วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

hall senser


แม่เหล็ก (magnet) เป็นสิ่งที่สามารถดูวัสดุบางชนิดได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์ เป็นต้น การที่แม่เหล็กดูดสารบางอย่างได้ เนื่องจากมีสนามแม่เหล็ก (magnetic field) ในบริเวณโดยรอบแม่เหล็ก เราสามารถตรวจสอบว่าบริเวณใดมีสนามแเม่เหล็กหรือไม่ โดยใช้เข็มทิศ แต่เราไม่สามารถทราบได้ว่ามีค่าเท่าใด นักวิทยาศาสตร์พยายามวัดสนามแม่เหล็กด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันเราสามารถวัดสนามแม่เหล็กได้สะดวกและรวดเร็วโดยใช้ตัวรับรู้ฮอลล์ (Linear Hall sensor) ซึ่งทำงานโดยอาศัยหลักการของปรากฏการณ์ฮอลล์ (Hall effect) ตัวรับรู้ฮอลล์เป็นวงจรรวมที่ทำให้เกิดความต่างศักย์ซึ่งเป็นสัดส่วนตรงกับความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ผ่านในแนวดิ่ง เมื่อนำตัวรับรู้ฮอลล์ไปต่อกับโวลต์มิเตอร์ แล้วนำไปวางใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กก็จะทำให้ทราบค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กได้ 

ตัวรับรู้ฮอลล์ (Linear Hall sensor)


รูปที่ 1 ตัวรับรู้ฮอลล์
ตัวรับรู้ฮอลล์เป็นวงจรรวม มีขนาดและลักษณะดังรูปที่ 1 และมีสมบัติดังนี้
input voltage 4.5-6V
offset voltage 2.5 V (ประมาณ)
sensitivity 13 V/T
เมื่อต่อแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงหรือเซลล์ไฟฟ้า 4.5-6 โวลต์ เข้ากับขา 1 และขา 2 และ ต่อโวลต์มิเตอร์เข้ากับขา 2 และขา 3 ดังรูปที่ 2 โวลต์มิเตอร์จะแสดงค่าประมาณ 2.5 โวลต์ ค่านี้เป็นความต่างศักย์ขณะที่ไม่มีสนามแม่เหล็ก เรียกว่า offset voltage ค่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับโวลเตจของแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงที่ต่อกับขา 1 และขา 2 แต่จะมีค่าประมาณครึ่งหนึ่งของโวลเตจของแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 


รูปที่ 2 การต่อตัวรับรู้ฮอลล์กับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงและโวลต์มิเตอร์


รูปที่ 3 การวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก
เมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้ active area ของตัวรับรู้ฮอลล์ ความต่างศักย์จะมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับทิศของสนามแม่เหล็ก กล่าวคือถ้านำขั้วใต้เข้าใกล้ ความต่างศักย์จะมีค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้านำขั้วเหนือเข้าใกล้ ความต่างศักย์จะมีค่าลดลง ความต่างศักย์ที่เปลี่ยนไปมีความสัมพันธ์กับความเข้มของสนามแม่เหล็กหรือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density) ดังนี้
B = (Vout (B) - Vout (O) ) S-1
เมื่อ Vout (O) เป็นความต่างศักย์ขณะไม่มีสนามแม่เหล็ก
Vout (B) เป็นความต่างศักย์ขณะมีสนามแม่เหล็ก
S เป็นสัมประสิทธิ์ความไว มีหน่วยเป็นโวลต์ต่อเทสลา (V/T)

สำหรับตัวรับรู้ฮอลล์ที่ใช้ในบทความนี้ S = 13 V/T
B เป็นความเข้มของสนามแม่เหล็ก หรือความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็นเทสลา (T)
ตัวรับรู้ฮอลล์สามารถวัดสนามแม่เหล็กในบริเวณใกล้แม่เหล็กถาวร สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบริเวณปลายโซเลนอยด์และสนามแม่เหล็กใกล้เส้นลวดตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านได้ 

ปรากฏการณ์ฮอลล์ (Hall Effect)
ใน ค.ศ. 1879 เอ็ดวิน ฮอลล์ (Edwin Hall) นักศึกษามหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพคินส์ ซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 24 ปี ได้พบว่า เมื่อนำแผ่นตัวนำบางที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านไปวางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก พาหะประจุ (charge carriers) ในตัวนำสามารถเบนไปจากแนวทางเดิมได้ และการเบนนี้มีผลทำให้เกิดสนามไฟฟ้าในตัวนำบางในทิศตั้งฉากกับทั้งกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก การค้นพบนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ฮอลล์ 


รูป 1 ก-ค แสดงการเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์
การเกิดปรากฏการณ์ฮอลล์อาจอธิบายได้โดยใช้รูป 1 ก-ค ดังนี้
รูป 1 ก แสดงแผ่นตัวนำบางที่มีความกว้าง d หนา t และมีกระแสไฟฟ้า (conventional current) I ผ่านในทิศจากด้านซ้ายไปด้านขวา พาหะประจุคืออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ (ด้วยอัตราเร็วลอยเลื่อน Vd) ในทิศตรงข้ามกับกระแสไฟฟ้า I จากด้านขวาไปด้านซ้าย
รูป 1 ข เมื่อใส่สนามแม่เหล็ก B ในทิศพุ่งเข้าหาและตั้งฉากกับระนาบแผ่นตัวนำบางหรือกระดาษ จะเกิดแรงแม่เหล็ก FB กระทำกับอิเล็กตรอน ทำให้อิเล็กตรอนเบนไปทางขอบด้านบนของแผ่นตัวนำบาง
รูป 1 ค เมื่อเวลาผ่านไปจะมีอิเล็กตรอนถูกผลักไปที่ขอบด้านบนจำนวนมาก ส่วนขอบด้านล่างจะเกิดประจุไฟฟ้าบวกจำนวนมากเช่นกัน การที่มีประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันที่ขอบทั้งสอง ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า เรียกว่า สนามไฟฟ้าฮอลล์ (hall field) EH ในแผ่นตัวนำบางมีทิศจากขอบด้านล่างไปขอบด้านบน สนามไฟฟ้าจะทำให้เกิดแรงไฟฟ้า FE กระทำกับอิเล็กตรอน ซึ่งจะทำให้อิเล็กตรอนถูกผลักไปทางขอบด้านล่าง เมื่อแรงไฟฟ้าและแรงแม่เหล็กมีขนาดเท่ากัน อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ในทิศไปทางซ้ายโดยไม่เบน
สนามไฟฟ้าที่เกิดในแผ่นตัวนำบางมีความสัมพันธ์กับความต่างศักย์หรือโวลเตจ V ดังนี้
ความต่างศักย์หรือโวลเตจที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ความต่างศักย์ฮอลล์ (hall potential difference หรือ hall voltage) VH พบว่า ความต่างศักย์ฮอลล์มีค่ามากที่สุด เมื่อแผ่นตัวนำบางทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน และเจอร์เมเนียม ส่วนตัวนำไฟฟ้าที่ดี ความต่างศักย์ฮอลล์จะมีค่าน้อยกว่ามาก (เหตุผล พิจารณาได้จากสมการ (7) หรือสมการ (8) ในตอนท้าย)
จากสมการ (1) จะได้ว่า
 


รูป 2 การวัดความต่างศักย์ฮอลล์ VH
เราสามารถวัด VH โดยต่อ มิลลิโวลต์มิเตอร์เข้ากับจุด x และจุด y ดังรูป 2 ก
สภาพขั้วของ VH ทราบได้จากเครื่องหมายที่อ่านได้จาก มิลลิโวลต์มิเตอร์
จากรูป 2 ก พาหะประจุคืออิเล็กตรอนจึงมีประจุลบ ถ้าพาหะประจุมีประจุบวก ทิศของ Vd และ EH จะตรงข้ามกับในรูป 2 ก แต่ทิศของ FB และ EE ยังคงเดิม ดังแสดงในรูป 2 ข ทำให้ประจุบวกถูกผลักไปที่ขอบด้านขวา ส่วนประจุลบถูกผลักไปที่ขอบด้านซ้าย และสภาพขั้วของ VH จะตรงข้ามกับกรณีที่พาหะประจุมีประจุลบ
จากรูป 1 ค ขณะที่แรงแม่เหล็กและแรงไฟฟ้ามีขนาดเท่ากัน เราจะได้
จากสมการ (2) จะได้
เนื่องจากอัตราเร็วลอยเลื่อน Vd มีค่า
เมื่อ n คือจำนวนพาหะประจุต่อลูกบาศก์เมตร (หรือความหนาแน่นของพาหะประจุ)
และ A คือพื้นที่หน้าตัดของแผ่นตัวนำบาง
แทนสมการ (5) ลงในสมการ (4) จะได้
เนื่องจาก  คือความหนาของแผ่นตัวนำบาง ดังนั้น
สมการ (7) เขียนได้ใหม่เป็น
ปริมาณ VHI และ t ในสมการ (8) หาได้จากการวัด ส่วนค่า n ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่ใช้ทำหัววัด วัสดุที่เป็นสารกึ่งตัวนำจะมีจำนวนพาหะประจุน้อยกว่าตัวนำไฟฟ้าที่ดี แต่ก็ยังมีค่ามากพอที่จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดได้ ส่วนฉนวนมีจำนวนพาหะประจุน้อยมาก แต่ก็ยอมให้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยผ่าน จากการศึกษาพบว่า สารกึ่งตัวนำที่เจือสิ่งเจือปนมีค่า n  1022m-3 และโลหะทั่วไปมีค่า n  1028m-3 ดังนั้น เราจึงสามารถหาความเข้มของสนามแม่เหล็กที่ไม่ทราบค่าจากสมการ (8) ได้
ความเข้มของสนามแม่เหล็กมีหน่วยในระบบเอสไอเป็นเทสลา (tesla) แทนด้วยสัญลักษณ์ T หน่วยเดิมของความเข้มของสนามแม่เหล็กคือ เกาส์ (gauss) แทนด้วยสัญลักษณ์ G โดยที่ 1T = 104 G

