโดยรถจะหยุด และรถออกตัวอีกครั้งในทิศทางตรงกันข้าม  ( ถอยหลัง )
พวงมาลัย
 ควบคุมการเลี้ยวของรถโดยหมุนพวงมาลัย  วงเลี้ยวศึกษาจากข้อมูลทางเทคนิค
เมื่อเกิดจุดขัดข้อง
- สัญญาณเตือนจะสว่างขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนคาร์บอนบรัช
- เปลี่ยนคาร์บอนบรัชตามคำแนะนำ  ( อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม )
การปฏิบัติงานเมื่อมีคันเหยียบ 2 อัน ในการขับขี่
- ยกงาขึ้นสูงจากพื้นจนได้ช่องว่างจากพื้นตามต้องการแล้วผลัก (คันบังคับการยกขึ้น - ลง ) ลง
- ห้ามใช้งายกของในช่วงนี้
- เลือกช่องทางเดินรถที่ชำนาญ
การเดินหน้า
- ปลดเบรคจอด
- เหยียบคันเร่งทางด้านขวา  รถจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า
- เพิ่มความเร็วโดยเหยียบคันเร่ง และลดความเร็วโดยผ่อนคันเร่ง
การกลับทิศทาง
- ถอนคันเร่ง
- เหยียบคันเร่งของทิศทางตรงกันข้าม  รถจะหยุดและเคลื่อนตัวใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม
การถอยหลัง
- เหยียบคันเร่งทางด้านขวา
- เพิ่มความเร็วโดยเหยียบคันเร่ง  และลดความเร็วโดยการผ่อนคันเร่ง
- ไฟหลังจะสว่างขึ้น
ก่ารเบรค  การควบคุมการยกเบรค
- เหยียบเบรคที่เท้า เพื่อหยุดรถในขณะที่ขับเคลื่อน
- ในการเหยียบเบรค เบรคจะทำงานด้วยไฟฟ้าในระดับแรก เมื่อเหยียบเบรคลึกลงไป จะเป็นการเบรคโดยใช้ระบบไฮดรอลิก
- เบรคไฟฟ้าจะช่วยยึดชั่วโมงการทำงานของแบตเตอรี่และยังช่วยยืดอายุผ้าเบรค เพราะพลังไฟจะกลับสู่แบตเตอรี่เมื่อเบรค
เบรคจอด
เมื่อต้องการจอด เหยียบคันเบรคให้จมหากใช้เบรคมือด้วยให้ดูหน้า
ข้อควรระวัง
- เบรคในระบบไฟฟ้าจะไม่ทำงานในการเบรคจอด  เมื่อเบรคจอดกระแสไฟในมอเตอร์จะลดลงเหลือ 40 เปอร์เซนต์ ของค่าไฟสูงสุด
- การสตาร์ทรถโดยยังไม่ปลดเบรคจอด  จะไม่ทำให้ใช้ไฟเกินกำลัง
- ในการปลดเบรคจอด เหยียบไปที่ส่วนล่างของคันเบรคแล้วปล่อยให้คืนตัว
การยกและการเอียง
 การโยกเสาไปข้างหน้า   ผลักคันบังคับอันที่ 2 ไปข้างหน้า
 ก่ารโยกเสาไปข้างหลัง   ผลักคันบังคับลง
 การยกงาขึ้น                    ผลักคันบังคับอันที่ 1 ไปข้างหลัง
 การลดงาลง                     ผลักคันบังคับไปข้างหน้า
                                            คันบังคับอันที่  3  ใช้สำหรับตัวคีบ หรืองาด้านข้าง
                                            คันบังคับอันที่  4  ใช้สำหรับงาเสริมแบบหมุนได้
                ( สามารถศึกษาวิธีการควบคุมได้จากแผ่นคำแนะนำที่มากับอุปกรณ์เสริมพิเศษ )
ข้อปฏิบัติในกรณีที่มีคันบังคับอันเดียว
การโยกงาไปข้างหน้า         ผลักคันบังคับไปข้างหน้า
การโยกงาไปข้างหลัง         ผลักคันบังคับไปข้างหลัง
การยกงา                               ผลักคันบังคับไปทางขวา
การลดงา                               ผลักคันบังคับไปทางซ้าย      
                                      ระบบไฮดรอลิกเพิ่มเติม
ระบบเสาและงา  การปรับระบบไฮดรอลิก
แรงดันในระบบไฮดรอลิกนี้มีหลายขนาด สามารถอ่านค่าความดันได้จากมาตรวัดความดัน
- ผ่อนแผ่นเกลียวออก
- ปรับระดับสำหรับตัวหนีบ (ปิดตัวหนีบ )
- หมุนลูกบิดตามค่าความดันที่ต้องการโดยความดันจะเพิ่มขึ้นเมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา (ห้ามถอดจีมออกเด็ดขาด )
                          เสาและงา
 เสาแบบเทเล     เมื่อผลักคันบังคับมาข้างหลังเสาจะยกงาขึ้นโดยใช้กระบอกสูบ 2 อันด้านนอก และโซ่ (งาจะถูกยกขึ้นด้วยความเร็วเป็น 2 เท่าของเสา ) ควรตรวจสอบความสูงหากเป็นบริเวณที่มีเพดานต่ำ
เสาแบบนิโฮ   เมื่อผลักคันบังคับมาข้างหลังกระบอกสูบด้านในจะยกงาสูงขึ้นถึงความสูงระดับ 1 จากนั้นกระบอกสูบด้านนอกจะยกงาต่อจนถึงความสูงสุด
                         เสา  3  ตอน
     การทำงานเหมือนเสาแบบนิโฮ  แต่สามารถยกได้สูงกว่าหากยกของขึ้นสูงถึงระดับ 1 ไม่จำเป็นต้องระวังความสูงของกระบอกสูบด้านใน
                        สัญญาณไฟ  และที่ปัดน้ำฝน
       สัญญาณไฟ  - ดึงสวิตช์ไฟเบรคออกมา ไฟเบรคจอดจะสว่างขึ้น
                               - ดึงสวิตช์ไฟหน้า ไฟหน้าจะสว่างขึ้น
                               - เปิดไฟฉุกเฉินโดยกดสวิตช์ สัญญาณไฟที่สวิตช์จะกระพริบ
       ไฟสูง              - เปิดสวิตช์ปรับคันควบคุมทิศทาง ไปทางซ้ายหรือทางขวา ตามต้องการ
        การเปิดสวิตช์ที่ปัดน้ำฝน  ให้ดึงสวตช์ที่ปัดน้ำฝน
                         แตรรถและฟิวส์
      แตรรถ  เหยียบสวิตชืแตรที่เท้า
      ฟิวส์      ฟิวส์หลักอยู่ที่หนวยควบคุมไฟฟ้าด้านหลังของตัวรถ
      ฟิวส์สำหรับสัญญาณไฟ  กล่องฟิวส์ทางด้านซ้ายบรรจุฟิวส์สำหรับ
                    - ไฟหน้าด้านขวา
                    - ไฟหน้าด้านซ้าย
                    - สัญญาณไฟ
                    - ไฟเบรค
                การต่อเชื่อมรถพ่วง
    การพ่วงรถ  - เสียบหมุดลงไปที่รูแล้วหมุนทำมุม  90 องศา แล้วดึงออก
                         - สอดใส่สลักตัวพ่วงลงในรูที่เปิดให้พอดี
                         - เสียบหมุดลงไปอีกครั้งให้ดันแรงสปริง แล้วหมุนไป 90 องศา ( หมุดจะถูกตรึงอยู่ในตำแหน่งนี้ )
               น้ำหนักมากที่สุดที่พ่วงได้    น้ำหนักมากที่สุดที่ใช้ได้ในการพ่วงจะเท่ากับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของงาที่ระบุไว้บนแผ่นทางด้านขวาของที่นั่งคนขับ
           ห้ามบรรทุกสิ่งของใดๆ บนงาในกรณีที่ใช้รถพ่วงกับน้ำหนักสูงสุด
           อาจใช้งาบรรทุกสิ่งของบางส่วนได้โดยใช้รถพ่วงบรรทุกน้ำหนักที่เหลือ
         ข้อควรระวัง  จะใช้รถพ่วงกับน้ำหนักมากที่สุดได้เมื่ออยู่บนพื้นเรียบเท่านั้น และจะต้องลดน้ำหนักลงหากรถต้องวิ่งบนทางลาด
          โปรดแจ้งสภาพของรถแก่ผู้ผลิต  หรือตัวแทนจำหน่ายเพื่อรับข้อมูลที่จำเป็น
            การใช้รถอื่นลากรถพ่วง  ควรใช้ความเร็วเท่ากับความเร็วในการเดินลากรถพ่วงการควบคุมพวงมาลัยจะเป็นไปได้ยาก  เซอร์โวสเดียริ่งจะไม่ทำงาน
            การเคลื่อนย้ายรถยก
          - สำหรับการเคลื่อนย้ายรถยกโดยใช้รถเครน ให้เกี่ยวขอให้ถูกตำแหน่งซึ่งระบุไว้ด้วยสัญลักษณ์ตะขอ  ควรแทรกแผ่นไม้ไว้ด้วยเพื่อป้องกันความเสียหาย
          - จะมีหูสำหรับเกี่ยวกับขอที่ตัวรถ
           น้ำหนัก    ให้ศึกษาคำแนะนำของผู้ผลิต         
          การขนย้ายรถ
  1.ลิ่ม     ป้องกันการเลื่อนไหลของล้อหน้า และล้อหลังโดยใช้ลิ่ม 2 อัน เสียบไว้ทั้ง 2 ด้านของล้อโดยใช้ก้อนอิฐประกบไว้ด้านข้าง
 2.การผูกเชือก  ใช้เชือกผูกโดยให้เชือกอยู่ที่เสาด้านหน้า  และปมพ่วงด้านหลัง
             ข้อปฏิบัติก่อนใช้งา บรรทุกของและการปรับงา
       ก่อนใช้งาบรรทุกของ
    -ศึกษาความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักจากแผ่นป้ายทางด้านขวาของที่นั่งคนขับ ห้ามใช้งาบรรทุกน้ำหนักเกินจากที่กำหนดไว้ เพราะจะเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานของรถ
    * ระยะของจุดศูนย์กลางน้ำหนักจากฐานของงา (ม.ม.)
    *ความสูงในการยก (ม.ม.)
    *น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (ก.ก.)
  ตัวอย่าง
น้ำหนักของสิ่งของที่จะยก   1270 ก.ก.ระยะของจุดศูนย์กลางน้ำหนักจากฐานของงา 600 ม.ม.  ความสูงในการยก  5030 ม.ม.
( ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างโปรดศึกษาจากแผ่นป้ายบนตัวรถของท่่านด้วย
    การปรัระยะห่างของงา
ระยะระหว่างทั้ง 2 ควรกว้างพอควรเพื่อที่จะวางสิ่งของจะได้ไม่เลื่อนตกลงมาขณะทำการยก  ปรับงาทั้ง 2 ข้างให้ได้ระยะห่างที่พอเหมาะแล้วทำการล็อคงาไว้ให้เรียบร้อย
  - ยกสลักขึ้น แล้วเลื่อนงาตามระยะห่างที่เหมาะสมจากนั้นทำการเลื่อนสลักลงเพื่อทำการล็อค
  - จุดศูนย์กลางของน้ำหนักควรอยู่กึ่งกลางงาทั้ง 2 ข้าง
  - ห้ามปรับระยะห่างของงาในขณะที่ใช้งาบรรทุกสิ่งของ
 การใช้งายกของ
  -ขับรถเข้าหาแร็คด้วยความเร็วปานกลาง  แล้วค่อยๆหยุดเมื่อถึงแร็ค
  - ปรับคันบังคับเลือกทิศทางให้อยู่ในตำแหน่งกลาง
  - ใส่เบรคจอด
  - ปรับเสาให้ตั้งตรงโดยผลักคันบังคับไปด้านหน้ายกงาขึ้น แล้วปรับคันบังคับไปด้านหลังความเร็วเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ยกน้ำหนักได้เร็ว
  -ผลักคันเลือกทิศทางไปข้างหน้า
  -ปลดเบรคจอด
  -เคลื่อนรถไปข้างหน้าช้าๆ แล้วสอดงาเข้าไปใต้สิ่งของให้ลึกที่สุด ระวังอย่าให้งากระแทกสิ่งของหรือแร็คหยุดรถเมื่อสิ่งของวางอยู่ชิดกับฐานงาเรียบร้อยแล้วจุดศูนย์กลางของน้ำหนักต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างงาทั้ง 2
  -ใส่เบรคจอด
  -ยกงาขึ้นจนสัมผัสกับสิ่งของที่จะบรรทุก
  -ปรับคันบังคับเลือกทิศทางเป็นถอยหลัง
  -ปลดเบรคจอด ตรวจดูว่าทางเดินรถด้านหลังไม่มีสิ่งกีดขวาง ถอยรถช้าๆจนสิ่งของพ้นจากตัวแร็คแล้วเบรค
  - ใส่เบรคจอด
  การเคลื่อนย้ายของ
  -ปรับเสาให้หงายขึ้นไปทางด้านหลังจนสุด
  -ลดความสูงของงาลงมาจนได้ระดับเหมาะสมแก่การเดินรถ เว้นระยะห่างจากพื้นให้พอเหมาะ
  -ปลดเบรคจอด และเริ่มเคลื่อนรถได้ ขับรถอย่างระมัดระวังหากต้องเลี้ยวและหลีกเลี่ยงการเบรคอย่างกะทันหัน
  -เวลาเดินรถควรให้สิ่งของอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้ การบรรทุกสิ่งของที่อยู่ในระดับสูงเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพของรถ
  -ควรปรับระดับงาให้อยู่ห่างจากพื้นพอประมาณ และควรเดินรถถอยหลังหากสิ่งของที่บรรทุกอยู่ทำให้ไม่สามารถมองเห้นเส้นทางเดินรถได้ชัดเจน
  -เวลาเดินรถให้ปรับเสาหงายไปทางด้านหลังให้มากที่สุดเสมอ
  -ควรเร่งหรือชลอความเร็วด้วยความนุ่มนวลและหลีกเลี่ยงการสตาร์ท หรือเบรคอย่างกะทันหัน
  -ห้ามบรรทุกของในขณะที่งาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งกลาง
  -ควรขึ้นทางชันโดยให้สิ่งของอยู่ทางด้านหน้ารถ และลงทางชันโดยให้สิ่งของอยู่ทางด้านหลังรถ
  -ห้ามขับรถข้ามสิ่งกีดขวางที่ทำมุม 90 องศากับพื้น(ควรมีไม้วางพาดไว้) และห้ามเลี้ยวบนทางลาดชัน
  -ห้ามไม่ให้มีผู้ใดเดินผ่าน หรือเดินใต้งาเด็ดขาด
  การขนของเข้า
  -ปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดโดยเรียงย้อนจากหลังไปหน้า
  -เดินรถเข้าหาแร็ค ยกสิ่งของให้สูงกว่าระดับชั้นที่จะวางเล็กน้อยเมื่อสิ่งของอยู่เหนือชั้นวางแล้ว ปรับเสาให้ตั้งตรง แล้ววางของลงบนชั้นจากนั้นเดินรถถอยหลังจนกว่าสิ่งของจะพ้นจากงา
  -ลดงาลงมาจนถึงระดับที่จะเดินรถปรับเสาให้หงายไปข้างหลังแล้วเดินรถได้
               การจอดรถเพื่อทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่
การจอดรถ
   -ปรับคันเลือกทิศทางให้อยู่ในตำแหน่งกลาง
   -ใส่เบรคจอด
   -ปรับเสาให้อยู่ในแนวตั้ง
   -ลดระดับงาลงจนถึงพื้น
   -ปรับสวิตช์ไปทางซ้ายแล้วถอดออก
   -ถอดปลั๊กแบตเตอรี่
  ( ห้ามทิ้งรถในขณะที่มีน้ำหนักบรรทุกอยู่ )
              การเปลี่ยนแบตเตอรี่
   -โยกพวงมาลัยไปข้างหน้าแล้วล็อคไว้
   -ถอดสายแบตเตอรี่
   -เลื่อนเบาะไปข้างหลังให้มากที่สุด
   -เปิดล็อคฝาครอบแบตเตอรี่โดยเลื่อนตัวล็อคไปทางซ้าย
   -ยกฝาครอบแบตเตอรี่ขึ้นโดยจับตรงหูที่จับ
   -สำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ยกออกจากด้านบนให้ผูกรอกเข้ากับแบตเตอรี่โดยให้สายรอกผ่านช่องว่างระหว่างซี่เหล็กเหนือที่นั่งคนขับ
   -ติดตั้งแบตเตอรี่ลูกใหม่  ( ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเท่ากันเท่านั้นเพราะน้ำหนักของแบตเตอรี่มีผลต่อความสมดุลย์ของรถน้ำหนักของแบตเตอรี่จะระบุไว้ที่ตัวรถและตัวแบตเตอรี่ )
   -ปิดฝาครอบแบตเตอรี่
   -ต่อปลั๊กแบตเตอรี่
    อุปกรณ์เพิ่มเติมพอเศษ
   เบรคมือ   จะทำงานควบคุมล้อหน้าโดยใช้สายเคเบิ้ล
   แท่งวัดระดับน้ำมันไฮดรอลิค  สามารถตรวจเช็คระดับน้ำมันไฮดรอลิคได้โดยใช้แท่งเหล็ก
  การระบายอากาศสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า  เมื่อความร้อนขึ้นสูงถึง  80 องศา เครื่องระบายอากาศจะทำการระบายความร้อนของมอเตอร์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
  หูเกี่ยวรอก  ในการใช้เครนยก ให้เกี่ยวตะขอเครนเข้ากับหูเกี่ยวของรถซึ่งจะมีเครื่องหมายตะขอแสดงไว้
  งาเสริม  ติดงาเสริมเข้ากับงาตัวเดิม
 
