วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ดีเซล

                           ปัญหาข้อขัดขอ้งของเครื่องยนต์ดีเซล
1.เครื่องยนต์สาร์ตไม่ติดหรือติดยาก มีขั้นตอนในการตรวจสอบดังนี้
  -หมุนเครื่องยนต์ ถ้ามีความฝืดมากเกินไปอาจมีสาเหตุมาจากชิ้นส่วยภานในมีการยึดติด เช่น แหวนลูกสูบ หรืลูกสูบภายในปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูง หรือมีสิ่งแปลกปลอมขัดตัวอยู่ระหว่างเฟืองไทมิ่ง
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างมอเตอร์กับแบตเตอรี่ V1,V2,V3 แล้วตรวจเช็คดู
    *แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วัดได้จะต้องไม่ต่ำกว่า 9.6 โวลด์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง START แสดงว่าแบตเตอรี่ปกติ
    *ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่แบตเตอรี่ปกติ ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว 30 และขั้ว 50 ของมอเตอร์สตาร์ตกับกราวด์ เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง START แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะต้องไม่ต่ำกว่า 8 โวลด์ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้ตรวจสายไฟ ขั้วต่อสายและฟิวส์
  -ตรวจสอบการทำงานของชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงดีเว,ด้วยไฟฟ้า โดยใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ส่งไปยัง ชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงเมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปตำแหน่ง ON หรือ START
  -เมื่อชุดควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงด้วยไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการทำงานของรีเลย์หัวเผาและหัวเผา  ถ้าเป็นปกติให้ตรวจสอบระบบเชื้อเพลิง การตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงจะกระทำได้ภายหลังจากตรวจระบบไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลแล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
    *ตรวจเครื่องหมายของจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงระหว่างปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงกับฝาครอบเฟืองไทมิ่ง
   *ใช้ประแจปากตายคลายน็อตท่อน้ำมันแรงดันสูงออกจากหัวฉีดทั้งหมด และหมุนเครื่องยนต์เพื่อตรวจการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงปกติให้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ทางด้านกลไกอีกครั้ง
   *ถ้าไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายออกมาที่หัวฉีด ให้ปั๊มน้ำมันจากถังมายังปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง นอกจากนี้ให้ตรวจการอุดตันของท่อส่งน้ำมันและกรองเชื้อเพลิง
   *สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลแบบจานจ่าย ให้ตรวจสอบการทำงานของลิ้นโซลีนอยด์ตัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปั๊ม
   *ถ้าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปกติ ให้คลายหัวฉีดออกเพื่อตรวจการอุดตัน แรงดัน และการฉีดเป็นฝอยของหัวฉีด ถ้าไม่ถูกต้องให้ทำความสะอาด และปรับแก้ไขด้วยเครื่องทดสอบหัวฉีด
  เมื่อตรวจสอบการจ่ายเชื้อเพลิงของปั๊มแรงดันสูงแล้วปรากฏว่าปกติ ให้ตรวจสอบการทำงานด้านกลไกของเครื่องยนต์ เช่นวัดกำลังอัด ตั้งระยะห่างของลิ้นและตรวจเครื่องหมายตำแหน่งการฉีดของเฟืองไทมิ่ง
2.เครื่องยนต์เดินเบาไม่คงที่  มีขั้นตอนในการตรวจดังนี้
  -ตรวจเครื่องหมายการฉีดเฟืองไทมิ่งที่ปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงกับฝาครอบเฟืองไทมิ่ง
  -ตรวจวัดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ดีเซล
  -ถ้าความเร็วรอบเครื่องยนต์เป็นปกติ ให้ตรวจสอบการอุดตันหรือรั่วของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองเชื้อเพลิง
  -ถ้าไม่มีการรั่วหรืออุดตันของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและกรองเชื้อเพลิง ให้ตรวจสอบระดับลูกลอยของหม้อดักน้ำ ถ้ามีน้ำมากให้คลายปลั๊กถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกและใช้ปั๊มมือผลักดันให้น้ำและสิ่งสกปรกระบายออกมาให้หมด