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รับสมัครคนขับรถโฟล์คลิฟท์

บจก.ซูมิโช โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) บริษัทฯ ในกลุ่มธุรกิจทางด้านโลจิสติคส์ที่มีการผสมผสานครบวงจร ด้วยพี้นที่ 43,3000 ตารางเมตร โดยมีคลังสินค้าที่เป็นของบริษัทฯ เอง และมีระบบการขนส่งที่ใช่้พาหนะของทางบริษัทเอง ภาพรวมธุรกิจ และบริการ คือ - รับนำเข้าและส่งออกสินค้า - รับติดตั้ง เคลื่อนย้าย เครื่องจักร - รับขนส่งสินค้า - คลังสินค้า เพื่อกระจายสินค้า สวัสดิการ 1.ชุดเครื่องแบบ/ยูนิฟอร์ม 2.ค่าเบี้ยขยัน 3.ค่าล่วงเวลา 4.ค่าครองชีพ 5.ค่าเดินทาง 6.ข้าวฟรี 7.ค่าตำแหน่ง 8.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กองทุนเงินสะสม) 9.กองทุนเงินทดแทน 10.กองทุนประกันสังคม 11.ประกันสุขภาพ 12.ตรวจสุขภาพประจำปี 13.ค่ารักษาพยาบาล 14.ประกันอุบัติเหตุ 15.ค่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 16.งานเลี้ยงประจำปี 17.สันทนาการ 18.งานวันเกิดประจำเดือน 19.จัดฝึกอบรมทั้งภายในและนอกสถานที่ 20.เงินช่วยเหลือกรณีสมรส/ฌาปนกิจ 21.วันหยุดพักผ่อนประจำปีสูงสุด 13 วันต่อปี 22.รางวัลขับขี่ประหยัดน้ำมัน 23.รางวัลปลอดอุบัติเหตุ 24.รางวัลพนักงานขับขี่ดีเด่น 25.อื่นๆ รายละเอียดของงาน ขับรถโฟล์คลิฟท์ทั้งระบบไฟฟ้า, น้ำมัน ทั้งแบบนั่งและแบบยืนเพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออก สถานที่ปฏิบัติงาน ในย่านแหลมฉบัง หรืออมตะนคร จังหวัด ชลบุรี อัตรา 1 เงินเดือน คุณสมบัติผู้สมัคร •เพศชาย •อายุ 25 - 30 ปี •สำเร็จการศึกษา ต้ังแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป •มีประสบการณ์ในการขับรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า, น้ำมันทั้งแบบนั่งและยืนขับ ไม่น้อยกว่า 3 ปี •ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือได้รับยกเว้นทหารแล้ว วิธีการสมัคร 1.มาสมัครด้วยตนเอง 2. ส่งจดหมาย 3.ส่งอีเมลล์ ติดต่อ รุ้งตะวัน มากทุ่งคา บจก.ซูมิโช โกลบอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) สำนักงานใหญ่ : 123 หมู่ 2 บึง ศรีราชา ชลบุรี 20230 เบอร์โทร : 0-3834-0024-30 เบอร์แฟกซ์ : 0-3834-0022 forklift

รถโฟล์คลิฟท์ทนสุดๆ

รถโฟล์คลิฟท์ทนสุดๆ ■


ในปัจจุบันตามโรงงานและบริษัทต่างๆก็ต้องการเครื่องช่วยรถโฟล์คลิฟท์ทนสุดๆด้วยสาเหตุนี้ทำ ให้การพัฒนาเทคโนโลยีจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะว่าการยกของหนักๆนั้นรถคันนี้สามารถช่วยทุนแรงได้ทำให้หลายๆอย่างเรียบง่ายมากขึ้นและด้วยสาเหตุที่ว่าเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการนำเครื่องจักรหรืออุปกรณ์มาช่วยทุนแรงนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดหลายๆอย่างขึ้นมา เราเชื่อว่าหลายๆโรงงานและบริษัทหลายๆที่ก็กำลังมองหาอุปกรณ์ช่วยทุ่นแรงช่วยทำให้การทำงานนั้นไวขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมนั้นเราเชื่อว่าท่านมาถูกทางแ้ล้วเพราะว่าร้านของเรานั้นจำหน่าย อุปกรณ์ช่วยทุ่นแรงในการทำงานอย่างครบครันทุกชิ้นงานมีหลากหลายรูปแบบหลายเกรดซึ่งเราอยากให้ทุกท่านได้แต่ของดีๆเราจึงจำหน่ายแต่รถโฟล์คลิฟท์ทนสุดๆให้แก่ผู้ประกอบการทุกท่าน เราเป็นผู้นำด้านรถยก(Forklift) ทั้งน้ำมัน และไฟฟ้า มือสองสภาพดี


stacker,handpallat,powerpallat,tablelift,รถลาก,อะไหล่,ชิ้นส่วน,แบตเตอรี่,ยางตัน,ล้อโพลียูรีเทรน พร้อมบริการหลังการขายด้วยทีมช่างมืออาชีฟ การันตีความพึงพอใจ พร้อมทั้งจำหน่ายแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ จำหน่ายรถโฟล์คลิฟท์ รถยกไฟฟ้า มือสอง สภาพดี รับติดแก๊สรถโฟล์คลิฟท์ บริการตรวจเช็กบำรุงรักษารถยกทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน pcn forklift ขาย ให้เช่า รถโฟล์คลิฟท์ ถูกที่สุดในประเทศ โฟล์คลิฟท์ กรุงเทพ pcn forklift ขาย ให้เช่า รถโฟล์คลิฟท์ ถูกที่สุดในประเทศ โฟล์คลิฟท์ มือสอง กรุงเทพมหานครจำหน่าย ขาย ให้เช่า รถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ TOYOTA จำหน่าย ขาย ให้เช่ารถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ KOMATSU จำหน่าย ขาย ให้เช่ารถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ MITSUBISHI จำหน่าย ขาย ให้เช่ารถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ NICHIYU จำหน่าย ขาย ให้เช่ารถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ YALE จำหน่าย ขาย ให้เช่ารถ forklift โฟล์คลิฟท์มือสอง ยี่ห้อ TCM จำหน่าย ขาย ให้เช่า รถ forklift โฟล์คลิฟท์ ฟอร์คลิฟท์ มือหนึ่ง มือสอง ราคาถูกที่สุด ในประเทศไทย รถ forklift มือสอง รับประกันหลังการขายโดยบริษัทชั้นนำของประเทศไทย รถ forklift ของเรามีการรับประกัน หลังการขาย โดยบริษัทชั้นนำของประเทศไทย เราจะเลือกรถที่ดีที่สุด และ ถูกที่สุด ให้กับท่าน สนใจติดต่อ ส่งเมลล์มาที่ pcnforklift@hotmail.com tel.029958850 0865182510 Sell forklift โฟล์คลิฟท์ รถยก ฟอร์คลิฟท์ ทุกยี่ห้อ มือหนึ่ง มือสอง ราคาถูก ทุกยี่ห้อ TOYOTA MITSUBISHI TCM KOMATSU NISSAN SUMITOMO NICHIYU SHINKO YALE ราคาถูก





 จังหวัด กรุงเทพ กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี http://www.pcnforklift.com



AC37 NISSAN CPJ02A20PU CAPACITY 2.000 KGS. MAST 3F600 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 2003 AC50 NISSAN FD02A25Q CAPACITY 2.500 KGS. MAST 2W400 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 2005 AC76 NISSAN G1N1L16Q CAPACITY 1.600 KGS. MAST 3F600 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 2006 T944 NISSAN FD02A25Q CAPACITY 2.500 KGS. MAST 2W450 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 2000 AB57 NISSAN CN01L18U CAPACITY 1.800 KGS. MAST 3F475 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 2000 AE44 NISSAN H01A15 CAPACITY 1.500 KGS. MAST 2W460 SIDESHIFT YEAR OF MAKE 1993 Special price for the six......................31.000 € FOB Rotterdam

รถเกียร์อัตโนมัติ

                                                         รถเกียร์อัตโนมัติ
            รถเกียร์อัตโนมัติ หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า เกียร์ออโต้นั้น  มีวิธีการขับขี่และเทคนิคในการใช้รถง่ายๆดังนี้








WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การประกอบเครื่องยนต์

                                                             การประกอบเครื่องยนต์
             ก่อนจะออกมาเป็นเครื่องยนต์ให้เราได้ใช้งานต้องมีการประกอบมากมาย ซึ่งขั้นตอนในการประกอบนั้น ต้องใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร ซึ่งมีขั้นตอนในการประกอบดังนี้