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบต่างๆของรถยก

                       ส่วนประกอบต่างๆของรถยก
1.  เสา
2.โครงเหล็กหลังคาป้องกันภัยเหนือที่นั่งคนขับ
3.คันบังคับต่างๆ คันบังคับยก ,เอียง,กระดกและอุปกรณ์อื่นๆ
4.เบาะนั่งคนขับ
5.ใส้กรองน้ำมันไฮดรอลิก
6.ปั๊มพ์พวงมาลัยผ่อนแรง
7.ปั๊มไฮดรอลิกส์
8.จุดผูกเชื่อมลาก รถพ่วง
9.กระบอกสูบพวงมาลัย
10.เพลา
11.เครื่องควบคุมไฟฟ้า
12.แบตเตอรี่
13.หัวขั้วแบตเตอรี่
14.เพลาขับเคลื่อน
15.กระบอกสูบบังคับเอียง และกระจก
16.มอเตอร์ขับเคลื่อน
17.งา
18.กระบอกสูบยก
                    ส่วนประกอบภายต่างๆในคอกคนขับ
1. สวิตช์ที่ปัดน้ำฝน
2. สวิตช์ไฟ
3. ปุ่มจับบนพวงมาลัย
4. คันบังคับเลือกทิศทาง
5. สัญญาณไฟเลี้ยว
6. สัญญาณทิศทาง
7. ล็อคสวิตช์
8. ถังเก็บน้ำมันเบรก
9. มาตรบอกระดับการชาร์จแบตเตอรี่
10. ไฟเบรกมือ
11. มาตรวัดชั่วโมง
12. สวิตช์ในกรณีมีระบบไฮดรอลิกเพิ่มเติม
13.สวิตช์ควบคุาคาร์บอนบรัชในไดร์ฟมอเตอร์
14. มอเตอร์คาร์บอนบรัชควบคุมการทำงานของไฮดรอลิก
15. มอเตอร์คาร์บอนบรัชควบคุมการทำงานของปั๊มพวงมาลัย
16. เกย์วัดความดันสำหรับระบบไฮดรอลิกเสริม
17. คันบังคับสำหรับอุปกรณ์ที่ทำมาติด (เลือกได้)
18. คันบังคับสำหรับเสาเอียง กระดก
19.คันบังคับในการยกงาขึ้น - ลง
20. คันเร่ง
21. คันปรับตำแหน่งพวงมาลัย
22. คันเบรก
23. ปุ่มแตร
24. เบรคจอด
25. สวิตช์ไฟฉุกเฉิน
26. สวิตช์ไฟ  สปอร์ตไลท์
27. หัวขั้วต่อแบตเตอรี่
28. กล่องฟิวส์สำหรับไฟต่างๆ

WWW.PCNFORKLIFT.COM

การตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์เชื้อเพลิงแก๊สโซลีนที่ควบคุมด้วยิอเล็กทรอนิกสฒ

การตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนคบวคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ( EFI )
  การตรวจหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (EFI )สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงคลื่นไฟฟ้า และใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องที่ขั้วต่อสายไฟเข้ากล่องคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการตรวจเช็คดังนี้
 1.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว +B กับ E1 และขั้ว +B1 กับ E1
     เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B กับ E1 และบิดสวิตช์จุดระเบิดไปที่ตำแหน่ง ON เราสามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ B1 กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ประมาณ 10 ถึง 14 โวลต์
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 และ +B กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ตรวจฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลักEFI และแบตเตอร์รี่ ว่ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 10 กับ 14 โวลด์หรือไม่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 10 กับ 14 โวลด์ที่อุปกรณ์ต่างๆให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟที่ไหลมาที่ขั้ว E1 ของคอมพิวเตอร์กับกราวต์ว่ามีหรือไม่ ถ้ามีให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
2.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว BATT กับ E1 สามารถตรวจวัดการขัดข้องได้โดยใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว BATT กับ E1 จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 10 ถึง 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดที่่ขั้ว BATT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามที่กำหนด ให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์สายและสายไฟระหว่างขั้ว BATT กับ แบตเตอรี่ตามลำดับ
 -ถ้ามีแรงไฟฟ้าที่ขั้ว BATT กับกราวด์ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอรืกับกราวด์ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
3.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว IDL กับ E2 เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IDL กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งกับกล่องคอมพิวเตอร์ลิ้นเร่งจะต้องเปิด วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ประมาณ 4.5 ถึง 5.5 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว +B และ +B1 ที่กล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่ตามลำดับ
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟระหว่างขั้ว E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้ามีให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องที่ขั้ว IDL กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งถ้าตรวจวัดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนใหม่
  -ถ้าการตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งปกติ ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว E2 กับ IDL ของกล่องคอมพิวเตอร์กับเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
4.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VTA กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ที่ตำแหน่ง ON และลิ้นเร่งปิดสนิท ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -เมื่อใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VTA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.5 โวลด์หรือน้อยกว่าเมื่อลิ้นเร่งปิดสนิท
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 กับ +B ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งที่ขั้ว VTA กับ E2
  -ถ้าขั้ว VTA กับ E2 ปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เซนเซอร์กับกล่องคอมพิวเตอร์ ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
5.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VCC กับ E2  ของกล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มอเตอร์วัดที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VCC กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.5 ถึง 5.5 โวลด์เมื่อตำแหน่งลิ้นเร่งเปิดสุด ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามทีี่กำหนดให้ตรวจสอบในข้อถัดไป
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 และ +B ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานที่ขั้ว VCC กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง
  -ถ้าเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งปกติ ให้ใช้โวลด์มอเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VCC กับ E2  ของเซนเซอร์ ตำแหน่งลิ้นเร่งกับกล่องคอมพิวเตอร์ ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
6.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว  IGT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IGT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (เครื่องยนต์เดินเบา )จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.7 ถึง 1.0 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IGT ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์สตาร์ต จานจ่าย  สายไฟจากกล่องคอมพิวเตอร์กับแบตเตอรี่  และตัวช่วยจุดระเบิด
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์  ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
7.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว STA กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ขณะสตาร์ตเครื่องยนต์  สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว STA กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 6 ถึง 14 โวลด์ (สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง START )และควรตรวจการทำงานของงมอเตอร์สตาร์ต ฟิวส์ ฟิวส์สาย  แบตเตอรี่สวิตช์จุดระเบิด และรีเลย์สตาร์ต ตามลำดับ
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็นปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว STA (50)ของมอเตอร์สาร์ตกับกราวด์
8.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว No.10 กับ E01 หรือ No.20 กับ E02 และสวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง ON สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว No.10 กับ E01 หรือขั้ว No.20 ที่กล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9ถึง 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้วความต้านทานโซลีนอยด์ขั้ว +B กับกราวด์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 ถึง 14 โวลด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สายไฟ สวิตช์จุดระเบิดและรีเลย์สตาร์ต
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้วความต้านทานโซลีนอยด์ No.10 และ No.20 กับกราวด์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 ถึง 14 โวลด์
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานของขดลวดแม่เหล็กของแต่ละหัวฉีดประมาณ 13.8 โอห์มถ้าหัวฉีดมีค่าความต้านทานตามค่าที่กำหนดให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างกล่องคอมพิวเตอร์กับความต้านทานโซลีนอยด์หัวฉีด หรือเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
9.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W กับ E1 (หลอดไฟดับแต่เครื่องยนต์ทำงาน ) สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (เครื่องยนต์ทำงานที่รอบเดินเบา )แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 กับ 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ หลอดไฟเตือนเครื่องยนต์ และสายไฟระหว่างขั้ว W ของกล่องคอมพิวเตอร์กับฟิวส์ หรือลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 กับกราวด์ ถ้าไม่ต่อเนื่องให้เปลี่ยนกล่องคอมพอวเตอร์ใหม่
10.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PIM กับ E2 หรือ VCC กับ E2 .ในขณะที่บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจหาข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว PIM หรือขั้ว VCC กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 3.3 กับ 3.9 โวลด์และ 4.5 กับ 5.5 โวลด์ตามลำดับ
  -ใช้โวลด์มอเตอรืตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B หรือ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์ EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้าปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PIM และขั้ว VCC กับE2  ของกล่องคอมพิวเตอร์กับเซนเซอร์สุญญากาศ ถ้าปกติ ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติ ให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
11.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว THA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช็จุดระเบิดไปที่ตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้ดวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว THA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 2.0 ถึง2.8 โวลด์ (อุณหภูมิไอดี 20 องศาเซลเซียส)
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่ปกติ ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติให้ตรวจสอบค่าความต้านทานของเซนเซอร์อุณหภูมิไอดี
  -ถ้าค่าความต้านทานของเซนเซอร์ปกติ ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
12.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว THW กับ E2 เมื่อเปิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON ซึ่งสามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้ดวลด์มิเตอร์ตรวจจับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว THW กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.4 ถึง0.5 โวลด์(อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น 80 องศาเซลเซียส)
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวดืและตรวจสอบความต้านทานของเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
  -ถ้าปกติให้ลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
13.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C และE1 ที่กล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (สวิตช็เครื่องปรับอากาศอยู่ในตำแหน่ง ON)แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 5 ถึง 14 โวลด์
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ แรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้วแอมพลิไฟเออร์กับกราวด์ หรือตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างแอมพลิไฟเออร์กับกล่องคอมพิวเตอร์
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่ต่อเนื่อง ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
WWW.PCNFORKLIFT.COM