  -ตรวจเครื่องหมายของเฟืองไทมิ่ง ถ้าไม่ตรงให้ปรับแก้ไขใหม่
  -ถ้าเครื่องหมายของเฟืองไทมิ่งปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงถูกต้อง ให้ปรับตั้งระยะห่างของลิ้น
  -ตรวจการฉีดเป็นฝอยละออง การอุดตันของหัวฉีดทุกสูบ ด้วยเครื่องทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง
  -ถ้าเป็นปั๊มแบบจานจ่าย ให้ปรับตั้งระยะเคลื่อนตัวของพลันเยอร์ด้วยไดอัลเกจที่ปลั๊กของหัวจ่าย ( 0.54ถึง 0.66 มิลลิเมตร )
  -ตรวจการทำงานของปั๊มมือ สำหรับปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแบบเรียงแถว ลิ้นจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง หรือเปลี่ยนปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง
3.เครื่องยนต์มีควันขาว  ถ้าเครื่องยนต์มีควันดำหรือควันขาว มีสาเหตุมาจากความผิดปกติจากระบบเชื้อเพลิงหรือตัวของเครื่องยนต์เอง หรือการปรับแต่งเครื่องยนต์ไม่ถูกต้อง ซึ่งโดยมากมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้
  -ตรวจการอุดตันหรือเปลี่ยนทำความสะอาดกรองอากาศ
  -ตรวจจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง ถ้าตั้งจังหวะการฉีดที่ล่าช้าเกินไป จะทำให้เกิดควันขาวปริมาณมาก เป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง หรือปรับตั้งจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงเร็วเกินไป น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณมากจะถูกฮีดเข้าไปก่อนที่อากาศภายในกระบอกสูบจะมีอุณหภูมิที่สูงพอในการจุดระเบิด จึงเป็นสาเหตุให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเสียงเคาะและการทำงานที่ความเร็วรอบต่ำไม่ดี
  -ถ้าจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงถูกต้อง ให้วัดกำลังอัดในกระบอกสูบเพื่อตรวจการหักของแหวนลูกสูบ การสึกหรอของบ่าลิ้น และปะเก็นฝาสูบ
  -ตรวจระดับน้ำในหม้อดักน้ำของกรองเชื้อเพลิงถ้ามีน้ำมาก ให้ระบายน้ำทิ้ง (เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดควันขาว )
  -ตรวจการฉีดเป็นฝอยละอองของหัวฉีด เพื่อตรวจเข็มหัวฉีดว่าชำรุด อุดตัน และแรงดันรั่วด้วยเครื่องทดสอบแรงดันหัวฉีด
  -ตรวจเครื่องหมายไทมิ่งของปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงว่าถูกต้องหรือไม่
  -ถ้าตรวจตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้วปรากฏว่าเป็นปกติ ให้ตรวจซ่อมหรือเปลี่ยนปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูง
4.เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง  สาเหตุโดยทั่วไปซึ่งทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง มีสาเหตุมาจากระบบเชื้อเพลิงและตัวของเครื่องยนต์เอง แต่บางสาเหตุก็ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ เช่น คลัตช์ลื่น เบรกติด ขนาดของยางทีไม่ถูกต้อง  แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สาเหตุเกิดกับเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงช่างซ่อมควรตรวจสอบและพิจารณาตามขั้นตอนดังนี้
  -ตรวจคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
  -ตรวจการเปิดของลิ้นเร่งในท่อเวนจูรี่  เช่น ตรวจช่วงระยะแป้นเหยียบคันเร่ง สายคันเร่งเกิดการหักงอหรือรั่วที่ท่อเวนจูรี ( สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้กลไกควบคุมด้วยสุญญากาศ ) สำหรับปั๊มฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงแบบจานจ่าย ให้ตรวจแขนปรับตั้งการเรงเครื่องยนต์ว่าสัมผัสกับสกรูปรับแต่งรอบสูงสุดหรือไม่เมื่อเหยียบคันเร่งลงจนสุด
  -ตรวจจังหวะการฉีดน้ำมัน ถ้าตั้งให้ล่าช้ามาก ก็จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลังลดลง
  -ตรวจท่อทางเดินน้ำมันและกรองเชื้อเพลิง เช่น อุดตัน ท่อหักงอ หรือรั่วเป็นต้น
  -ตรวจระดับน้ำในหม้อดักน้ำ ถ้ามีมากเกินไป ให้ระบายน้ำทิ้ง หรือถ้ามีอากาศปะปนอยู่ในระบบเชื้อเพลิงให้ไล่อากาศออกจากระบบให้หมด
  -ตรวจการอุดตันของกรองอากาศ
  -ตรวจวัดกำลังอัดของเครื่องยนต์

WWW.PCNFORKLIFT.COM

2 ความคิดเห็น:

  1. รถโพคลิฟเครื่องดีเซลมีอาการสตาร์ติดๆดับๆเร่งไม่ขึ้นต้องทำยังไงคับ

    ตอบลบ
  2. รถโพคลิฟแก๊สสตาร์ไม่ติดต้องทำยังไงครับ

    ตอบลบ