WWW.PCNFORKLIFT.COM

GEAR MANUAL

                                                     GEAR  MANUAL
     การใช้งานของเกียร์ ออโต้ และเกียร์กระปุก / เกียร์ธรรมดา  หรือที่เรียกว่า Gear Manul นั้นมีความยากง่ายแตกต่างกัน  วันนี้เรามีคำแนะนำในการใช้เกียร์แบบธรรมดามาฝาก เพื่อใช้เป็นเทคนิคในการขับรถ
         
ขอขอบคุณที่มา ของเทคนิคดีๆ จาก Rutanyanyon



ขอบคุณที่มาของวิดีโอ  SP Production
เมื่อรู้เทคนิคในการใช้เกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดาแล้วท่านที่กำลังใช้งานอยู่ ก็จะสามารถขับรถได้อย่างสบาย ออกตัวได้อย่างนิ่วนวล และท่านผู้ที่ใช้เกียร์ออโต้ก็จะสามารถนำเอาไปใช้เมื่อต้องใช้เกียร์กระปุกได้เช่นกัน

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

forkliftand forkliftthai

forkliftอันดับ1WWW.PCNFORKLIFT.COM
สิ่งสำคัญของการใช้งานforkliftนั้นก็คือไม่ควรกระโดดขึ้นหรือกระโดดลงจากรถยก เมื่อจะขึ้นนั่งบนรถยก ควรใช้มือซ้ายจับราว มือขวาจับเสาหลังคาและเท้าซ้ายเหยียบบันได การนั่งไม่ถูกต้อง อาจเป็นสาเหตุให้ได้รับอันตรายได้ ควรปรับเบาะนั่งให้เหมาะสมกับใช้งานforkliftก่อน จะสตาร์เครื่อง เก็บเครื่องมือหรือชิ้นส่วนที่อยู่บนพื้นที่วางเท้า ที่นั่งคนใช้งานforkliftออกให้หมดให้ปฏิบัติตามกฎจราจร พยายามดูแลสุขภาพตัวเอง โดยไม่ขับรถในขณะที่เหน็ดเหนื่อยมากเกินไปหรือในขณะมึมเมาไม่ขับรถโดยปราศจากหลังคา ขณะใช้งานforkliftในพื้นที่อันตราย ต้องแน่ใจในเรื่องของความปลอดภัย มีหรือไม่ ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงและตรวจเช็คเครื่องดับเพลิงอยู่เสมอ ปรับพื้นที่ทำงานให้เรียบ ไม่อนุญาตให้รถยนต์เข้าไปในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ทำงานของรถยก เมื่อจำเป็นต้องใช้รถยกในถนนสาธารณะ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์กั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดกับคนเดินถนน
forkliftคุณภาพดี
ทางบริษัทของเรามีจัดจำหน่ายforkliftคุณภาพสูงไม่ว่าจะเป็นforkliftมือหนึ่งหรือเป็นมือสองก็ตามทีเพราะัว่าเรามีพนักงานคอยดูแลรักษาและตรวจสอบสภาพของรถยกforklifตลอดเวลานั้นทำให้มั่นใจได้เลยว่าสินค้า่ก่อนจะถึงมือท่านเราตรวจสอบถึงคุณสมบัติแทบครบทุกด้านโดยเฉพาะเลยไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการทำงานหรือจะเป็นความปลอดภัยในการขับขี่คำนึงถึงความปลอดภัยในการจอดรถเราได้การทดสอบการใช้งานเรื่องการวางของทะบซ้อนกันและจดถึงค่าการลดแรงดันไฮดรอลิกในระบบเพื่อจดบันทึกในตารางบำรุงรักษาซึ่งเป็นความปลอดภัยโดยทั่วไปที่ผู้ขับขี่forkliftตรวจเช็ครถยกก่อนติดเครื่องเสมอและบำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลาจะไม่ใช้รถยกจนกว่าจะมีการตรวจสภาพ
forklift


รถโฟล์คลิฟท์สุดไฮเทค!!ราคาถูก ในปัจจุบันนี้กระแสเรื่องการเปิดโรงงานนั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมรถโฟล์คลิฟท์ก็เป็นหนึ่งใน สินค้าที่มีความจำเป็นอย่างมากเพราะว่าธุรกิจการขายสินค้าหรือห้างสรรพสินค้านั้นเกิดขึ้นมาเยอะมากขึ้น เพราะว่าห้างสรรพสินค้าก็ต้องมีการจัดสินค้าและเรียงโกวดังก็เลยมีความจำเป็นที่ต้องมาเพื่อพาเครื่องมือ ทุ่นแรงเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมายิ่งขึ้นกว่าเดิม ■การให้อุปกรณ์ทุ่นแรงนั้นเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของที่ถูกผลิตมาเพื่อทุ่นแรงนั้น ก็ต้องเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตและทดสอบมาเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดการใช้เครื่องมือการ ผลิตที่ดีและมีคุณภาพที่สุดการที่จะใช้เครื่องทุนแรงที่ดีนั้นต้องเป็นสินค้าที่ได้รับมาตราฐานสากล เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุดสินค้าของเราคือรถโฟล์คลิฟท์ที่ได้มาตราฐาน 1992 Link Belt LS-3400 (Long Reach) Excavator Erops 55' Long Reach Boom, 60" 1 1/4 Yard Ditch Bucket 50% Bottom Rebuilt Isuzu Engine Original Isuzu Engine for Parts 9,913 Hrs. Showing on the Meter. The boom & bottom are both in good condition. The engine & pumps both seem strong. The unit tracks fine. There were only a few minor leaks on this unit. This unit has a rebuilt Isuzu engine as well as the original Isuzu engine for parts. $29,000. FOB FL 2003 JCB 506CHL Telescopic Forklift w/ Orops Cab, 42' Reach, 3 - Steer Modes, Tilt Frame Auxiliary Hydraulics, 48" Forks, 6,000 Lb. Capacity & 1,602 Low Hrs. This unit runs & operates very well. All the functions of this forklift work well including all 3 steer modes (crab, all wheel & standard). The engine, pumps, trans., & brakes are all good. This unit is tight & there was no noticeable leaks anywhere on this unit. Priced for a quick sale at $21,000 FOB Central Florida. HYSTER H135XL2 FORKLIFT 10,000 HOURS MACHINE RUNS OUT GOOD NO PROBLEMS 13,000 POUND LIFT SERIAL NUMBER – P006D04906V $12,500.00 FOB GEORGIA Shinko 1-3t