.

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาข้อขัดข้องของระบบจุดระเบิด

                         ปัญหาข้อขัดข้องของระบบจุดระเบิดมีดังนี้
  1.ไม่มีประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียน สาเหตัและการแก้ไขเมื่อไม่มีประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียน
  -หน้าทองขาวสกปรก                          การแก้ไข   เปลี่ยนหัวทองขาว
  -ระยะห่าวหน้าทองขาวชิดเกินไป        การแก้ไข   ปรับระยะห่างของหน้าทองขาว
  -คอนเดนเซอร์เสื่อม                           การแก้ไข    เปลี่ยนคอนเดนนเซอร์
  -แบตเตอรี่ไม่มีไฟฟ้า                          การแก้ไข    ประจุกกระแสไฟฟ้าให้แบตเตอรี่
  -สายไฟวงจรปฐมภูมิหลุดหรือสกปรก  การแก้ไข   ทำความสะอาดและยึดขั้วให้แน่น
  -คอยล์จุดระเบิดเสื่อม                         การแก้ไข    เปลี่ยนคอยล์จุดระเบิดใหม่
  -ไม่มีกระแสไฟที่วงจรปฐมภูมิ             การแก้ไข    ตรวจสอบวงจรปฐมภูมิ
  -แผ่นยึดหน้าทองขาวไม่ลงดิน            การแก้ไข   ยึดสายดินให้แน่น
  -มีความชื้นที่ฝาครอบจานจ่าย             การแก้ไข   เช็ดทำความสะอาด
   และหน้าทองขาว
2. มรประกายไฟออกที่เขี้ยวหัวเทียนน้อยมาก สาเหตุและวิธีการแก้ไขมีดังนี้
  -หน้าทองขาวสกปรกหรือไหม้              การแก้ไข   เปลี่ยนหน้าทองขาวใหม่
  -หัวโรเตอร์และขั้วด้านในฝาครอบ       การแก้ไข   เปลี่ยนฝาครอบจานจ่ายและหัวโรเตอร์
    จานจ่ายไหม้
  -สปริงหน้าทองขาวล้า                          การแก้ไข   เปลี่ยนสปริงหน้าทองขาว
  -สายไฟแรงสูงเสื่อม                             การแก้ไข   เปลี่ยนสายไฟแรงสูงใหม่
  -ลูกเบี้ยวจานจ่ายสึกหรอ                      การแก้ไข   เปลี่ยนลูกเบี้ยวจานจ่าย
  -บูชเพลาลูกเบี้ยวจานจ่ายสึกหรอ         การแก้ไข   เปลี่ยนบูชเพลาลูกเบี้ยว
  -คอนเดนเซอร์เสื่อม                             การแก้ไข   เปลี่ยนคอนเดนเซอร์
  -คอยล์จุดระเบิดเสื่อม                           การแก้ไข   เปลี่ยนคอยล์จุดระเบิดใหม่
  -สายไฟวงจรปฐมภูมิสกปรกหรือหลุด   การแก้ไข   ทำความสะอาดหรือยึดให้แน่น
3.จุดระเบิดผิดพลาดที่ความเร็วต่ำ สาเหตุและวิธีการแก้ไขทำได้ดังนี้
  - ระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนมากเกินไป    การแก้ไข   ปรับระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน
  -ฉนวนหัวเทียนแตกร้าว                             การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียน
  -หัวเทียนบอด                                            การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียน
  -มีประกายไฟออกที่เขี้ยวหัวเทียนน้อยมาก  การแก้ไข  ให้แก้ปัญหาตามหัวข้อปัญหามีประกายไฟออกที่
                                                                                        เขี้ยวหัวเทียนน้อยมาก
4.การจุดระเบิดผิดผลาดทุกความเร็ว  สาเหตุและการแก้ไขปัญหาทำได้ดังนี้
  -หัวเทียนบอด                                         การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียนใหม่
  -ฉนวนหัวเทียนแตกร้าว                          การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียนใหม่
  -ขั้วสายไฟแรงสูงที่หัวเทียนไม่ถูกต้อง   การแก้ไข   ปรับลำดับการจุดระเบิดใหม่
  -ระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนมากเกินไป  การแก้ไข   ปรับระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนให้ถูกต้อง
5.หน้าทองขาวเสื่อมเร็วกว่ากำหนด  สาเหตุและการแก้ไขทำได้ดังนี้
  -หน้าทองขาวสกปรก                            การแก้ไข   เปลี่ยนใหม่
  -คอยล์จุดระเบิดเสื่อม                           การแก้ไข   เปลี่ยนคอยล์จุดระเบิดใหม่
  -ปรับระยะห่างหน้าทองขาวไม่ถูกต้อง   การแก้ไข   ปรับตั้งระยะห่างหน้าทองขาวใหม่
  -แรงเคลื่อนไฟแรงสูงมากเกินไป           การแก้ไข   ปรับค่าแรงเคลื่อนไฟแรงสูงให้ถูกต้อง
  -คอนเดนเซอร์เสื่อม                              การแก้ไข   เปลี่ยนคอนเดนเซอร์ใหม่
  -ชุดความต้านทานคอยล์จุดระเบิดเสื่อม   การแก้ไข   เปลี่ยนชุดความต้านทานใหม่
6.คอยล์เสื่อมเร็วกว่ากำหนด  สาเหตุและการแก้ไขปัญหาทำได้ดังนี้
  -น้ำมันคอยล์รั่ว                                    การแก้ไข   เปลี่ยนคอยล์ใหม่
  -ความร้อนจากเครื่องยนต์                   การแก้ไข   เปลี่ยนที่ติดตั้งคอยล์ใหม่ 
  -แรงเคลื่อนไฟแรงสูงมากเกินไป         การแก้ไข   ปรับค่าแรงเคลื่อนไฟแรงสูงให้ถูกต้อง
7.คอนเดนเซอร์เสื่อม สาเหตุและการแก้ไขปัญหาทำได้ดังนี้
  -ได้รับความชื้นมากเกินไป                   การแก้ไข   เปลี่ยนคอนเดนเซอร์ใหม่
  -การใช้งานนานๆ                                 การแก้ไข   เปลี่ยนคอนเดนเซอร์ใหม่
8.หัวเทียนเสื่อมเร็วกว่ากำหนด  สาเหตุและการแก้ไขปัญหา
  -เกลียวเสียในขณะติดตั้งหัวเทียน            การแก้ไข   กวดขันแรงบิดหัวเทียนให้ได้ตามค่าที่กำหนด
  -ใช้หัวเทียนที่มีค่าความร้อนไม่ถูกต้อง    การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียนที่มีค่าความร้อนที่ถูกต้อง
  -เกิดการชิงจุด                                          การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียนเป็นหัวเทียนเย็น
  -เกิดดีโทเนชัน                                         การแก้ไข   เปลี่ยนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนสูง
  -ส่วนผสมไอดีบางเกินไป                         การแก้ไข   ปรับค่าส่วนผสมใหม่
9.เกิดการชิงจุด สาเหตุและการแก้ไขการเกิดชิงจุด
  -เครื่องยนต์ร้อนจัด                                  การแก้ไข   ตรวจสอบระบบหล่อเย็น
  -มีเขม่าในห้องเผาไหม้มาก                     การแก้ไข   ทำความสะอาดห้องเผาไหม้
  -ให้หัวเทียนร้อน                                      การแก้ไข   เปลี่ยนใช้หัวเทียนเย็น
10.เครื่องยนต์เกิดสะอึก  สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์สะอึก
  -หัวเทียนบอด                                         การแก้ไข   เปลี่ยนหัวเทียนใหม่
  -ไฟแก่เกินไป                                          การแก้ไข   ปรับไฟการจุดระเบิดให้ถูกต้อง
  -จังหวะจุดระเบิดไม่ถูกต้อง                     การแก้ไข   ตรวจสอบสายไฟแรงสูงที่หัวเทียนให้ถูกต้องตาม
                                                                                    ลำดับการจุดระเบิด
11.เครื่องยนต์เกิดอาการจาม  สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์จามทำได้ดังนี้
  -ลำดับการจุดระเบิดไม่ถูกต้อง                    การแก้ไข   จัดลำดับการจุดระเบิดให้ถูกต้อง
  -ฝาครอบจานจ่ายรั่ว                                   การแก้ไข   เปลี่ยนฝาครอบจานจ่าย
WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

PCN FORKLIFT THAILAND 5-ซ่อมรถยก(forklift) ทุกยี่ห้อ: การดูแลรถฟอร์คลิฟท์

PCN FORKLIFT THAILAND 5-ซ่อมรถยก(forklift) ทุกยี่ห้อ: การดูแลรถฟอร์คลิฟท์: การดูแลรถฟอร์คลิฟท์ ต้องมีโปรแกรมตรวจเชครถฟอร์คลิฟท์รวมถึงการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันการตรวจสอบ และการทำความสะอาดตามที่ผู้ผลิตกำหนด่วนอุปกรณืที่...


