วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

forklift truck

รถ Forklift ถือเป็นเครื่องจักรที่สำคัญ ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป เนื่องจาก ปัจจุบันสินค้าในโกดัง มักมีการจัดเก็บและขนย้ายเป็นแบบ Pallet เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ (Storage) และเพิ่มผล ผลิต (Productivity or Throughput) ซึ่ง Pallet ที่ว่านี้มีขนาด รูปร่างและน้ำหนัก ที่จำเป็นจะต้องใช้รถ Forklift  ขนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ทั้งในทางราบและแนวดิ่งคือสูงจากพื้นขึ้นไป  ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้ รถ Forklift อย่างถูกวิธี ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          ประเภทและชนิดของ.. Forklift
Forklift แบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ 
          1.  ENGINE FORKLIFT คือ
Forklift  ที่ใช้เครื่องยนต์ เป็นต้น กำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อน Forklift ประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ
                    1.1)  DIESEL ENGINE  เป็น
Forklift ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในการขับเคลื่อน
                    1.2)  GASOLINE ENGINE  เป็น
Forklift ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊สโซลีนในการขับเคลื่อน
                    1.3)  L.P.G. ENGINE เป็น
Forklift ที่ใช้เครื่องยนต์แก๊ส L.P.G. ในการขับเคลื่อน
นอกจากนั้น Forklift ที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง ยังสามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้เป็น  2 ประเภทคือ
          -  ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)
          -  ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE) 

           2.   BATTERY FORKLIFT คือ
Forklift ที่ไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนโดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ Forkliftนี้ ไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ
          -  แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
          -  แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ)
อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆของ Forklift
         1.  เสาForklift (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนให้งาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูงประมาณ 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือ ใช้เสา 3 ท่อน Full Free Mast คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัด
          2.  กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตรฐาน
Forkliftจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุด ดังนี้
                    2.1)  กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มีสองกระบอก
                    2.2)  กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มีสองกระบอก
                    2.3)  กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก
          3.  งา
Forklift (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสัมภาระต่าง ๆ และงารถยกยังเป็นอุปกรณ์ที่ "อันตราย" ที่สุด งานของรถForklitf มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระที่จะยก
          4.  ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
                    4.1)  รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
                    4.2)  ขับเคลื่อน
                    4.3)  เบรค
ล้อของ
Forkliftไฟฟ้าแบบยืนขับ จะมีล้ออยู่ 3 ชนิด ดังนี้
          -  ล้อรับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
          -  ล้อขับเคลื่อน
          -  ล้อประคอง
          5.  ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว
ในการทำงานระหว่างวันจะต้องมีการสังเกตุการทำงานของForklift และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่เช่น
          1.)  การทำงานของเบรค เช่น เมื่อใช้เบรคจะมีเสียงดัง หรือ เบรกไม่อยู่ ต้องรีบทำการตั้งเบรคใหม่
          2.)  การทำงานของเครื่องยนต์ เช่น เร่งเครื่องแล้วสะดุด หรือ มีเสียงผิดปกติ ต้องทำการแก้ไข
          3.)  สังเกตุเกย์วัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข
          4.)  สังเกตุการทำงานของระบบไฮดรอลิค เช่น เวลายกสัมภาระจะต้องเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น หรือ เวลาเลี้ยวใช้แรงมากขึ้น ต้องตรวจสอบให้ระบบดังกล่าวกลับมาอยู่ในสภาพปกติ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ปลอดภัยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมสภาพ  เป็นการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งานของ
Forklift ไปได้ในตัวโดย
ก่อนติดเครื่อง           1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก
          2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
          3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง        
          4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
          5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ        
          6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
          7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
          8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
          9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
          10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
          11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
          12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
          13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
          14. ตรวจสภาพยาง
          15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้
          16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ
หลังติดเครื่อง
          1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์หรือไม่
          2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่
          3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
          4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่
ลักษณะการเลือกใช้งาน
การเลือกใช้งานรถ Forklift นอกจากจะเลือกให้ถูกประเภทและลักษณะของงานแล้ว ยังต้องคำนึงถึง รูป ร่าง ขนาด และน้ำหนักของหน่วยนับ (Unit Load) ต้องเลือกให้ขนาดวงเสี้ยวให้เหมาะสมกับช่องทางเดินระหว่างชั้น วางสินค้า (Aisle Width และ Transfer Aisle Width) ความสูง (Lift Height) ลักษณะการวางสินค้าบน ชั้น จำนวนชั่วโมง และจำนวนที่จะใช้งาน ประตูทางเข้า-ออก และพื้น โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพจากการใช้ งาน ซึ่งก็คือ ผลผลิต (Productivity หรือ Throughput) เป็นสำคัญ
             รถ Forklift นั้นจะว่าไปก็ถือเป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่งที่มีต้นทุนสูง หากเราทำความเข้าใจแก้ไขซ่อมบำรุงไม่ถูกวิธี บางครั้งเจ้ารถยกมากความสามารถดังกล่าวก็ อาจเพิ่มปัญหาให้กับผู้ประกอบการมากกว่าจะมาช่วยแบ่งเบาภาระ ปัจจุบันจึงมีบริษัทที่มีความชำนาญในด้านForklift โดยเฉพาะ อาสาทำหน้าที่ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับรถยกอัจฉริยะเหล่านี้แทนคุณ เริ่มตั้งแต่
              ·        จำหน่ายรถ Forklift ใหม่ทุกยี่ห้อพร้อมบริการส่งถึงที่
              ·        จำหน่ายรถ Forklift มือสองพร้อมบริการเช่ารถ Forklift รายวัน/เดือน/ปี
              ·        จำหน่ายเครื่องยนต์รถ Forklift ทุกชนิดทุกยี่ห้อ
              ·        จำหน่ายอะไหล่รถ Forklift ไฟฟ้า-นำมันทุกยี่ห้อ
         ·        บริการซ่อม-บำรุงรถ Forklift โดยช่างผู้ชำนาญ
               ·        บริการขนย้ายรถ Forklift และเครื่องจักรหนักทั่วประเทศ

WWW.PCNFORKLIFT.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น