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อกำหนดในการใช้งานของยูพีเอส

                    ข้อกำหนดในการใช้งานของยูพีเอส
    การที่จะนำยูพีเอสไปใช้งานกับโหลดได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องกำหนดค่าคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่จะนำไปใช้งาน ซึ่งพิจารณาถึงความต้องการ ข้อกำหนด และความเหมาะสมทางด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่จะได้จากระบบยูพีเอส
    สิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาดังกล่าวนั้น แยกเป็นองค์ประกอบต่างๆดังนี้
 - ตำแหน่งที่จะติดตั้งยูพีเอส
 - ชนิดของยูพีเอส
 - การต่อระบบสายดิน
 - ขนาดของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
 - ชนิดของโหลด
 - ขนาดของโหลด
 - ชนิดของแบตเตอรี่
 - ความต้องการและความสามารถในการบำรุงรักษายูพีเอส
 - สภาพแวดล้อมที่จะติดตั้งยูพีเอส
ข้อกำหนดทางเทคนิคของระบบยูพีเอส
เพื่อให้การใช้งานระบบยูพีเอสได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเราจึงจะต้องแยกข้อกำหนดทางไฟฟ้าให้ชัดเจนมากขึ้น
1. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเครื่องยูพีเอสโรตารี่ ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ การที่จะนำเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ไปใช้งานจะต้องทราบถึงข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ส่วนต่างๆดังนี้
1.1 ข้อกำหนดทางไฟฟ้าระบบไฟฟ้าด้านเข้า
   ระบบไฟฟ้าด้านเข้าของยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสลับด้านเข้าเปลี่ยนแปลงได้+ - 10 %
 - ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถใช้งานที่กระแสไฟฟ้าด้านเข้าเปลี่ยนแปลงได้ + - 5%
2.ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าด้านออก  จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของแรงดันไฟฟ้าสลับด้านออกได้คือ  *  ความเที่ยงตรง + -  1 % ในภาวะ Steady state
       * ความเที่ยงตรง + - 10% เมื่อเกิดภาวะโหลดเปลี่ยนแปลงกระโดดเป็นขั้น 100%
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าด้านออก + - 1%
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีประสิทธิภาพที่พิกัดโหลด มากกว่า 80%
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์จะต้องมีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า ( Hamonic distortion ) คือ ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 5% สำหรับฮาร์มอนิคลำดับที่ 3
                        ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 3%สำหรับฮาร์มอนิคลำดับที่ 1
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความไวในการกลับสู่ภาวะปกติ ( Trainsient recovery time ) ไม่เกิน 200 มิลลิวินาที
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความทนทานต่อการใช้งานเกินกำลังได้ คือ
 * ทนได้ไม่น้อยกว่า  60 นาที  ที่โหลดเป็น  110% ของพิกัด
 * ทนได้ไม่น้อยกว่า  2 นาที    ที่โหลดเป็น  150% ของพิกัด
3.ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของชุดบายพาสสวิตช์อัตโนมัติ   ชุดบายพาสสวิตช์อัตโนมัติของยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอรืเตอร์ จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้า อย่างน้อยดังนี้
- ชุดบายพาสสวิตช์อัตโนมัติ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้เมื่อแรงดันไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป  +- 10 %
- ชุดบานพาสสวิตช์อัตโนมัติ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อความถี่ไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + - 1%
ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง
   การที่จะนำเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิงไปใช้งานจะต้องทราบถึงข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆดังนี้
1.ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าด้านเข้า ของยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิงจะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องสามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสลับด้านเข้าเปลี่ยนแปลงได้ + -  10%
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องสามารถใช้งานที่ความถี่ไฟฟ้าด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้ + - 1%  (ถ้าหากเกินกว่านี้  จะเป็นภาวะฉุกเฉิน )
2.ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าด้านออกของยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง  จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยเป็นดังนี้
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิงจะต้องมีความเที่ยงตรงของไฟฟ้าด้านออกได้ คือ
  * ความเที่ยงตรง + - 1%  ในภาวะ Steady  state
  * ความเที่ยงตรง + - 8%  ในภาวะ  Dynamic
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องมีความเที่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าด้านออกได้ + - 1%  (ในภาวะฉุกเฉิน )
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องมีประสิทธิภาพที่พิกัดโหลด มากกว่า 85%
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องมีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า ( Harmonic distortion )คือ
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน  5% สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่ 3
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 3%  สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่  1
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องมีความไวในการกลับสู่ภาวะปกติ ( Transient recovery time ) ไม่เกิน  250  มิลลิวินาที
- ยูพีเอสโรตารี่ชนิดอิรดักชั่นคัพลิง จะต้องมีความทนทานต่อการใช้งานเกินกำลังได้  คือ
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  60 นาที ที่โหลดเป็น  110%  ของพิกัด
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  5 นาที ที่โหลดเป็น  125%  ของพิกัด
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  1 นาที ที่โหลดเป็น  150%  ของพิกัด
3. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของชุดบายพาสสวิตช์อัตโนมัติ ของยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ชุดบายพาสสวิตช์อัตโนมัติ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้เมื่อแรงดันไฟ้สลับเปลี่ยนแปลงไป  + - 10%
- ชุดบายพาสอัตโนมัติ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อความถี่ไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + - 1%
ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเครื่องยูพีเอสสแตติก ชนิดดับเบิลคอนเวอร์ชั่น  การที่จะนำเครื่องยูพีเอสสแตติกชนิดดับเบิลคอนเวอร์ชั่นไปใช้งาน จะต้องทราบถึงข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆดังนี้
1. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์  ชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ของยูพีเอสสแตติกชนิดดับเบิลคอนเวอร์ชั่น จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องสามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสลับด้านเข้าเปลี่ยนแปลงได้ + - 10%
- ชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องสามารถใช้งานที่ความถี่ไฟฟ้าด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้ + - 5%
- ชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องมีการหน่วงเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟกระแทกเข้าเครื่องยูพีเอส ( Power walk- in ) ประมาณ 15 วินาที
- ชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องจำกัดกระแสไฟฟ้าด้านเข้าที่  125%ของพิกัดปกติ
- ชุดเรคติกไฟเออร์/ชาร์จเจอร์ จะต้องมีค่ายอดคลื่นของกระแสกระชากสูงสุด ( Maximum  peak inrush current ) ไม่เกิน 10 เท่า ของยอดคลื่นกระแสด้านเข้าที่พิกัดโหลด
- ชุดเรคติกไฟเออร์/ ชาร์จเจอร์ จะต้องมีกระแสผิดเพี้ยนด้านเข้า ( Total harmonic distortion )ดังนี้
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน 30 % ( กรณีพิกัดไม่เกิน 20 เควีเอ )
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน  15 % ( กรณีพิกัด 20 - 200 เควีเอ )
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน  10 % ( กรณีพิกัดมากกว่า 200 เควีเอ )
- ชุดเรคติกไฟเออร์/ ชาร์จเจอร์ จะต้องมีประสิทธิถาพ ที่พิกัดโหลดมากกว่า  90 %
2. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์   ชุดอินเวอร์เตอร์ของยูพีเอสสแตติกชนิดดับเบิลคอนเวอร์ชั่น จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
 - ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของแรงดันไฟฟ้าสลับด้านออกได้ คือ
  * ความเที่ยงตรง + - 1% เมื่อโหลดสมดุลยื
  * ความเที่ยงตรง + - 10 % เมื่อเกิดภาวะใช้โหลดเปลี่ยนแปลงกระโดดเป็นชั้น
- ชุดอินเวอร์เตอร์จะต้องมีความเที่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าด้านออก ได้ + - 1%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีประสิทธิภาพที่พิกัดโหลดมากกว่า  80%
- ชุดอินเวอร์เตอร์จะต้องมีค่าความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า ( Hamonic distottion ) คือ
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 5 %  สำหรับฮาร์มอนิกลำดับมที่  3
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 3 % สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่  1
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความไวในการกลับสู่ภาวะปกติ ( Transient recovery time ) ไม่เกิน 50 มิลลิวินาที
- ชุดคอนเวอร์เตอร์  จะต้องมีความทนทานต่อการใช้งานเกินกำลังได้  คือ
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  10 นาที  ที่โหลดเป็น  120% ของพิกัด