WWW.PCNFORKLIFT.COM

การตรวจสอบระบบจุดระเบิด

                            การตรวจสอบระบบจุดระเบิด
          การตรวจหาข้อบกพร่องของระบบจุดระเบิดเพื่อ  วิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นและแก้ไขให้ถูกต้องควรทำตามขั้นตอนที่ได้แนะนำไว้ เพื่อจะได้ค้นหาสาเหตุและแก้ไขได้ถูกต้องและรวดเร็วดังนี้
  1.การตรวจสอบสายไฟแรงสูง (สายหัวเทียน) การตรวจสอบสายไฟแรงสูงปฏิบัติได้ดังนี้
    -ทดสอบแรงเคลื่อนไฟแรงสูงโดยใช้มือจับที่ยางหุ้มขั้วสายหัวเทียน ดึงสายหัวเทียนออก และจี้ที่กราว หมุนเครื่องยนต์ทดสอบว่ามีประกายไฟเกิดขึ้นหรือไม่
    -ตรวจค่าความต้านทานสายหัวเทียน (แบบตัวนำเป็นคาร์บอน) ค่าความต้านทานต้องน้อยกว่า 25 กิโลโอห์ม ถ้าค่าความต้านทานมากกว่นี้ ให้เปลี่ยนสายหัวเทียนใหม่
 2.การตรวจสอบหัวเทียน ถอดหัวเทียนออกทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างหัวเทียนหรือแปรงลวด ตรวจสอบขั้วอิเล็กโทรดเขี้ยวหัวเทียน เกลียวหัวเทียน  ถ้ามีข้อบกพร่องให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ ตั้งระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนใหม่ให้ถูกต้อง
 3.การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิด การตรวจสอบคอยลืจุดระเบิดสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
   -ตรวจสอบความต้านทานขดลวดปฐมภูมิ โดยถอดสายไฟแรงสูงออก ถอดสายไฟที่ไปจานจ่ายออก ค่าความต้านทานของขดลวดปฐมภูมิ 1.3 - 1.6 โอห์ม ถ้าไม่ได้ค่าตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
   -ตรวจสอบความต้านทานขดลวดทุติยภูมิ ค่าความต้านทานของขดลวดทุติยภูมิ 10.7 - 14.5 กิโลโอห์ม  ถ้าไม่ได้ค่าตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
   -ตรวจสอบค่าความต้านทานของตัวความต้านทานภายนอก มีค่าความต้านทานประมาณ 1.3 - 1.5 โอห์ม  ถ้าไม่ได้ตามนี้ให้เปลี่ยนใหม่
   -ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่คอยล์จุดระเบิด เปิดสวตช์กุญแจจุดระเบิด ใช้โวลต์มิเตอร์สายบวก(+)จึ้ที่ขั้วบวก(+) ของตัวความต้านทาน  สายลบ (-) จี้ที่กราวด์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะต้องได้ 12 โวลต์ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ให้ตรวจสอบฟิวส์ ขั้วสายไฟ สวิตช์กุญแจจุดระเบิด และสายไฟ  
  4.การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิดแบบรวม  การตรวจสอบคอยล์จุดระเบิดแบบรวม (llA)ทำได้ดังนี้
   -ถอดฝาครอบจานจ่าย โรเตอร์ และฝาครอบกันฝุ่นออก
   -ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าจานจ่าย
   -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วบวก และขั้วลบ ของขดลวดปฐมภูมิ
   -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วบวก และขั้วไฟแรงเคลื่อนสูงของขดลวดทุติยภูมิ (ความต้านทาน 10.2 - 13.8 กิโลโอห์ม )
  5.การตรวจสอบชุดช่วยจุดระเบิดของคอยล์จุดระเบิดแบบรวม การตรวจสอบสามารถทำได้ดังนี้
  -ต่อขั้วต่อสายไฟเข้าจานจ่าย
  -บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง  IG
  -ใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจวัดโดยต่อสายวัดบวก เข้ากับขั้วบวก ของคอยล์จุดระเบิด และจี้สายวัดลงกราวด์แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 12 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดทรานซิสเตอร์กำลังในชุดช่วยจุดระเบิด โดยต่อสายวัดบวก เข้ากับขั้วลบ ของคอยล์จุดระเบิด และจี้สายวัดลบ ลงที่กราวด์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 12 โวลด์
  -ใช้ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 โวลด์ โดยต่อสายไฟสีชมพูเข้ากับขั้วบวก ของถ่านไฟฉายและต่อสายไฟสีขาวเข้ากับขั้วลบ ของถ่านไฟฉาย (แรงคลื่นไฟฟ้าประมาณ 0 - 3 โวลด์)
  -บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง OFF
 6.การตรวจสอบจานจ่ายของระบบจุดระเบิดแบบรวม สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
  -ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะห่างระหว่างโรเตอร์กับขดลวดกำเนิดสัญญาณจะต้องมีระยะห่างประมาณ 0.2 -0.4มิลลิเมตร (0.008 - 0.016 นิ้ว )
  -ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดความต้านทานของขดลวดกำเนิดสัญญาณ ความต้านทานประมาณ 140 - 180โอห์ม
  -ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้อุปกรณืเร่งไฟอิลเกทรอนิกส์ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างขั้วดังนี้
  --ความต้านทานขดลวดกำเนิดสัญญาณ G ให้วัดระหว่าง G+ ถึง G- ประมาณ 140 - 180 โอห์ม
  --ความต้านทานขดลวดกำเนิดสัญญาณ Ne ให้วัดระหว่างขั้ว Ne+ ถึง G- ประมาณ 140 - 180 โวลด์ ถ้าความต้านทานไม่ได้ตามที่กำหนดให้เปลี่ยนจานจ่ายใหม่
 7.การตรวจจานจ่ายแบบทรานซีสเตอร์ล้วน การตรวจสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  * การตรวจสอบเครื่องกำเนิดสัญญาณจานจ่าย
     -ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะระหว่างโรเดอร์กำเนิดสัญญาณและขดลวดกำเนิดสัญญาณ แต่ถ้าระยะห่างไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับใหม่ด้วยการคลายสกรู 2 ตัว และขยับชุดขดลวดกำเนิดสัญญาณไปจนกระทั่งได้ระยะห่างที่ถูกต้อง จึงล็อคสกรูทั้ง 2 ตัวให้แน่น (ค่ามารตฐานระยะห่างประมาณ 0.2 - 0.4 มิลิเมตร
      -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของขดลวดกำเนิดสัญญาณ (ค่าความต้านทานมาตรฐานอยู่ที่ 140 - 180 โอห์ม )
  * การตรวจสอบชุดเร่งไฟ สามารถทำการตรวจสอบได้ดังนี้
    -ปลดท่อและต่อทอ่สุญญากาศ ตรวจแรงเคลื่อนตัวของชุดเร่งไฟ
    -บิดตัวโรเตอร์ให้เคลื่อนตัวไปตามเข็มนาฬิกาและปล่อย ให้สังเกตุการเคลื่อนตัวกลับในตำแหน่งเดิม ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของชุดเร่งไฟกลไก

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาข้อขัดข้องของระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์

  ปัญหาข้อขัดข้องของระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์  ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. เครื่องยนต์ร้อนจัด สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์ร้อนจัดปฏิบัติดังนี้
  -ระดับน้ำในหม้อน้ำมันต่ำเกินไป            การแก้ไข  เติมให้ได้ระดับ
  -สายพานหย่อน                                      การแก้ไข  ปรับความตึงสายพานใหม่
  -สายพาขาด                                           การแก้ไข   เปลี่ยนสายพานใหม่
  -สายพานเลื่อน                                       การแก้ไข  เปลี่ยนสายพานใหม่
  -สนิมอุดตันที่หม้อน้ำ                             การแก้ไข   ทำความสะอาดหม้อน้ำ
  -ยางท่อน้ำอุดตัน                                   การแก้ไข   เปลี่ยนยางท่อน้ำ
  -มีอากาศรั่วเข้าในระบบ                         การแก้ไข   ปรับซ่อมปั๊มน้ำและยึดทอ่น้ำให้แน่น
  -ฝาหม้อน้ำไม่ทำงาน                             การแก้ไข   เปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่
  -เทอร์โมสตัตไม่ทำงาน                         การแก้ไข   เปลี่ยนเทอร์โมสตัตใหม่
  -สนิมจับที่ทางน้ำที่เสื้อสูบ                     การแก้ไข   ทำความสะอาดเสื้อสูบ
  -ปะเก็นฝาสูบรั่ว                                     การแก้ไข    เปลี่ยนปะเก็นฝาสูบใหม่
  -ใบพัดปั๊มน้ำแตก                                   การแก้ไข   เปลี่ยนใบพัดปั๊มน้ำใหม่
  -เบรกรถยนต์ติด                                     การแก้ไข   ปรับระยะเบรกใหม่
  -ระดับน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับ           การแก้ไข    เติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับ
  -ยางท่อน้ำตอนล่างยุบตัว                      การแก้ไข   เปลี่ยนยางท่อน้ำใหม่
  -ตั้งระยะห่างของลิ้นน้อยเกินไป             การแก้ไข   ปรับระยะห่างของลิ้นให้ได้ตามที่กำหนด
  -จังหวะการจุดระเบิดล่าช้า                     การแก้ไข    ปรับจังหวะการจุดระเบิด
  -ส่วนผสมไอดีบางเกินไป                      การแก้ไข    ทำความสะอาดและเปลี่ยนนมหนูใหม่
2.เครื่องยนต์อุ่นล่าช้า สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์อุ่นล่าช้า
  -เทอร์โมสตัตเปิดค้าง                           การแก้ไข    เปลี่ยนเทอร์โมสตัต
  -อากาศเย็นจัด                                      การแก้ไข    ติดตั้งกะบังลม
  -ไม่มีเทอร์โมสตัต                                 การแก้ไข    ติดตั้งเทอร์โมสตัต
  -ใช้เทอร์โมสตัตเปิดที่อุณภูมิต่ำ           การแก้ไข    เปลี่ยนใช้เทอร์โมสตัตชนิดที่อุณหภูมิสูง
3.เครื่องยนต์ร้อนจัดหรือเย็นจัดอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์ร้อนจัดหรือเย็นจัด
  -เซนเซอร์วัดอุณหภูมิบกพร่อง              การแก้ไข    เปลี่ยนเซนเซอร์วัดอุณหภูมิใหม่
  -เกจวัดอุณหภูมิบกพร่อง                       การแก้ไข    เปลี่ยนเกจวัดอุณหภูมิใหม่
  -หลอดไฟเตือนอุณหภูมิความร้อนขาด  การแก้ไข    เปลี่ยนหลอดไฟใหม่
4.สายพานดังขณะเร่งเครื่องยนต์  สาเหตุและการแก้ไขสายพานดังขณะเร่งเครื่องยนต์
  -สายพานหย่อน                                    การแก้ไข    ปรับสายพานใหม่
  -สายพานลื่น                                         การแก้ไข    เปลี่ยนสายพานใหม่
  -สายพานมีความฝืดเนื่องจากขับปั๊มน้ำ     การแก้ไข   เปลี่ยนสายพานที่ขับให้ถูกต้องกับขนาดที่ใช้
    ปั๊มพวงมาลัยเพาว์เวอร์ เป็นต้น
5.สายพานมีเสียงดังที่ความเร็วรอบต่ำ สาเหตุและการแก้ไขสายพานมีเสียงดังที่ความเร็วต่ำ
  -สายพานหย่อน                                       การแก้ไข   ปรับความตึงสายพานใหม่
  -สายพานสกปรก                                      การแก้ไข   ปรับสายพานใหม่
  -สายพานไม่ได้ขนาด                               การแก้ไข   เปลี่ยนสายพานใหม่
  -พูลเลย์ไม่ได้ขนาด                                  การแก้ไข   เปลี่ยนสายพานใหม่
6.สายพานหลุดออกจากร่องพูลเลย์ขับสายพาน สาเหตุและการแก้ไขสายพานหลุดออกจากร่องพูลเลย์ขับสายพานทำได้ดังนี้
  -สายพานหย่อน                                      การแก้ไข   ปรับความตึงสายพานใหม่
  -พูลเลย์ไม่ได้ศูนย์                                   การแก้ไข   ปรับพูลเลย์ให้ได้ศูนย์
  -สายพานฉีกขาด                                     การแก้ไข   เปลี่ยนสานพานใหม่
  -สายพานไม่ได้ขนาด                              การแก้ไข   เปลี่ยนสายพานใหม่
7.ปั๊มน้ำมีเสียงดัง  สาเหตุและการแก้ไขปัญหา
  -ลูกปืนปั๊มน้ำชำรุด                                 การแก้ไข    ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนปั๊มน้ำใหม่
  -เกิดเสียงดังจากซีลปั๊มน้ำ                     การแก้ไข    หล่อลื่นปั๊มน้ำ
8.เสียงดังที่ฝาหม้อน้ำ สาเหตุและการแก้ไขปัญหา
  -น้ำหล่อเย็นเดือด                                  การแก้ไข    ดับเครื่องยนต์และตรวจสอบสาเหตุ
WWW.PCNFORKLIFT.COM

การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง

การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง  เป็นการตรวจสอบระบบการจ่ายเชื้อเพลิงซึ่งได้แก่ ปั๊มเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ต่างๆในคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งจะต้องพอจารณาและตรวจสอบตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การตรวจปั๊มเชื้อเพลิง การตรวจการทำงานของปั๊มเชื้อเพลิงแบบกลไกสามารถปฏิบัติดังนี้
  -ตรวจการทำงานของลิ้นน้ำมันเข้าด้วยการอุดท่อเข้า-ออกและท่อไหลกลับ และพิจารณาดูการเคลื่อนตัวของกระเดื่องกดแผ่นไดอะแฟรมซึ่งจะเคลื่อนตัวเป็นอิสระ
  -ตรวจสอบลิ้นทางด้านน้ำมันออก โดยใช้นิ้วมืออุดช่องทางเข้าและตรวจสอบการล็อคตัวของกระเดื่องนั้นด้วยแรงเช่นเดียวกับการตรวจสอบลิ้นทางเข้า
  -ตรวจสอบไดอะแฟรมโดยใช้นิ้วมืออุดท่อทางเข้าและท่อทางออกและตรวจสอบการล็อคตัวของกระเดือง
   หมายเหตุ ถ้าทำการตรวจสอบทั้ง 3 หัวข้อแล้วปั๊มยังคงทำงานผิดปกติอยู่ นั่นแสดงว่าการผนึกของปั๊มผิดปกติ
  *ให้อุดรูระบายปั๊มเพื่อตรวจสอบการรั่วของน้ำมันและการล็อคของกระเดิ่องปั๊ม
 2.การถอดแยกคาร์บูเรเตอร์ การถอดแยกคาร์บูเรเตอร์ควรถอดแยกชิ้นส่วนออกเป็น 2 ส่วนอย่างระมัดระวัง เช่น ควรแยกฝาครอบคาร์บูเรเตอร์ และตัวเรือนของคาร์บูเรเตอร์ออกอย่างระมัดระวังอย่าให้สับสน และควรจัดเรียงชิ้นส่วนให้เป็ไปตามลำดับ
 3.การตรวจสอบคาร์บูเรเตอร์  ก่อนทำการตรวจสอบคาร์บูเรเตอร์ ชิ้นส่วนทุกชิ้นควรจะได้รับการทำความสะอาดเสียก่อน  การตรวจสอบสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  -ตรวจสอบการสึกหรอของสลักลูกลอย  การแตกบิ่นของรูสลักลูกลอย  การบิดเบี้ยวของสปริง  เข็มลูกลอย   ลูกสูบ   และการแตกของตัวกรองเชื้อเพลิง
  -ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของลูกสูบกำลัง
  -ตรวจสอบการชำรุดและการเปิด-ปิดของลิ้นกำลัง
  -ตรวจสอบการทำงานของนมหนูไฟฟ้าด้วยการต่อขดลวดกับแบตเตอรี่
  -ตรวจสอบความต้านทานตัวเรือนขดลวดโช้กอัตโนมัติ (ความต้านทาน 20 ถึง 22 โอห์ม ที่อุณหภูมิ 20องศาเซลเซียส )
  -ตรวจรอยชำรุดของสกรูปรับส่วนผสมเดินเบา
  -ตรวจสอบการอุดตันของนมหนูเดินเบาและนมหนูหลักแต่ละตัว
 4.การประกอบคาร์บูเรเตอร์  การประกอบให้ประกอบอย่างระมัดระวังตามขั้นตอนดังนี้
  -ประกอบสกรูปรับแต่งส่วนผสมเดินเบาเข้าที่เรือนคาร์บูเรเตอร์
  -ประกอบชุดไดอะแฟรมตรวจวัดตำแหน่งลิ้นเร่ง
  -ประกอบลูกเบี้ยวเดินเบารอบสูง แหวนรองลูกเบี้ยว และโบลด์
  -ประกอบคอคอดท่อที่ 1 และท่อที่ 2บนปะเก็นที่เปลี่ยนใหม่
  -ประกอบปั๊มเร่งช่วย ลูกปืนไดอะแฟรมสปริง และเรือนปั๊มเร่งช่วย
  -ประกอบนมหนูหลักท่อที่ 1 และ 2 และนมหนูเดินเบา
  -ประกอบตัวหน่วงลิ้นเร่งและนมหนูไฟฟ้าเข้ากับตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์
  -ประกอบลูกปืนกันกลับของปั๊มเร่ง
  -ประกอบตัวเรือนขดลวดสปริงไบมีทัลของโช้กอัตโนมัติ
  -จัดขีดบนเรือนโช้กให้ตรงกัน และตรวจการทำงานของลิ้นโช้ก
  -ประกอบบ่าลิ้นและปะเก็นใหม่เข้าช่องทางเชื้อเพลิงเข้า
  -ประกอบเข็มลูกลอย สปริงลูกลอย  ลูกลอย และสลัก
  -ตรวจวัดระดับลูกลอยโดยใช้เวอร์เนียร์หรือเครื่องมือวัดเฉพาะวัดระหว่างลูกลอยกับฝาครอบคาร์บูเรเตอร์ (ระดับลูกลอย 7.2 มิลลิเมตร หรือ 0.238 นิ้ว)
  -ถ้าระดับลูกลอยไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ ให้ทำการปรับที่ส่วนปลายของลูกลอย
  -ประกอบฝาครอบและตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์เข้าด้วยกันกับสกรู
  -ประกอบก้านต่อโช้กโอเพนเนอร์
  -ประกอบขาปั๊มเร่งและก้านต่อโช้กเข้ากับฝาครอบคาร์บูเรเตอร์
 5.การปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ หลังจากทำการประกอบคาร์บูเรเตอร์แล้ว ควรทำการปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  -ตรวจสอบการเปิดเต็มที่ของลิ้นเร่งท่อที่1 (ค่ามุมมาตรฐาน 90 องศาตามแนวนอน )
  -ถ้ามุมการเปิดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับตั้งขากั้นลิ้นเร่งท่อที่ 1
  -ตรวจวัดมุมการเปิดเต็มที่ของลิ้นเร่งท่อที่ 2 ( ค่ามุมมาตรฐาน 80 องศาตามแนวนอน)
  -ถ้ามุมเปิดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ปรับตั้งขากั้นลิ้นเร่งท่อที่ 2
  -ปรับตั้งระยะห่างระหว่างลิ้นเร่งท่อที่ 2 กับตัวเรือนคาร์บูเรเตอร์ (ระยะคิกอัป  ระยะห่างคิกอัปประมาณ 0.16 ถึง 0.27 มิลลิเมตร)
  -ถ้าระยะห่างคิกอัปไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ใช้คีมปรับตั้งดัดขาลิ้นเร่งท่อที่ 2
  -ปรับตั้งขีดเครื่องหมายบนเรือนขดลวดให้ตรงกับขีดกลางของตัวเรือน
  -ถ้าต้องการปรับส่วนผสมให้เหมาะสมกับการสตาร์ท ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางดังนี้
      ถ้าต้องการส่วนผสมหนา ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางเข็มนาฬิกา
      ถ้าต้องการส่วนผสมบาง ให้หมุนเรือนขดลวดไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
  -ปรับขาลิ้นเร่งในตำแหน่งเดินเบารอบสูง
  -ถ้ารอบเดินเบารอบสูงไม่ได้ตามที่กำหนด ให้ใช้คีมดัดขาเดินเบารอบสูง
  -ดัดก้านต่อ A เพื่อปรับตั้งระยะการทำงานของปั๊มเร่ง (ค่าระยะมาตรฐาน 4.0 มิลลิเมตร)