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  10 วินาที ที่โหลดเป็น  150 % ของพิกัด
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความสามารถรับโหลดไม่สมดุลย์ได้ไม่น้อยกว่า  30 %
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของการเปลี่ยนมุมเฟสจากเดิม ( Phase displacement ) ดังนี้
  * เที่ยงตรง + - 1 % ที่โหลดไม่สมดุลย์  30 %
  * เที่ยงตรง  + - 4%  ที่โหลดไม่สมดุลย์  50%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถปรับแต่งแรงดันไฟฟ้าด้านออก ได้กว้างกว่า + - 5%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความสามารถใช้งานกับโหลดที่มีค่าตัวประกอบยอดคลื่น ( Crest factor ) ได้มากกว่า 3 : 1
3. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของชุดสแตติกบายพาสสวิตช์   ของยูพีเอสสแตติกชนิดดับเบิลคอนเวอร์ชั่น จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้า อย่างน้อยดังนี้
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์  จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้เมื่อแรงดันไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป  + - 10%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อความถี่ไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + -1%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ จะต้องมีช่วงเวลาที่ทำการย้ายโหลด ไม่เกิน 50 ไมโครวินาที ( us )
ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเครื่องยูพีเอสสแตติกชนิดไลน์อินเตอร์แอกทีฟ   การที่จะนำเครื่องยูพีเอสชนิดนี้ไปใช้งานจะต้องทราบถึงข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆดังนี้
1. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์  ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ของยูพีเอสสแตติกชนิดไลน์อินเตอร์แอกทีฟจะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์  จะต้องสามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสลับด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้ + - 10%
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องสามารถใช้งานที่ความถี่ไฟฟ้าด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้ + - 5%
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องมีการหน่วงเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟกระแทกเข้าเครื่องยูพีเอส ( Power  walk - in ) ไม่เกิน  20 วินาที
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องจำกัดกระแสไฟฟ้าด้านเข้าที่  125%  ของพิกัด
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์  จะต้องมีค่ายอดคลื่นของกระแสกระชากสูงสุด ( Maximum  peak inrush current ) ไม่เกิน 10 เท่า ของยอดคลื่นกระแสด้านเข้าที่พิกัดโหลด
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องมีกระแสผิดเพี้ยนด้านเข้า ( Total harmonic distortion ) ดังนี้
  *  ผิดเพี้ยนไม่เกิน  30% ( กรณีพิกัดไม่เกิน  20 เควีเอ )
  *  ผิดเพี้ยนไม่เกิน  15 % ( กรณีพิกัด 20 - 200 เควีเอ )
  *  ผิดเพี้ยนไม่เกิน  10 % (กรณีพิกัดมากกว่า  200เควีเอ )
- ชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ จะต้องมีประสิทธิภาพที่พิกัดโหลดมากกว่า  90 %
2. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์  ชุดอินเวอร์เตอร์ของยูพีเอสสแตติกชนิดไลน์อิเตอร์แอกทีฟ จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยเป็นดังนี้
- ชุดอินเวอร์เตอร์จะต้องมีความเที่ยงตรงของแรงดันไฟฟ้าสลับด้านออกได้  คือ
  * ความเที่ยงตรง + - 1%  เมื่อโหลดสมดุลย์
  * ความเที่ยงตรง + - 10% เมื่อเกิดภาวะใช้โหลดเปลี่ยนแปลงกระโดดเป็นขั้น
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าด้านออก ได้ + - 1%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีประสิทธิภาพที่พิกัดโหลด มากกว่า  80%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า ( Harmonic  distortion ) คือ
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน  5% สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่ 3
  * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 3%  สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่ 1
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความไวในการกลับสู่ภาวะปกติ ( Transient recovery time ) ไม่เกิน 50 มิลลิวินาที
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความทนทานต่อการใช้งานเกินกำลังได้  คือ
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า  10 นาที ที่โหลดเป็น  120% ของพิกัด
  * ทนได้ไม่น้อยกว่า 10 วินาที  ที่โหลดเป็น 150 % ของพิกัด
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมรความสามารถรับโหลดไม่สมดุลย์ ได้ไม่น้อยกว่า 30%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของการเปลี่ยนมุมเฟสจากเดิม ( Phase displacement) ดังนี้
  * เที่ยงตรง + - 1% ที่โหลดไม่สมดุลย์  30%
  * เที่ยงตรง + - 4% ที่โหดลไม่สมดุลย์  50%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถปรับแต่งไฟฟ้าด้านออก ได้ + - 5%
- ชุดอินเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถใช้งานกับโหลดที่มีค่าตัวประกอบยอดคลื่น (Crest factor )ได้มากกว่า 3: 1
3. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ ของย฿พีเอสสแตติกชนิดไลน์อินเตอร์แอกทีฟ จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อแรงดันไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลง + - 10%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อความถี่ไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + - 1%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์ จะต้องมีช่วงเวลาที่ทำการย้ายโหลด ไม่เกิน 50 ไมโครวินาที ( us )
ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของเครื่องยูพีเอสสแตติก ชนิดเดลต้าคอนเวอร์ชั่น การที่จะนำยูพีเอสชนิดนี้ไปใช้งานจะต้องทราบถึงข้อกำหนดทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆดังนี้
1. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยเป็นดังนี้
- สามารถใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสลับด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้มากถึง + - 15 %
- สามารถใช้งานที่ความถี่ไฟฟ้าด้านเข้า เปลี่ยนแปลงได้มากถึง + - 6 %
- มีการหน่วงเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟกระแทกเข้าเครื่องยูพีเอส ( Power walk- in ) ไม่เกิน 20 วินาที
- จำกัดกระแสไฟฟ้าด้านเข้าที่ 125 % ของพิกัด
- มีค่ายอดคลื่นกระแสกระชากสูงสุด ( Maximum peak inrush current )ไม่เกิน 10 เท่าของยอดคลื่นกระแสด้านเข้าที่พิกัดโหลด
- มีค่าของกระแสผิดเพี้ยนด้านเข้า ( Total harmonic distortion ) ดังนี้
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน  30 % ( กรณีพิกัดไม่เกิน 20 เควีเอ )
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน 15 % ( กรณีพิกัด  20 - 200 เควีเอ )
  * ผิดเพี้ยนไม่เกิน  10% ( กรณีพิกัดมากกว่า 200 เควีเอ )
2. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของคอนเวอร์เตอร์  ของยูพีเอสสแตติกชนิดเดลต้าคอนเวอร์ชั่น จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ชุดคอนเวอร์เตอร์  จะต้องมีความเที่ยงตรงของแรงดันไฟฟ้าสลับด้านออกได้ คือ
 * ความเที่ยงตรง + - 1% เมื่อโหลดสมดุลย์
 * ความเที่ยงตรง + - 10 % เมื่อเกิดภาวะใช้โหลดเปลี่ยนแปลงกระโดดเป็นขั้น
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความเที่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าด้านออก ได้ + - 1%
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นไฟฟ้า ( Harmonic distortion ) คือ
 * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 5 % สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่ 3
 * ความผิดเพี้ยนไม่เกิน 3% สำหรับฮาร์มอนิกลำดับที่ 1
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ จะต้องมีความไวในการกลับสู่ภาวะปกติ ( Transient recovery time ) ไม่เกิน 50 มิลลิวินาที
- ชุดคอนเวอร์เตอร์  จะต้องมีความทนทานต่ิอการใช้งานเกินกำลังได้  คือ
 * ทนได้ไม่น้อยกว่า 10 นาที ที่โหลดเป็น 125 % ของพิกัด
 * ทนได้ไม่น้อยกว่า 30 วินาที ที่โหลดเป็น  150 %ของพิกัด
- ชุดคอนเวอร์เตอร์  จะต้องมีความสามารถรับโหลดไม่สมดุลย์ ได้ไม่น้อยกว่า 30 %
- ชุดคอนเวอร์เตอร็  จะต้องมีความเที่ยงตรงของการเปลี่ยนมุมเฟสจากเดิม ( Phase displacement )ได้คือ
 * เที่ยงตรง + - 1%  ที่โหลดไม่สมดุลย์  30%
 * เที่ยงตรง + - 4% ที่โหลดไม่สมดุลย์  50%
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ จะต้องสามารถปรับแต่งแรงดันไฟฟ้าด้านออกได้ + - 5%
3. ข้อกำหนดทางไฟฟ้าของชุดสแตติกบายพาสสวิตช์  ของยูพีเอสสแตติกชนิดเลต้าคอนเวอร์ชั่น จะต้องมีข้อกำหนดและคุณสมบัติทางไฟฟ้าอย่างน้อยดังนี้
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์  จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อแรงดันไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + -  10%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์  จะต้องยินยอมให้มีการย้ายโหลดไปต่อกับชุดบายพาสได้ เมื่อความถี่ไฟฟ้าสลับเปลี่ยนแปลงไป + - 1%
- ชุดสแตติกบายพาสสวิตช์  จะต้องมีช่วงเวลาที่ทำการย้ายโหลด ไม่เกิน 50 ไมโครวินาที (us )
ข้อกำหนดประสิทธิภาพและเสียง ของเครื่องยูพีเอสสแตติก
ตามมาตรฐาน NEMA  Pub. No.PE 1-1992 ระบุประสิทธิภาพรวมของเครื่องยูพีเอสสแตติก เมื่อใช้งานที่โหลดเชิงเส้น จะต้องมีค่าสูงกว่าประสิทธิภาพรวม
ส่วนระดับเสียงนั้น ตามมาตรฐาน NEMA Pub.No.PE 1-1992 ระบุเสียงของเครื่องยูพีเอสสแตติก เมื่อใช้งานที่โหลดเชิงเส้น จะต้องเบากว่าระดับเสียง

                                  WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การตลาดFashion สำเร็จด้วย Logistics

                                 การตลาดแฟชั่นสำเร็จด้วย  Logistics
     สินค้าแฟชั่น เป็นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่ห้างใหญ่ๆให้ความสำคัญมาก ต้องรู้ความหมายของแฟชั่นว่ามีความหมาย 2 อย่างหรือ 2 ภาพ ได้แก่ ภาพแรกเป็นสัญลักษณ์เพราะแฟชั่นบ่งบอกถึงความเป็นบุคลิกส่วนตัวปัญเจกส่วนตัว เป็นสัญลักษณ์ของความหมายและความเชื่อโดยปัญเจกที่มองเห็นด้วยตาได้ขึ้นอยู่กับความนิยม อย่างสมัยนี้กางเกงขาสั้นมากๆทรงผมแนวเกาหลีกำลังเป็นแฟชั่นในยุคปัจจุบันจะทำอย่างไรเพื่อบอกว่าเราพยายามที่จะสร้างสิ่งที่เชื่อว่าเป็นสิงที่บ่งบอกถึงตัวเราหรือกลุ่มบุคคล คือแฟชั่น
     ระบบที่เป็น sign system นอกจากสัญลักษณ์แล้วต้องพูดถึงเรื่องวัฒนธรรม Culture บางที่เป็นเรื่องวัฒนธรรมหรือความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แฟชั่นที่เด่น คือ ความชอบ อย่างบริษัทนี้ชอบเหมือนกัน หมู่บ้านนี้ชอบเหมือนกัน แต่สิ่งที่บอกถึงความเป็นแฟชั่นคืออายุไม่ยาว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นไปตามสมัยนิยม ถ้าเป็นแฟชั่น จะพยายามที่จะฉีกตัวเองออกมาเพื่อความโดดเด่นไม่เหมือนใคร
       เมื่อแฟชั่นเกิดขึ้นสิ่งที่ต้องการคือต้องการให้เกิดการยอมรับในสิ่งที่มีการแสดงออก เมื่อเกิดการยอมรับแฟชั่น จะเริ่มมีการลอกเลียนแบบ และมีการแข่งขัน เมื่อเป็นแฟชั่นได้ระยะหนึ่ง ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติจะไม่เป็นแฟชั่นอีกต่อไป คือมีการแข่งขัน อิ่มตัวและเข้าสู่ภาวะปกติ ก็จะไม่เรียกว่าแฟชั่นอีกต่อไป
       แต่เดิมเสื้อผ้ามีการพัฒนาอย่างไร เริ่มต้นเรียกว่ายุควิคตอเรีย เริ่มมีการแต่งตัวเกิดขึ้นคนในสังคมชั้นสูงเริ่มมีการแต่งตัวใส่กระโปรงบานๆคล้ายๆสุ่มไก่ มีผ้าโพกหัวจากนั้นจะเป็นสังคมชุมชนรถไฟ สังคมเมือง(Railway)เริ่มที่จะมีกลุ่มมากขึ้นมีการเเบ่งชนชั้นวรรณะมากขึ้นมีชั้นผู้ดี เป็นต้น ต่อมาเป็นยุคเอ็ดวาเดียนผู้หญิงสมัยนั้นจะมีเอวเล็กมาก เคยมีการถ่ายเอ็กซเรย์ เอวจะคอดเข้าไปสะโพกใหญ่เเฟชั่นจะเน้นไปที่สุภาพสตีมากกว่าบุรุษจนถึงปัจจุบัญเพราะรูปแบบที่บุรุษแต่งตัวนั้นไม่มากเท่า
      ช่วงเดรชรีฟอร์มสุภาพสตรีในช่วงปี 1911 - 1915 เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มใส่ยกทรงมีบราใช้ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ใช้ แต่ชุดจะรัดและพยุงและมีชุดที่เป็นสากล ผู้ชายจะใช้ชุดสากลมากขึ้นมาถึงปัจจุบัน เช่น หน้าหนาวผ้าพันคอ จำเป็น ซึ่งคนไทยก็อาจจะฮิตในอนาคต
       การแบ่งสินค้าหมวดแฟชั่น ส่วนใหญ่ราคาอาจแพงตอนออกใหม่แตภาพรวมเสื้อผ้าแฟชั่นจะมาเร็วไปเร็วราคาใมตลาดจะไม่สูงมากนักที่สูงเพราะมีแบรนด์ ถ้าเป็นแฟชั่นจะไม่ค่อยมีเรื่องราคาเพราะจะเป็นสินค้าที่ค่อนข้างถูก ถ้าแบ่งตามอายุ ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ แต่ถ้าแบ่งตาม Product tide จะมีผู้ชายกับผู้หญิง
       ส่วนเรื่องโลจิสติกส์ Format ของการขายสินค้าแฟชั้น ซึ่งมี 2 แบบ ได้แก่ 1. Independent Outlet คือเจ้าของร้านเป็นคนขายเอง 2. Moderm Trade
       แนวโน้มปัจจุบันเรื่องข้อมูลยอดขายของตัวแฟชั่น จากร้านค้าปกติ ทำได้ค่อนข้างยาก จึงเป็นสาเหตุให้ธุรกิจเหล่านี้ค่อยๆหายไป หรือ ที่กำลังมาแรงคือการซื้อแฟรนไชด์มาจากแบรนด์ดังๆเมื่อมีแบรนด์เข้ามาราคาก็จะแพงขึ้น ซึ่งจะเริ่มเปลี่ยนจากร้านขายของเสื้อผ้าของตัวเองก็จะเริ่มถูกแข่งขันและหายไปเอง การเติมเต็มสินค้าก็ทำได้ยาก เสื้อเชิต เสื้อโปโลที่เป็นสินค้าพื้นฐาน ไม่มีปัญหาเพราะรอบการส่ง ยังไม่ต้องอาศัยความถี่ แต่ถ้าเป็นสินค้าแฟชั่นบางที 4 เดือนหมดแล้ว เช่น ผ้าพันคอจะใชกันตอนหน้าหนาว พ้นไปแล้วขายไม่ได้ เพราะหมดฤดู หรืออาจจะฮิตปีนี้ปีเดียวรูปแบบในปีหน้าอาจจะเปลี่ยนไปอีก หมายความว่าลักษณะของการเป็ยร้านค้าแยกไป แบบ Outlet จะค่อนข้างยาก
        ดังนั้นจึงค่อยๆเปลี่ยนรูปแบบถ้าเราสามารถที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเองและติดตลาดจะดีมากแต่ก้น้อยรายที่ทำได้ในขณะเดียวกัน Modern Trade จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 1.คือไม่สนใจเรื่องราคา ตั้งไม่สูงมาก ขายในตลาดกลางถึงล่าง เช่น Discount store ไฮเปอร์มาร์เก็ต พวกนี้สนใจจำนวน Mass วางมากๆของไม่แพงมากนัก แต่อีกกลุ่ม คือ Department store เสื้อตัวหนึ่งราคา 5,000 หรือ 10,000 ราคาแพงมากจับตลาดสูงกว่า
       เรื่องการวางตำแหน่งในการใช้โลจิสติกส์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแยกให้ถูกเพื่อออกแบบโลจิสติกส์ให้เหมาะสมกับตัวสินค้าส่วนซัพพลายเชน กว้างกว่าโลจิสติกส์ไม่ได้มองแค่ 1 หรือ 2 คน ซึ่งโลจิสติกส์อาจจะมองคนที่ถัดจากเราไป 1 ชั้น เช่น ตัวเองและลูกค้า แต่ซัพพลายเชนอาจจะมี ซัพพลายเออร์ของซัพพลานเออร์อีกที หรือมองในแง่ ลูกค้าของลูกค้าอีกทีก็ได้
      แต่หลักการของซพพลายเชนเป็นความร่วมมือกันทำอะไรที่ง่ายๆ เช่นการทำอย่างไรเพื่อให้การสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ ไอทีแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในแง่การ์เมนท์นั้นซัพพลายเชนก็มีรีเทล Distributer พ่อค้าคนกลาง ซัพพลายเออรื วัตถุดิบ ผู้ผลิต เคยพบว่าเรื่องการ์เมนท์ คือ การบริหารจัดการซัพพลายเออร์ กระดุม ผ้า ซิบ ฯลฯ ความน่าเชื่อถือยากมาก จะไม่เหมือนโตโยต้าที่ใช้ระบบลีน ( Lean ) บอกว่าซัพพลายเออรืตัวหนึ่งต้องมาส่งเวลา 8 โมงพร้อมกัน 4 รายเพื่อรวมกันออกมาเป็น Part 1 ตัวซึ่งทำได้แต่ในแง่ธุรกิจแฟชั่นในไทยมีปัญหา ความน่าเชื่อถือน้อยสิ่งที่วางแผน การที่จะขึ้นเสื้อตัวหนึ่ง กระดุมไม่มา ขายไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญทำอย่างไรที่จะบริหารจัดการสิ่งที่ได้ออกแบบโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับประเภทสินค้า
       ภาพที่คุยกันทั้งหมดแล้วเกิดปัญหาในแง่โรงงานการบริหารเรื่องเวลาจะมีปัญหามากบางที Outsource ก็มีปัญหาคุมต้นทุนไม่ได้ ผู้ผลิตกับโรงงานก็มีปัญหาเรื่องการบริหารเวลา สินค้าแฟชั่นจะเร็วมาก ถ้ากรณีที่บริหารเวลาไม่ดี แฟชั่นตายไปแล้ว หากในกรณีที่ ธุรกิจแฟชั่นเปลี่ยนแปลงเร็ว จะต้องปรับตัวอย่างไร
      การเตมเต็มสินค้าหน้าร้านแนวโน้มถ้าหากขายเสื้อที่เป็นแฟชั่น ควรผลิตครั้งละเท่าไรในภาพที่เป็น Global คือไม่ควรเก็บสต็อกมากการเติมสินค้าที่หน้าร้าน ผลิตแล้วหมดคือหมด เพราะคือแฟชั่น เพราะท้ายที่สุดถ้าผลิตมากจะเป็น dead stock ถ้าแฟชั่นนั้นจบแล้ว แล้วจะขายได้อย่างไร แนวโน้มนี้จะเริ่มไม่มีการเติมเต็มสินค้าผลิตครั้งเดียว