WWW.PCNFORKLIFT.COM

การตรวจสอบระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

             การตรวจสอบระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
       การตรวจสอบข้อบกพร่องของระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเป็นการตรวจเพื่อพิจารณาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างรวดเร็วตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1.การตรวจสอบอากาศภายนอกรั่วเข้าในระบบระบายความร้อนอากาศภายนอกจะถูกดูดเข้าไปผสมกับน้ำหล่อเย็น โดยจะถูกดูดเข้าตามข้อต่อท่อยางระหว่างปั๊มน้ำกับหม้อน้ำรถยนต์ ฟองอากาศจะทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นดันให้น้ำหล่อเย็นไหลออกจากหม้อน้ำ ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด
    อากาศที่รั่วเข้าไปในระบบได้นั้นก็เนื่องมาจากเกิดการขันเข็มขัดรัดท่อยางไม่แน่น ทำให้เกิดรอยรั่วได้ และน้ำหล่อเย็นในระบบระบายความร้อนมีระดับต่ำมากเกินไป
      วิธีการตรวจสอบให้ทำการตรวจสอบดังนี้
  -เติมน้ำหล่อเย็นให้ได้ระดับที่กำหนด
  -เปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่เพื่อให้การตรวจสอบมรความแม่นยำขึ้น หรือปิดฝาหม้อน้ำให้แน่น ไม่ให้มีอากาศเข้าได้
  -ต่อท่อยางเข้ากับท่อระบายน้ำที่คอหม้อน้ำ เพื่อให้เกิดความแน่ใจควรตรวจสอบท่อยางที่ต่อ จะต้องไม่มีอากาศเข้าไปได้
  -นำท่อยางที่ต่อจากหม้อน้ำจุ่มลงขวดแก้วที่จะทำการตรวจสอบ
  -ปลดเกียร์รถยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง สตาร์ตเครื่องยนต์เร่งเครื่องยนต์ด้วยความเร็วรอบสูงจนเข็มวัดอุณหภูมิความรอนขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งความร้อนปกติ
  -ตรวจดูฟองอากาศที่เกิดขึ้นในขวดแก้ว ถ้ามีอากาศจากภายนอกรั่วเข้าในระบบ ฟองอากาศจะผุดขึ้นในขวดแก้วอย่างเห็นได้ชัด
2.การรั่วของแก๊สไอเสียเข้าในระบบระบายความร้อน สาเหตัการรั่วของแก๊สไอเสียเนื่องมาจากฝาสูบแตกร้าว ฝาสูบมีรูให้แก๊สไอเสียที่มีความร้อนระบายเข้าไปในระบบภายใต้แรงดันของห้องเผาไหม้ และยังทำให้น้ำหล่อเย็นไหลเข้าไปในกระบอกสูบ แก๊สไอเสียจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำหล่อเย็น ก่อให้เกิดสะกรันและสนิมขึ้น ฟองอากาศที่เกิดขึ้นภายในหม้อน้ำเกิดจากแรงดันของแก๊สไอเสียภายในกระบอกสูบ
    วิธีการตรวจสอบการรั่วของแก๊สไอเสียเข้าในระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ให้ดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
 -ติดเครื่องยนต์ให้มีอุณหภูมิเหมาะสมในการทำงานในสภาวะที่เครื่องยนต์ไม่มีโหลด
 -เปิดฝาหม้อน้ำและสังเกตุฟองอากาศที่เกิดขึ้นภายในน้ำหล่อเย็น
  หมายเหตุ   การตรวจสอบจะต้องปฏิบัติด้วยความรวดเร็วก่อนที่น้ำหล่อเย็นจะร้อนถึงจุดเดือด
3.การทำความสะอาดระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำที่ใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ ถ้าละเลยไม่มีการบำรุงรักษาที่ดี จะทำให้เกิดสนิมและตะกรันขึ้นภายในท่อน้ำหม้อน้ำของรถยนต์ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการอุดตัน น้ำในหม้อน้ำไม่สามารถระบายความร้อนออกไปจากระบบได้ เป็นสาเหตุให้น้ำหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงและแรงดันเพิ่มขึ้นน้ำจะถึงจุดเดือดกลายเป้นไอระบายผ่านท่อน้ำทิ้งที่คอหม้อน้ำ จากการที่น้ำในระบบระบายความร้อนด้วยน้ำถูกระบายออกไป จะเป็นผลให้ปริมารน้ำในหม้อน้ำลดลง ดังนั้นประสิทธิภาพในการระบายความร้อนก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ผลต่อเนื่องจะทำให้เกิดความสูญเสียกำลังงานและเกิดการชำรุดเสียหายกับเครื่องยนต์
    การทำความสะอาดระบบระบายความร้อนด้วยน้ำทำได้ 2 วิธีดังนี้
 3.1 การล้างรถยนต์ด้วยวิธีฉีดน้ำย้อนกลับ  จากสาเหตุการอุดตันของสนิมภายในท่อน้ำของหม้อน้ำในระบบหล่อเย็น จึงจำเป็นจะต้องชะล้างให้สนิมที่เกาะอยู่ภายในออกให้หมดดังนั้นการทำความสะอาดจึงต้องใช้เครื่องมือพิเศษโดยอาศัยการฉีดน้ำควบคู่กับลมที่มีแรงดันสูงให้ย้อนทิศทางการไหลหมุนเยนของน้ำหล่อเย็นตามปกติ ซึ่งจะทำให้สนิมที่เกาะอยู่หลุดออกโดยง่ายการใช้แรงดันของอากาศฉีดเข้าไปในหม้อน้ำจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างของหม้อน้ำเป็นสำคัญ  ซึ่งขั้นตอนในการล้างหม้อน้ำด้วยการฉีดน้ำย้อนกลับมีดังนี้
  -จะต้องถอดยางหม้อน้ำส่วนบนและล่างที่ต่อเข้ากับเครื่องยนต์ออกก่อน
  -ต่อหัวแดเข้ากับยางท่อน้ำด้านล่าง
  -ฉีดน้ำกับลมเข้าไปในหม้อน้ำเพื่อให้สนิมที่อุดตันชะล้างออกจากหม้อน้ำ (ลมที่ใช้จะต้องมีแรงดันไม่เกิน 1.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือ 20 ปอนต่อตารางนิ้ว ) ถ้าใช้แรงดันมากกว่าที่กำหนดจะทำให้หม้อน้ำเกิดการชำรุดเสียหายได้
  -ฉีดน้ำกับลมจนกระทั่งน้ำที่ไหลออกมาจากท่อสะอาดไม่มีสนิม
3.2 การล้างช่องทางน้ำหล่อเย็นด้วยวิธีการฉีดน้ำย้อนกลับ ภายในเสื้อสูบของเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ถ้าขาดการบำรุงรักษาที่ดีก็จะมีสนิมเกาะภายในเช่นเดียวกับหม้อน้ำรถยนต์ซึ่งจะทำให้การระบายความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เป็นไปอย่างช้า เป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์ร้อนจัด  ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงจำเป็นจะต้องชะล้างสนิมที่จับเกาะเสื้อสูบให้หมดไป โดยวิธีการฉีดน้ำกับลมย้อนกลับทิศทางการไหลหมุนเวียนของน้ำหล่อเย็นตามปกติ ขั้นตอนการล้างช่องทางน้ำหล่อเย็นของเสื้อสูบด้วยวิธีฉีดน้ำย้อนกลับทำได้ดังนี้
 - ก่อนทำการล้างต้องถอดทำความสะอาดเทอร์โมสตัตและปั๊มน้ำออกจากเครื่องยนต์เสียก่อนเนื่องจากแรงดันของน้ำจะทำให้ซีลของปั๊มน้ำเสียหาย
  -ติดตั้งหังฉีดน้ำเข้าทางด้านบนของท่อน้ำเข้า
  -ถอดยางท่อน้ำด้านล่างออก
  -ฉีดน้ำและลมเข้าไปในช่องทางน้ำหล่อเย็นของเสื้อสูบ และปฏิบัติเช่นเดียวกันจนน้ำที่ระบายออกจากเสื้อสูบไม่มีตะกรันและสนิม
4.การตรวจสอบฝาหม้อน้ำและหม้อน้ำรถยนต์ การตรวจสอบสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
  -ตรวจสอบฝาหม้อน้ำด้วยเครื่องมือทดสอบฝาหม้อน้ำ โดยติดตั้งเครื่องมือทดสอบและปั๊มเครื่องมือทดสอบจนลิ้นลดแรงดันริ่มเปิดที่กำลังดัน 0.60 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ( 8.5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว )จากนั้นให้ตรวจดูกำลังดัน จะต้องไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.60 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ถ้าไม่ได้ตามที่กำหนดให้เปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่
  -ตรวจการรั่วของระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยใช้เครื่องมือทดสอบเช่นเดียวกับการทดสอบฝาหม้อน้ำติดตั้งเครื่องมือทดสอบเข้ากับหม้อน้ำและปั๊มเครื่องมือทดสอบให้ได้ 0.9 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ( 12.8 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว )
5.การตรวจสอบคอหม้อน้ำรถยนต์ เป็นการตรวจสอบสภาพบ่ารองหน้าสัมผัสของฝาหม้อน้ำ จะต้องมีลักษณะผิวหน้าที่เรียบ ไม่ขรุขระ สะอาดไม่มีสิ่งสกปรก ถ้าหน้าสัมผัสไม่เรียบ ควรปรับซ่อมด้วยเครื่องมือคว้านหน้าสัมผัสให้เรียบ แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ให้เปลี่ยนคอหม้อน้ำใหม่
   นอกจากตรวจสอบบ่ารองหน้าสัมผัสแล้ว จะต้องตรวจขอบคอหม้อน้ำสำหรับล็อคฝาหม้อน้ำให้แน่น จะต้องมีลักษณะโค้งไม่บิดเบี้ยว ส่วนท่อน้ำล้นที่เป็นท่อโลหะจะต้องไม่มีรอยแหว่ง เพราะจะมีผลทำให้น้ำหล่อเย็นรั่วไหลออกจากระบบได้
6.การตรวจยางท่อน้ำของระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ยางท่อน้ำที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีคือจะต้องบีบรัดกระชับแน่น ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไปเมื่อทดสอบบีบท่อน้ำดูและจะต้องไม่บวมพองในขณะที่ได้รับแรงดันสูงยางท่อน้ำที่นำมาใช้จะต้องเป็นท่อยางที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะที่โค้งงอพอดีกับเครื่องยนต์แต่ละรุ่น
   ยางท่อน้ำที่ถูกความร้อนเป็นระยะเวลายาวนานจะเสื่อมสภาพ สังเกตุได้จากท่อยางด้านนอกจะปริแตกไม่ได้รูป ยางจะฉีกขาดจนเห็นผ้าใบด้านในจะมีเศษของท่อยางและคราบสนิม สำหรับยางท่อน้ำของหม้อน้ำด้านล่างเมื่อเสื่อมสภาพ อากาศภายนอกจะรั่วเข้าระบบ ซึ่งจะมีผลให้การไหลเวียนของน้ำเป็นไปไม่สะดวก โดยตามปกติแล้วการทำงานของระบบระบายความร้อนด้วยน้ำจะต้องอยุ่ภายใต้สูญญากาศ ส่วนการรั่วของแก๊สไอเสียจากการเผาไหม้เข้าไปในระบบจะมีผลทำให้เกิดสนิมเหล็กขึ้นภายในหม้อน้ำ และทำให้หม้อน้ำอุดตัน
7.การเปลี่ยนยางท่อน้ำรถยนต์ ยางท่อน้ำที่จะนำมาเปลี่ยนใหม่จะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่พอดีกับขนาดท่อโลหะ ท่อทางเดินของน้ำที่หม้อน้ำกับเครื่องยนต์ไม่ควรใช้ท่อยางที่มีขนาดที่แข็งเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกร้าว หลวมและเกิดการรั่ว ควรใช้ยางท่อน้ำแบบที่มีความยืดหยุ่นได้
      เมื่อเปลี่ยนยางท่อน้ำใหม่ทุกครั้ง จะต้องทาน้ำยาปะเก็นที่ท่อโลหะ ไม่ควรทาน้ำยาทาปะเก็นภายในท่อยางที่จะทำการเปลี่ยนใหม่ เพราะจะทำให้น้ำยาทาปะเก็นถูกดูดเข้าไปในระบบ ซึ่งจะทำให้ไปอุดตันขึ้นที่ท่อน้ำของหม้อน้ำรถยนต์ได้
8.การตรวจสายพานรถยนต์  สายพานรถยนต์จะต้องทำการตรวจสอบสภาพการใช้งานเป็นประจำ โดยจะต้องตรวจสายพานด้วยการบิดสายพานเพื่อตรวจดูสภาพการแตกร้าว ผิวหน้าสัมผัสแข็งเป็นมัน เปื้อนน้ำมันหล่อลื่น ผ้าใบฉีกขาด ซึ่งเมื่อสายพานเกิดการชำรุดในขณะทำงาน จะมีผลทำให้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเป็นไปไม่สมบูรณ์ เครื่องยนต์เกิดการร้อนจัด
9.การเปลี่ยนสายพานรถยนต์ ภายหลังการตรวจสภาพสายพานแล้วเมื่อจะต้องทำการเปลี่ยนสายพานใหม่ จะต้องคลายโบลด์ปรับความตึงสายพานที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น อัลเทอร์เนเตอร์ ปั๊มน้ำมัน พวงมาลัยเพาเวอร์ และคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศที่ใช้สายพานในการขับเคลื่อนเมื่อถอดสายพานออกจะต้องทำความสะอาดคราบน้ำมันหล่อลื่นและจารบีที่บริเวณผิวหน้าสัมผัสที่พูลเลย์สายพานออกให้หมดเพื่อป้องกันสายพานลื่น
     สายพานที่นำมาเปลี่ยนใหม่จะต้องได้ขนาดความกว้างและความยาวตามขนาดเดิมของสายพานที่เปลี่ยนออกและจะต้องตรวจดูว่าร่องของสายพานขับกับพูลเลย์สวมกันพอดีหรือไม่
10.การปรับความตึงของสายพาน การปรับความตึงของสายพานมีวิธีการอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ
  10.1 การปรับความตึงด้วยแรงกด  การปรับจะต้องกดสายพานให้หย่อนตัวด้วยแรงกดประมาณ 10 กิโลกรัม ( 22ปอนด์ ) และใช้ไม้บรรทัดเหล็กวัดระยะความหย่อนของสายพาน  ระยะความหย่อนจะต้องอยู่ในระยะห่างจากจุดเดิมประมาณ 6-7 มิลลิเมตร สำหรับสายพานใหม่  ส่วนสายพานเก่าระยะห่างประมาณ 8-10 มิลลิเมตร
  10.2 การปรับความตึงของสายพานด้วยเครื่องมือวัดแรงดึง  การใช้เครื่องมือวัดจะต้องดึงสายพาน  สำหรับสายพานใหม่จะต้องใช้แรงดึงประมาณ 75-85 กิโลกรัมส่วนสายพานเก่าจะต้องใช้แรงดึงสายพานประมาณ  50-70  กิโลกรัม
11.การตรวจสอบเทอร์โมสตัต เทอร์โมสตัตที่ใช้ในระบบระบายความร้อนด้วยน้ำทุกแบบจะต้องทำงานควบคุมอุณหภูมิความร้อนของน้ำหล่อเย็นให้อุณหภูมิได้ตามที่กำหนดของแต่ละแบบ โดยทั่วไปจะมีตัวเลขบอกอุณหภูมิที่ติดไว้เพื่อแสดงอุณหภูมิของการเปิดลิ้น ถ้าเทอร์โมสตัตชำรุดหรือไม่ทำงานจะมีผลเสียให้น้ำหล่อเย็นมีความร้อนจัดมากเกินไป แต่ถ้าลิ้นของเทอร์โมสตัตเปิดเร็วเกินไป การควบคุมน้ำหล่อเย็นจะไม่อุ่นความร้อนของเครื่องยนต์ อุณหภูมิการเปิดของลิ้นประมาณ 86 ถึง 90 องศาเซลเซียส วิธีการตรวจสอบให้ทำการตรวจสอบเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
  -จุ่มเทอร์โมสตัตลงในน้ำและให้ความร้อนจนน้ำร้อนเต็มที่
  -ตรวจสอบอุณหภูมิการเปิดของลิ้นด้วยเทอร์โมมิเตอร์
  -ลิ้นของเทอร์โมสตัตจะเริ่มเปิดตามอุณหภูมิที่ติดไว้ที่เทอร์โมสตัต
  -ถ้าลิ้นเปิดไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ให้ทำการเปลี่ยนเทอร์โมสตัตใหม่
12.การถอดปั๊มน้ำเครื่องยนต์ การถอดปั๊มน้ำสามารถถอดตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
  -ถอดปั๊มน้ำออกโดยการคลายน็อตยึดปั๊มน้ำออก
  -ถอดโบลด์ยึดชุดปั๊มน้ำและปะเก็นออก
  -ถอดแยกปั๊มน้ำ  ปะเก็น  ออกจากเรือนปั๊มด้วยการคลายน็อตยึด
 13.การตรวจสอบปั๊ม การตรวจสอบปั๊มน้ำสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  -ตรวจสอบหน้าแปลนปั๊มน้ำ จะต้องไม่ชำรุดแตกร้าวซึ่งจะทำให้น้ำหล่อเย็นรั่วได้
  -ตรวจสอบการหมุนของลูกปืนปั๊มน้ำ จะต้องหมุนไม่ติดขัดและเสียงดัง
14.การเปลี่ยนลูกปืนและซีลปั๊มน้ำ การเปลี่ยนลูกปืนและซีลปั๊มน้ำสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  -ถอดหน้าแปลนยึดใบพัดลมออกด้วยไฮดรอลิกที่กดที่เพลาของลูกปืนปั๊มน้ำ
  -ถอดลูกปืนปั๊มน้ำและอิมเพลเลอร์จากเสื้อปั๊มโดยใช้ไฮดรอลิกกดออก
  -ถอดอิมเพลเลอร์ออกจากเพลาปั๊มน้ำ
  -ถอดซีลปั๊มน้ำออก
15.การประกอบลูกปืนและซีลปั๊มน้ำ  การประกอบลูกปืนและซีลปั๊มน้ำปฏิบัติดังนี้
  -ประกอบลูกปืนปั๊มน้ำเข้ากับเสื้อปั๊มโดยใช้ไฮดรอลิกกดเข้า และตรวจระยะความห่างของลูกปืนให้ได้ตามค่าที่กำหนด
  -การประกอบหน้าแปลนยึดใบพัดลมเข้ากับเพลาปั๊มด้วยแรงกดของไฮดรอลิก (ใช้เกจวัดระยะตำแหน่งของหน้าแปลนเพื่อให้ระยะห่างของหน้าแปลนถูกต้อง
  -ประกอบอิมเพลเลอร์เข้ากับเพลาปั๊ม (ใช้ฟิลเลอร์เกจตรวจสอบระยะห่างระหว่างอิมเพอเลอร์กับเสื้อปั๊ม)
16.การเปลี่ยนปลั๊กตาน้ำ ปลั๊กตาน้ำที่ติดตั้งที่เสื้อสูบมีไว้เพื่อทำความสะอาดช่องทางน้ำหล่อเย็นภายในเสื้อสูบ ปลั๊กตาน้ำจะต้องถูกเปลี่ยนออกทุกครั้งเมื่อทำการซ่อมเครื่องยนต์ ถ้าไม่ทำการเปลี่ยนใหม่ ปลั๊กตาน้ำจะเกิดการรั่วได้เนื่องจากสนิม  ปลั๊กตาน้ำที่ใช้ในการอุดช่องทางของน้ำหล่อเย็นมี 2 แบบคือ
   -ปลั๊กตาน้ำแบบถ้วย (cup type plug )
   -ปลั๊กตาน้ำแบบขยายตัว (expansion type plug )
การเปลี่ยนปลั๊กตาน้ำจะทำการถอดออกได้โดยการเจาะและดึงออก สำหรับการประกอบจะต้องเลือกเครื่องมือตอกปลั๊กให้ถูกต้องกับปลั๊กแต่ละแบบ

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนการแก้ปัญหาช่างยนต์

   เมื่อรถยนต์มีปัญหาขัดข้องขึ้นช่างยนต์ที่ดีจะต้องค้นหาสาเหตุของปัญหา สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ จะต้องสอบถามถึงปัญหา สภาพการณ์และช่วงเวลาที่เกิดปัญหาจากเจ้าของรถผู้ขับขี่ เพื่อที่จะวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและระบุปัญหาได้อย่างแม่นยำ
    หัวข้อสำคัญในการวินิจฉัยปัญหา เช่น ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน สภาพของการขับขี่เป็นอย่างไรและประวัติการซ่อมครั้งที่ผ่านมาว่ารถมีปัญหาอะไร เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นข้อมูลในการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
   1.การวางแผนการซ่อม
     หลังจากค้นหาปัญหาได้รายละเอียดจากผู้ขับแล้วว่าเกิดจากอะไรต่อจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนในการวินิจฉัยและวางแผนการซ่อมว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างไร และตรวจสอบได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งสำคัญในการวางแผนการซ่อมคือ
  -ค้นหาสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหา ประการแรก ช่างซ่อมจะต้องประเมิณสาเหตุของข้อขัดข้องอย่างระมัดระวังและพยายามหาสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง การซ่อมโดยไม่มีความแน่ใจที่แน่ชัดอาจนำไปสู่ความสันสนในที่สุดดังนั้นจึงควรสอบถามผู้ขับขี่ถึงรายละเอียดของปัญหาและค้นหาสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหานั้น
  -มีความเข้าใจในระบบ ช่างซ่อมจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆของรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
  -กำหนดสาเหตุที่จะเป็นไปได้ ตรวจสอบดูว่ารถยนต์คันนั้นได้รับการแก้ไขปัญหานั้นมาก่อนหรือไม่และดูสภาพการทำงานของรถยนต์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจเป็นไปได้เพื่อแยกหาสาเหตุ
  -หลีกเลี่ยงการทำงานโดยไม่จำเป็น การปฏิบัติตามขั้นตอนในการแก้ปัญหาข้อขัดข้องเป็นการช่วยประหยัดเวลา ถ้ามีความเข้าใจและรู้ถึงอาการที่เกิดขึ้นในระบบต่างๆจะทำให้จำนวนหัวข้อที่จะต้องตรวจสอบแก้ปัญหาข้อขัดข้องลดลง
  2.การตรวจซ่อม การตรวจสอบและซ่อมรถยนต์มีวิธีการดังนี้
  -การตรวจสอบบนรถยนต์ เป็นวิธีการค้นหาสาเหตุข้อขัดข้องวิธีหนึ่งเพื่อเป้นการตัดสินสภาพเครื่องยนต์ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบรองรับ และระบบเบรกซึ่งในทางปฏิบัตินั้นมันเป็นการยากที่จะใช้ความรู้สึกสังเกตุถึงความผิดปกติของระบบนั้นๆได้ จนกว่าช่างซ่อมจะต้องตรวจสอบบนรถยนต์หรือขับทดสอบเป็นระยะทางที่มากพอ เพื่อนำผลลัพธ์ม่ตรวจสอบ
  -การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นหลักเบื้องต้นของการค้นหาสาเหตุข้อขัดข้อง เพื่อศึกษาจุดที่ควรตรวจสอบและทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของชิ้นส่วนในแต่ละระบบเหล่านั้นของรถยนต์ เช่น
  *เครื่องยนต์ สิ่งที่ควรตรวจสอบเบื้องต้นคือ น้ำมันเครื่อง น้ำหล่อเย็น แบตเตอรี่ สายพานขับ หัวเทียน จานจ่าย เป็นต้น
  *ระบบบังคับเลี้ยว การตรวจสอบเบื้องต้นคือการสึกหรอของลูกหมาก การสึกหรอของคันชัก-คันส่ง
  *ระบบรองรับ การตรวจสอบเบื้องต้นคือ พวงมาลัยดึงและพวงมาลัยหนักเป็นต้น
  -การจำลองปัญหา บางครั้งเป็นการยากที่สุดที่จะค้นหาสาเหตุปัญหาข้อขัดข้องนั้นได้เนื่องจากไม่มีอาการของปัญหาให้เห็น ซึ่งช่างจะต้องตรวจหาว่าปัญหาที่ผู้ขับขี่ได้ประสบปัญหานั้นมาโดยตลอดเช่น เมื่อเครื่องเย็นหรือขณะรถวิ่ง ปัญหาเหล่านั้นค่อนข้างจะตรวจพบได้ยาก ดังนั้นจึงควรจำลองปัญหา วิธีการนี้เป็นวิธีการตรวจสอบที่ได้ผลโดยการสร้างสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในขณะที่รถยังจอดอยู่กับที่ ปัญหาที่ทำการจำลองส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์ เช่น ขั้วต่อสายไฟหลวมเมื่อรถวิ่ง หรือปัญหาที่เกิดจากความร้อน การรั่วของน้ำที่เกิดกับกล่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ การจำลองปัญหาที่เกิดกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์จึงควรใช้ตารางแสดงปัญหาของแต่ละระบบเป็นการช่วยขจัดสาเหตุอาการของปัญหานั้นให้แคบเข้า
  วิธีการจำลองปัญหา
เช่นวิธีใช้ความร้อน : เมื่อคาดว่าปัญหาอาจเกิดจากความร้อน ทำได้โดย
  -ใช้ไดร์เป่าผมหรือเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายกันเป่าชิ้นส่วนที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ร้อนขึ้น แล้วตรวจดูว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่
      ข้อควรระวัง
  *อย่าให้ร้อนเกิน 60 องศา
  *อย่าเป่าลมร้อนไปที่ชิ้นส่วนในกล่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
วิธีฉีดน้ำ: เมื่อคาดว่าปัญหาอาจเกิดวันที่ฝนตกหรือในสภาวะความชื้นสูง ทำได้โดย
 ฉีดน้ำให้ทั่วรถ แล้วตรวจสอบดูว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่
     ข้อควรระวัง
   *อย่าฉีดน้ำเข้าห้องเครื่องยนต์โดยตรง แต่ให้ใช้วิธีลดอุณหภูมิและสร้างความชื้นทางอ้อมด้วยการพ่นละอองน้ำลงที่ผิวด้านหน้าหม้อน้ำแทน
   *อย่าฉีดน้ำไปที่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆโดยตรง
 หมายเหตุ  ถ้ารถนั้นมีแนวโน้มว่าน้ำจะรั่ว น้ำที่รั่วซึมอาจทำให้กล่องคอมพิวเตอร์เสียหายดังนั้นการทดสอบรถที่มีปัญหาน้ำรั่วจึงต้องระวังเป็นพิเศษ
  ปัญหาอื่นๆ: เมื่อปัญหาน่าจะเกิดจากการใช้กระแสไฟเกิน ทำได้โดย
เปิดไฟทั้งหมด รวมถึงพัดลมระบายความร้อน ไฟหน้า ไล่ฝ้ากระจกหลัง แล้วตรวจดูว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่
    สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างในการจำลองปัญหาเพื่อตรวจสอบปัญหาที่พบได้บ่อยเมื่อรถมีปัญหา
 3. ตารางวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้อง ตารางการวิเคราะห์ปัญหาข้อขัดข้องเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุของปัญหานั้น จะช่วยให้การแก้ไขข้อขัดข้องแคบเข้าและรวดเร้วสำหรับช่างซ่อม