      ต่อมาจะเริ่มมี Distribution Channel คือช่องทางการจำหน่ายมากขึ้น E-Business ในไทยอาจจะไม่เคยเกิดมากนัก การใชอินเตอร์เน็ตซื้อของ ไม่ค่อยนิยม เพราะคนไทยยังกลัวเรื่องปลอดภัย คนไทยนิสัยจะขอเห็นของก่อนถ้าไม่เห็นจะไม่เชื่อมั่นว่าจะได้รับสินค้าหรือบริการตามที่ต้องการดังนั้นยังนิยมที่จะไปดูของจริงที่ร้านก่อนและมีเรื่อง Cost คือเมื่อมี E-Business เข้ามาเกี่ยวข้องก็มองว่าต้นทุนน่าจะต่ำลง แรงกดดันจะถูกผลักไปที่ตัวต้นมากทุนมากขึ้นทุกคนต้องเริ่มปรับตัวทั้งผู้ผลิตและรีเทลเลอร์
    ในฝั่งของรีเทลเลอร์ ปรับตัวอย่างไรกับสินค้าแฟชั่น คือต้องไปหาจากแหล่งที่ไม่แพงมากนัก ตอนนี้จีนกำลังมาแรง เพราะมีแรงผลักดันเรื่อง Cost มาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งเมืองไทยตอนนี้รายได้จากสินค้าส่งออกด้านการ์เม้นท์ประมาณ 9% สินค้า แต่ถ้าดูต้นทุนจริงในภาพพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบไม่ได้แล้ว กัมพูชาส่งออกการ์เม้นท์มาก ในความหลากหลายของตัวสินค้ามีมาก
     ในกรณีศึกษาจะพูดถึง ZARA จะทำอย่างไรถึงจะมี Collection หรือจำนวนของสินค้าให้ลูกค้ามากที่สุด มีเรื่องเกี่ยวกับ Product Life Cycle จะเริ่มต่ำลง ความต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นทุกคนต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบสินค้าแฟชั่นให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น Logistics Process ในองค์รวมเป็นอย่างไรตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภครายสุดท้าย
     ซึ่งโมเดลที่ใช้ในไทย มาจาก GS1 ที่ประชุมในประเทศเยอรมัน ตามFlow แบ่งได้ตั้งแต่ผู้ผลิตส่งตรงมาที่ศูนย์กระจายสินค้ามาที่รีเทลเลอร์ ถ้าไม่มาที่ศูนย์กระจายสินค้าก็ไปที่ Outlet เลยจากนั้นจะส่งไปที่สโตร์ 1 ซึ่งจะเป็นร้านค้า ส่วนสโตร์ 2 เป็นอีกสโตร์ที่เป็นหน้าร้านเช่นกัน ถัดมาจะเป็นหน้าร้านที่ลูกค้าจะเดินเข้าไปดูและซื้อสินค้า ต่อไปจะเป็น Post หรือ Point of sale จุดขายหรือตัวลูกค้าสิ่งที่ต้องการบอกคือตัวที่เป็นผู้ผลิตหน้าที่ คือผลิตสินค้าและบริการจากนั้น มีการดูแลเรื่องการขนส่งให้เป้นไปตามใบสั่งซื้อ
       ปัจจุบันการส่งของมี 2 ประเภทตามข้อตกลงของรีเทลเลอร์และผู้ผลิต 1.ซื้อขาดแต่สินค้าแฟชั่นมักไม่นิยม การซื้อขาดหมายถึงว่าถ้าซื้อจากใครสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดอยู่ที่คนซื้อ 2. การฝากขายจ่ายเงินเมื่อเกิดยอดขาย ความรับผิดชอบอยู่ที่ผู้ผลิตเป็นหลักการ
      ปัญหาของผู้ผลิตคือ เรื่องของข้อมูลข่าวสารไม่ถึงกัน เช่น ชุดชั้นในสตรีคนไทยจะใส่ขนาดคัพบีโดยเฉลี่ย คำถามคือถ้ามีข้อมูลไม่ถูกต้องจะเกิดอะไร ตัวอย่างที่สาขาชิดลมลูกค้าเป็นอีกระดับ ไฮโซ และชาวต่างประเทศ ไม่ค่อยมี บี หรือ เอ  จะเป็นขนาดคัพ ซี หริอ ดี ไปเลย หรือถ้าวางตำแหน่งสินค้าไม่ดีจะไม่รู้ยอดขายว่าขายจริงเท่าไร
     ถ้าต้นทางที่เซนทรัลชิดลมไม่ได้แจ้งไปยังผู้ผลิต การเติมเต็มสินค้าก็จะมีปัญหา ทำให้ของขาดและขายของไม่ได้และสุดท้ายลูกค้าก็จะไม่มาเดินที่สาขาชิดลมเพราะไม่มีสินค้า สิ่งสำคัญในการถ่ายทอดข้อมูลจากต้นทางไปปลายทางได้ ซึ่งต้องใช้ Tool การส่งผ่านอิเล็กทรอนิกส์ data มียอดขาย เช่นวันนี้ตัวนี้ขายได้ 3 ชิ้น อีกตัวขายไม่ได้เลยต้องนำข้อมูลส่งไปให้ผู้ผลิตเพื่อวางแผนการผลิตหรือการส่งได้
      เมื่อมีข้อมูลส่งไปจากต้นทางไปปลายทางผิดพลาดก็ไม่ได้ เพราะถ้าใครทำเป็นแบบครอบครัว อย่าหวงข้อมูลข่าวสารเลย พยายามเชร์ข้อมูลข่าวสารให้มากทีสุดแต่ให้เลือกให้ถูกว่าควรแชร์ข้อมูลอะไรไม่ใช่แชร์หมดทุกเรื่อง
    ส่วน Direct Store Delivery คือส่งตรงจากร้านค้าไปที่หน้าร้าน โดยไม่ผ่านศูนย์กระจายสินค้า ส่วนศูนย์กระจายสินค้าทำหน้าที่ในการรวมสินค้าของแต่ละเจ้า ข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน บางคนบอกว่าส่งผ่านศูนย์กระจายสินค้าดีกว่าเพราสามารถตอบสนองลูกค้าได้ดีกว่าแต่ก็ไม่ใช่ทุกร้านค้า เพราะต้นทุนแต่ละร้านต่างกัน ส่วนข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูงมาก เพราะการเติมเต็มทำได้ตลอดแต่ท้ายที่สุดตัวที่เป็นต้นทุนแฝงอยู่แต่ไม่ค่อยคิดเลย ในแง่ของการส่งตรงมีแบบนี้
    สรุปข้อดี คือ การยืดหยุ่น แต่ข้อเสีย คือ cost แต่ยังไม่เคยมีการคุยกันตรงๆเท่าไร  ในภาพ DC จะให้ประโยชน์ในแง่ economy of scale คือ รวมศูนย์ที่จุดเดียว ดังนั้น cost ต่อหน่วยลดลงได้ในเรื่องความถี่ ส่วนการส่งตรงอาจจะมีปัญหา เช่น ระยะทางความเชื่อมั่นที่สินค้าจะไปถึงและความถี่ที่ทำได้ไม่มากเหมือนรวมกัน DC แล้วจัดส่งไป
     เรื่อง Cross docking แฟชั่นเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่มีใครเก็บ inventory ไว้ที่รีเทล DC cross dock คือการนำสินค้ามาถึงที่เราแทนที่จะเก็บก็ให้ส่งออกได้เลย มีอีกวิธี คือ Flow to หลักการไม่มี inventory เข้ามาแล้วออกไปเลย สินค้าแฟชั่นเป็นวิธีที่ดีเพราะจะทำให้ inventory ที่เกิดขึ้นในระบบมากแฟชั่นเรื่อง speed เป็นเรื่องสำคัญส่วนตัว flow to การคุยระหว่างคู่ค้า กรณีที่จะแยกเป็นรายสาขา cost จะสูง รีเทลเลอร์หลายเจ้าจะทำ flow to รับเป็น bound เช่นสูท ไซด์นี้แบบนี้รับมาทีเดียว 12 ตัวแล้วมาคัดแยก โดยสร้างกล่องขึ้นมาใหม่และยัด item อะไรและส่งออกไปไม่มีการเก็บเช่นกัน
     เป็นวิธีตอบสนองแฟชั่นได้สามารถทำได้กับสินค้าทุกอย่างไม่เฉพาะสินค้าแฟชั่นเท่านั้น เช่น บางรีเทลเลอร์รายใหญ่ทำ cross docking center กันหมดเพราะต้องการให้มี cost น้อยที่สุดและเก็บสต๊อกเฉพาะ item เฉพาะเท่านั้น
     เมื่อถึงจุดนั้น back room ทำหน้าที่เก้บสินค้า และตรวจสินค้าราย item ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ทั้งคุณภาพและปริมาณจากนั้น ทำหน้าที่จัดเก็บส่งไป display ส่วน front store คือหน้าร้านมีหน้าที่ขายของอย่างเดียว ทำ display ให้สวยดูดีและขายส่วน store to back room เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสินค้าแฟชั่น เพราะที่หนึ่งอาจขายดี อีกที่อาจขายไม่ดี เป็นเรื่องการบริหารสินค้าคงคลัง เช่น รองเท้าขายได้ไม่กี่ไซด์ ลูกค้าต้องการซื้อในไซด์ที่ไม่ค่อยมาตรฐานเช่น 44 และเป็นแฟชั่นด้วย
     ประเด็นคือการโอนจากสาขาหนึ่งที่ไม่มีสต๊อกอยู่ เช่น สโตร์นี้ไม่เคยมีลูกค้าเท่าใหญ่เข้ามาซื้อเลย ที่ต้องทำคือ เช็คสโตร์อื่นว่ามีของอยู่หรือไม่ถ้า system ดีจะรู้ว่าสโตร์ไหนมีสินค้า จะขอโอนจากสโตร์นั้นมาสโตร์นี้ และตกลงกับลูกค้าว่าต้องรออย่างไรนานแค่ไหน
     เรื่องจำเป็นสำหรับสินค้าแฟชั่นถ้ามี Logistics Network ที่ดี การมีสาขาหรือโรงงานหลายที่ การเก็บ inventory สำหรับสินค้าบางตัวทำอย่างไร แต่การบริหารจัดการสต๊อกของไทยแย่มาก ระบบบอกว่าอยู่ตรงนี้แตไปดูจริงไม่มี
    สุดท้าย point of sale หน้าที่คือส่งสินค้าและบริการจะถูกส่งไปให้ลูกค้าเป็นโมเดลซัพพลายเซน