WWW.PCNFORKLIFT.COM

การแก้ปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

  เครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันได้จำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบใช้คาบูเรเตอร์กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบ EFI
 สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องของเครื่องยนต์อาจจำแนกได้หลายระบบด้วยกัน ซึ่งอาจบพสาเหตุเหล่านั้นได้ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจุดระเบิด ระบบหล่อลื่น และระบบระบายความร้อนเป็นต้น
    ดังนั้นปัญหาของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจึงมีความแตกต่างกันมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ช่างซ่อมที่ดีจะต้องศึกษาและค้นหาสาเหตุให้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกันจำเป็นต้องถูกตรวจสอบด้วยเช่นกันจึงเป็นสาเหตุให้เกิดความล่าช้าด้วยเหตุนี้จึงควรตรวจสอบอย่างเป็นระบบ
   ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบใช้คาร์บูเรเตอร์  ส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหากลไกที่เกิดขึ้นภายในระบบแต่ก็มีปัญหาบางอย่างที่อาจเกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากเชื้อเพลิงมีดังนี้
  1.การเกิดเวเปอร์ล็อค เกิดจากการระเหยกลายเป็นไอของน้ำมันเชื้อเพลิงเนื่องจากมีค่าออกเทนที่ต่ำและได้รับความร้อน ไอระเหยที่เกิดขึ้นภายในระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นระหว่างถังน้ำมันกับปั๊มเชื้อเพลิง ไอระเหยที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นฟองอากาศเนื่องจากสูญญากาศบางส่วนที่สร้างขึ้นโดยปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง จากสาเหตุนี้จึงทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไหลไม่สม่ำเสมอ และเครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบ
    วิธีแก้ไขปัญหาการเกิดเวเปอร์ล็อคสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  -ต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ติดตั้งอยู่ห่างจากท่อไอเสียหรือหม้อพักไอเสีย
  -ต่อท่อที่ปั๊มเชื้อเพลิงเพื่อป้องกันเชื้อเพลิงที่ตกค้างที่ปั๊มเกิดการระเหยเป็นไอ และเป็นการนำเอาเชื้อเพลิงจากถังที่อุณหภูมิต่ำให้ไหลหมุนเวียนภายในระบบจ่ายเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดอุณหภูมิได้
 2.การเกิดเกล็ดน้ำแข็ง  ในคาร์บูเรเตอร์เกิดขึ้นจากอุณหภูมิในอากาศต่ำ เนื่องมาจากอากาศที่ไหลผ่านเข้าคาร์บูเรเตอร์มีปริมาณความชื้นมาก ทำให้เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำแข็ง หยดน้ำนี้จะเกาะอยู่บริเวณลิ้นเร่งและหัวฉีดหลัก ช่องทางผ่านของอากาศจะแคบลงปริมาณของอากาศที่ไหลผ่านจะมีปริมาณน้อยตามทฤษฎี(14.7ต่อ 1)จึงเป็นสาเหตุให้กำลังงานเครื่องยนต์ที่ผลิตขึ้นต่ำลงหรือดับ
    การแก้ไขการเกิดเกล็ดน้ำแข็งสามารถกระทำได้โดยการนำเอาอากาศร้อนจากท่อไอเสียผ่านเข้าไปในคาร์บูเรเตอร์
  3.ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง  สาเหตุและการแก้ไขการไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขดังนี้
  -ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง           การแก้ไข    เติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็มถัง
  -รูระบายอากาศที่ถังน้ำมันอุดตัน   การแก้ไข  ทำความสะอาดรูระบายอากาสที่ถังน้ำมัน
  -กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน    การแก้ไข    เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่
  -ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตันหรือหักงอ   การแก้ไข  ทำความสะอาด ดัดท่อให้ตรง หรือเปลี่ยนใหม่
  -เกิดเวเปอร์ล็อค          การแก้ไข    เปลี่ยนน้ำมันเชื้อเพลิงขนิดใหม่หรือทำหน้าที่ป้องกันความร้อนที่ท่อ
                                                         ส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
  -ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ทำงาน   การแก้ไข   ซ่อมแซมหรือเปลี่ยน
  -รูเข็มลูกลอยอุดตัน     การแก้ไข   คลายออกและทำควาสะอาด
  -มีอาการรั่วเข้าท่อน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงกับถังน้ำมัน     การแก้ไข  ซ่อมแซมรอยรั่ว
 4.จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ  สาเหตุและการแก้ไขการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอได้แก่
  -รูระบายอากาศที่ถังน้ำมันอุดตันบางส่วน   การแก้ไข   ทำความสะอาดรูระบายอากาศที่ถังน้ำมัน
  -กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตันบางส่วน          การแก้ไข   เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
  -ท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตันหรืองอ           การแก้ไข   ทำความสะอาดหรือดัดท่อน้ำมันให้ตรง
  -สปริงปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงอ่อนล้า                การแก้ไข    เปลี่ยนสปริงปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่
  -แผ่นไดอะแฟรมปั๊มฉีกขาด                        การแก้ไข    เปลี่ยนแผ่นไดอะแฟรมใหม่
  -ลิ้นกันกลับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด           การแก้ไข    ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
  -ยึดปั๊มน้ำมันไม่แน่น                                   การแก้ไข    ขันโบลด์ยึดปั๊มน้ำมัน
 5.ปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมากหรือมีแรงดันมากเกินไป  สาเหตุและการแก้ไขปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมากหรือมีแรงดันมากเกินไปได้แก่
  -แผ่นไดอะแฟรมปั๊มแข็งเกินไป                  การแก้ไข   ปรับหรือเปลี่ยนไดอะแฟรมใหม่
  -สปริงปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแข็งเกินไป          การแก้ไข   เปลี่ยนสปริงให้มีความแข็งที่เหมาะสม
  -กระเดื่องปั๊มค้าง ( ไม่มีระยะฟรี )               การแก้ไข   ปรับระยะฟรีกระเดื่องปั๊ม
  6.น้ำมันท่วมในคาร์บูเรเตอร์ สาเหตุและการแก้ไขน้ำมันท่วมในคาร์บูเรเตอร์
   -ระดับลูกลอยสูงเกินไป                          การแก้ไข   ปรับระดับลูกลอยใหม่
   -เข็มลูกลอยปิดไม่สนิท                          การแก้ไข   เปลี่ยนเข็มลูกลอยใหม่
   -ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีแรงดันสูงเกินไป    การแก้ไข   เปลี่ยนปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีแรงดันต่ำลง
   -ลูกลอยรั่ว                                              การแก้ไข   เปลี่ยนลูกลอยใหม่
 7.เครื่องยนต์สะดุดในขณะเดินเบา สาเหตุและการแก้ไขเครื่องสะดุดในขณะเดินเบา
   -ระดับลูกลอยต่ำเกินไป                          การแก้ไข   ปรับระดับลูกลอย
   -ปั๊มเร่งน้ำมันในคาร์บูเรเตอร์บกพร่อง    การแก้ไข   ตรวจสอบลูกสูบปั๊มเร่ง
   -ท่อส่งน้ำมันอุดตัน                                การแก้ไข   ทำความสะอาด
   -ลิ้นโช๊กปิดเมื่อเครื่องยนต์ร้อน              การแก้ไข   ตรวจสอบระบบโช๊ก
   -ไส้กรองอากาศอุดตัน                           การแก้ไข   เปลี่ยนไส้กรองใหม่
   -วงจรเดินเบาอุดตัน                               การแก้ไข   ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
 8.เครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบหรือดับ สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์เดินเบาไม่เรียบหรือดับ
   -ปรับรอบเดินเบาไม่ถูกต้อง                  การแก้ไข   ปรับรอบเดินเบาใหม่
   -นมหนูเดินเบาอุดตัน                           การแก้ไข    ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
   -ส่วนผสมไอดีไม่ถูกต้อง                      การแก้ไข    ปรับส่วนผสมไอดีให้ถูกต้อง
   -นมหนูไฟฟ้าไม่ทำงาน                       การแก้ไข    ตรวจสอบการทำงานของนมหนูไฟฟ้า
   -ลิ้นโช๊กเปิด (ขณะเครื่องเย็น)             การแก้ไข    ตรวจสอบการทำงานของลิ้นโช๊ก
 9.ส่วนผสมบางในขณะความเร็วคงที่  สาเหตุและการแก้ไขส่วนผสมบางในขณะความเร็วคงที่
   -ระดับลูกลอยต่ำเกินไป                      การแก้ไข   ปรับระดับลูกลอย
   -แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยเกินไป    การแก้ไข   ตรวจสอบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
   -ปั๊มเร่งไม่ทำงาน                               การแก้ไข   เปลี่ยนลูกสูบปั๊มเร่ง
   -ท่อสูญญากาศที่ต่อไปจานจ่ายอุดตัน  การแก้ไข  ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
  -นมหนูหลักอุดตัน                               การแก้ไข   ทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
 10.เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก(เครื่องเย็น) สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์ติดยาก
  -โช๊กเปิด                                              การแก้ไข   ตรวจสอบระบบโช๊ก
  -น้ำมันท่วมจากการเหยียบคันเร่งมากขณะสตาร์ท   การแก้ไข   เหยียบคันเร่งให้อยู่ในตำแหน่งเปิดเต็มที่
                                                                                                     และสตาร์ทเครื่องยนต์
  -ไส้กรองอากาศอุดตัน                       การแก้ไข   เปลี่ยนไส้กรองอากาศหรือทำความสะอาด
  -ระดับน้ำมันไม่ถูกต้อง                       การแก้ไข   ปรับระดับน้ำมันให้ถูกต้อง
  -ไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงในคาร์บูเรเตอร์  การแก้ไข   ตรวจสอบระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
  -น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำ               การแก้ไข   เปลี่ยนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ
 11.เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก(เครื่องร้อน) สาเหตุและการแก้ไขเครื่องยนต์สตาร์ทติดยากเนื่องจากเครื่องร้อน
   -เกิดเวเปอร์ล็อค                              การแก้ไข   เปลี่ยนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพการระเหยตัวต่ำ
   -น้ำมันท่วมเนื่องจากเหยียบคันเร่ง  การแก้ไข   เหยียบคันเร่งให้ลิ้นเร่งเปิดเต็มที่และสตาร์ทเครื่องยนต์
                                                                             จนติด
  -ไส้กรองอากาศอุดตัน                    การแก้ไข   ทำความสะอาดไส้กรองหรือเปลี่ยนใหม่
  -เครื่องยนต์ร้อนจัด                         การแก้ไข   ตรวจสอบระบบหล่อเย็น
  -ลิ้นควบคุมความร้อนจากไสยบกพร่อง  การแก้ไข  ตรวจสอบการทำงานของลิ้นควบคุมความร้อนให้
                                                                                   ทำงานเป็นอิสระ
 12.ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีเสียงดัง(ปั๊มกลไก) สาเหตุและการแก้ไขปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเสียงดัง(ปั๊มกลไก)ทำได้โดย
  -โบลด์ยึดปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหลุดหรือคลายตัว     การแก้ไข   ขันโบลด์ยึดปั๊มให้แน่น
  -กระเดื่องปั๊มชำรุด                                                การแก้ไข   เปลี่ยนใหม่
  -สปริงกระเดื่องปั๊มหัก                                           การแก้ไข   เปลี่ยนใหม่
 13.ถังน้ำมันเชื้อเพลิงและท่อส่งน้ำมันเกิดการยุบตัว สาเหตุและการแก้ไข
  -รูระบายอากาศที่ถังน้ำมันอุดตัน                    การแก้ไข   ทำความสะอาด
  -ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถังอุดตัน                การแก้ไข   ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
  -ท่อส่งน้ำมันถูกบีบ                                         การแก้ไข    เปลี่ยนใหม่
 14.สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง สาเหตุและการแก้ไขการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
  -ใช้ความเร็วสูงเกินไป                          การแก้ไข   ระมัดระวังในการใช้ความเร็วสูงนานๆ
  -เร่งความเร็วทันทีทันใด                       การแก้ไข   พยายามอย่าเร่งเครื่องยนต์บ่อยครั้ง
  -บรรทุกภาระมากเกินไป                       การแก้ไข   หลีกเลี่ยงการบรรทุกของหนัก
  -ลมยางอ่อนเกินไป                              การแก้ไข   สูยลมยางให้ได้ตามข้อกำหนด
  -เบรกค้าง                                             การแก้ไข   ปรับเบรก
  -น้ำมันเชื้อเพลิงรั่ว                               การแก้ไข   ตรวจซ่อมรอยรั่ว
  -นมหนูหลักโตเกินไป                           การแก้ไข   เปลี่ยนให้ได้ตามข้อกำหนด
  -โช้กค้าง (ปิดในขณะเครื่องยนต์ร้อน)  การแก้ไข   ตรวจสอบระบบโช้ก
  -ระบบไอเสียอุดตัน                              การแก้ไข   เปลี่ยนหม้อเก็บเสียงใหม่
  -ระดับลูกลอยสูงเกินไป                       การแก้ไข   ปรับระดับลูกลอยใหม่
  -หัวเทียนบกพร่อง                                การแก้ไข   ตรวจสอบหัวเทียน
  -กำลังอัดต่ำ                                        การแก้ไข   ตรวจสอบกำลังอัด
  -คลัตช์ลื่น                                           การแก้ไข    ตรวจสอบการทำงานของคลัตช์
  -จังหวะการจุดระเบิดผิด                      การแก้ไข    ปรับตั้งจังหวะจุดระเบิดให้ถูกต้อง



                                                                         WWW.PCNFORKLIFT.COM