  สิ่งที่สำคัญที่สุดของสินค้าแฟชั่นต้องดู Reverses Logistics ซึ่งมีมหาศาลสต๊อกโดยปกติของสินค้าแฟชั่นในไทยเท่าที่มีข้อมูลในมือ คือ 5-1 หมายความว่าถ้าขายได้ 1 จะต้องสต๊อก 5 เท่า ส่วนที่ต่างกันคือ 4 เท่าเมื่อ season จบจะไปอยู่ที่ไหน มีบางที่นำเสื้อผ้านั้นไปตัดทำแบบใหม่ เพื่อไม่ทิ้งของบางทีก็ลดราคาตอนนี้ไม่มีความตื่นเต้นในการทำโปรโมชั่นอีกแล้วห้างนี้โปรโมทแรงมากอย่าง midnight sale เมื่อก่อนลูกค้านิยมมากแต่เดี๋ยวนี้ขาดความขลังของโปรโมชั่นไปแล้ว แต่ไม่ทำก็ไม่ได้ ความพยายามไม่มีต้องกระตุ้นให้คนใช้จ่าย
     เรื่อง Reverses สาเหตุหลักที่ต้องคืนของสินค้าไม่เป็นไปตามคาดหวังไว้ของผู้ซื้อ สินค้าแฟชั่นถ้าเป็นตลาดล่างไม่ค่อยมีปัญหา แต่ไม่ร้องเรียน แต่ที่เป็นตลาดบนลูกค้าจู้จี้ที่สุด ถ้าซื้อของไม่ได้ดั่งใจต้องคืน ไม่เกรงใจกันเลย
     เป็นพฤติกรรมของลูกค้าแบบนี้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป Product Recall สินค้าแฟชั่น ถ้าตลาดล่างมีปัญหาบ้าง เช่น ด้ายหรือจักรพัง เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตเสีย ทำให้การขึ้นด้ายไม่สามารถตรึงหรือด้ายหลุดบ่อยทำให้ล็อตนี้ เรียกสินค้ากลับเข้ามา แต่แฟชั่นอาจจะน้อยแต่สินค้าหมวดอาหารหรือเครื่องสำอางจะมีผลมากและต้นเหตุที่ทำให้มีการคืน คือ ขายไม่ได้ สินค้าแฟชั่น คือทำอย่างไรให้มี ture over late สูงที่สุด
    โมเดลของ ZARA จะมีตัวหนึ่งบอกถึงวิธีการแก้ปัญหาว่าออกแบบไว้อย่างไรสิ่งที่ลูกค้าเดินออกไป มรนโยบายเลยว่าถ้าจะนำสินค้ามาคืนจะต้องมีป้าย Tag ต้องอยู่เป็นมาตรฐานของผู้ค้าปลีกทำ ส่วนการตัดสินใจของผู้ดูแลหน้าร้านเมื่อมีการรับสินค้าคืนมาจะไป display ต่อหรือไม่เช่น ซื้อไปฝากแล้วประมาณการขนาดผิดต้องเปลี่ยนเป็นสาเหตุหนึ่ง ดังนั้นก็ต้องตัดสินใจ หรือกรณีสินค้ามีความเสียหายบ้างจะรับเปลี่ยนหรือไม่หรือคิดว่านำมาตั้งโชว์ไม่ได้ จะกลับไปที่ DC หรือผู้ผลิตเป็นต้น
    ส่วน back room ที่ออกแบบจัดเก็บจะเป็นอย่างไร จะแบ่งหรือจำแนกอย่างไร เพื่อให้การคืนมีประสิทธิภาพ ส่วน DC ทำหน้าที่ทั้งเช็คปริมาณและคุณภาพเพื่อส่งกลับ ถ้าส่งกลับก็ต้องตัดสินใจว่าจะผ่านช่องทางอื่นหรือไม่หรือจะทำลาย ซึ่งการทำลายขอเคลมภาษีคืนได้มากกว่าการไปขายต่อเสียอีก
    สาเหตุที่ทำให้ซัพพลายเซนสูญเสียไปได้แก่ 1.ความโปร่งใสในการส่งผ่านข้อมูลเรื่อง out of stock ซึ่งมีของที่ไม่ได้ ตัวที่ต้องการขายก็ไม่มีสต็อก เรื่อง operation จัดของผิดบ้างถูกบ้างยอดสูญเสีย นอกจากนั้น เรื่องสินค้าแฟชั่น เรื่องสินค้าล้าสมัยสำคัญมากเรื่องยักยอก ไม่ซื่อ ทั้งหน้าร้าน หรือลูกค้าก็มีมาก พวกร้านค้าไม่มีเครื่องโฟส แต่ต้องการลดพิเศษ แล้วกินข้างนอกกันต่างหากยังมีอยู่ตอนนี้เรื่องของปลอม แฟชั่นเมืองไทยเก่งมากเรื่องซัพพลายเซนเห็นของใหม่ coppy ได้ทันทีและนำเข้า lead time ได้เลย เร็วกว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์อีกและเรื่อง customer service ที่มีผลต่อซัพพลายเซนเช่นกัน
   กรณีของเซนทรัลมีการเก็บสินค้าจัดการอย่างดีไม่ให้เกิดการยับตลอดกระบวนการจัดส่งใน Logistic Model เป็นแบบง่ายๆเป็นสินค้าคงคลังจะเก็บเข้า DC ขณะที่รับมาจากซัพพาลยเออร์จะเก็บเข้าคลังสินค้ามา pick แล้วรอ cross dock แล้วมารวมกัน โมเดลจะง่ายมากแต่วิธีการทำงานจะมีการ planning เรื่อง Resources อย่างไรให้เข้ากันพอดีเป็น just in times เล็กๆเป็นโมเดลของ เซ็นทรัล โรบินสันในปัจจุบัน
    ของ ZARA ในกรณีที่บอกว่าสินค้า 1 ต่อ 5 จะทำอย่างไร โมเดลที่นำมาจากมหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟียกล่าวว่าต้นแบบจะมีการผลิตมากและเติมไปก่อน เมืองไทยส่วนใหญ่ก็ทำแบบนี้มาก คือ ตั้งกองให้มากๆก่อน ซึ่งคุยกับซัพพลายเออร์ ต้องมากๆ ยิ่งตั้งมากก็ยิ่งมีโอกาสขายมากภายใต้ concept นี้แต่ ZARA ไม่ได้ทำแบบนี้ ทำน้อยๆก่อนแต่เริ่มจะมีการเติมสินค้าเข้าไปส่วนประเภทอื่นเมื่อเริ่ม season สินค้าจะมีเต็มแล้ว ZARA จะค่อยๆเติมไปเรื่อยๆดังนั้นโอกาสเสี่ยงในแง่ของสูญเสียจะน้อยกว่า concept ถ้าใครกล้าก็น่าสนใจเพราะสินค้าแฟชั่นเมื่อออกไปแล้วไม่รู้ว่าตัวนั้นจะตายเร็วหรือจะดีแบบ ZARA คือดูโอกาสก่อน ถ้าดีค่อยมาผลิตแต่ก็ต้องมีปัจจัยอื่นที่จะช่วย เช่น ไลน์การผลิตมีความยืดหยุ่นหรือไม่
     เมื่อ end of season  คือคนที่มีของอยู่มากและเหลือ การลดราคาต้องทำแรงๆ ดังนั้นกำไรจะน้อย เท่าที่ดู ZARA มีกำไรประมาณ 17 % ในขณะตัวอื่นมีประมาณ 10% คำถามคือ ถ้าดูวิธีการผลิตของ ZARA จะมีต้นทุนที่สูงมากต้องหาการออกแบบโลจิสติกส์ซัพพลายเซนให้ดีที่สุด
     สินค้าแฟชั่นจะผลิตครั้งละมากๆและขายครั้งละมากๆ เทรนด์เปลี่ยนไปแล้วคือ ถ้าเดินเข้าไปในร้านแล้วชอบตัวนี้แล้วถ้าไม่ซื้อตอนนี้จะหาซื้อไม่ได้จะหมดและไม่มีการผลิตแล้วเป็น Concept ที่ ZARA ใช้ ถ้าไม่ซื้อก็ไม่มีแล้วและมีเรื่อง up to date design คือเค้าต้องการข้อมูลที่กลับมาเก็บรายละเอียดทั้งหมดของดีไซเนอร์ อยู่ที่ไซด์ ไซด์อยู่ที่ลาคอรุนญ่า และมี DC 2ที่ คือ ลาคอรุนญ่า และซาราโกซ่า ในแง่สำนักงานใหญ่ก็พยายามทำ up to date คือปีหนึ่งจะมรแบบประมาณ 40,000 แบบ แต่นำออกมาขายจริงได้ปีหนึ่งประมาณ 10,000 แบบ
     เรื่องเกี่ยวกับ Quick respond จะคล้ายหลักการของ ECR แต่ ECR จะใช้รีเทลแค่ QR จะใช้ทาง USA และยุโรปเรื่อง centralize DC  ส่วนใหญ่ผู้ผลิตแฟชั่นจะ outsource ออกแต่ ZARA ไม่ใช่จะมี outsourceประมาณ 10% แต่บริหาร 90% ไว้ อะไรที่ยากจะทำเองตัวที่ง่ายจะ outsource ออกไป ส่วน advertising สินค้าแทบไม่มีการโฆษณาแต่จะมี concept ชัดเจน
    ทำไมZARA ไม่โฆษณาได้เพราะลูกค้าของZARA จะรับรู้ว่าสินค้าจะออกมาใหม่เรื่อยๆเดือนหนึ่งจะมีประมาณ 2 ครั้ง ในขณะที่ ZARA ทราบว่าลูกค้าจะเข้าสโตร์ประมาณ 17 ครั้ง โฆษณาทำแต่เทียบกับ sale จะใช้ประมาณ 0.3% ในขณะที่บริษัทอื่นจะใช้ประมาณ 3-4% ซึ่งบริษัทต่างๆจะรู้ว่าแต่ละปีต้องตั้งงบประมาณด้านโฆษณาไว้เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ ZARA ชนะในตลาดซึ่งการทำโฆษณาสามารถทำให้เป็น focus group แนวที่ต้องการคือต้องการนำสินค้าออกมาในฝั่งของลูกค้าที่เป็น Young lady ให้มาใช้บริการ ในขณะเดียวกันก็ใช้ Globalization คือเริ่มมีการเปิดสโตร์มากขึ้น มีประมาณ650 แห่ง มี outlet 50 แห่งที่เมืองไทยมี 3 outlet
    สรุปจากที่มีการทำการศึกษาไว้ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด เรื่อง Business Review ของโคลัมเบียกล่าวว่าในแง่ ZARA พยายาม Communication Loop ต้อง close มันถ้ามองในแง่ของซัพพลายเซนหรือ โลจิสติกส์สิ่งสำคัญคือ information flow การบริหารการส่งผ่านตัวข้อมูลข่าวสารทำอย่างไรให้ทุกคนในเซนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารทันเวลาและรวดเร็วนอกจากนี้ยังมีเรื่องการ operate cost ที่แพงมากๆโดยใช้เวลาประมาณ 72 ชั่วโมงในการส่งสินค้าไปที่ญี่ปุ่นในยุโรปด้วยกันใช้เวลา 2 วันทำไมทำได้เพราะใช้เครื่องบินทั้งหมดเพราะคือแฟชั่นนั่นคือทำให้สามารถเกณฑ์เรื่องการขายกลับเข้ามาจึงไม่ต้องสนใจ costที่สูงขึ้นและรู้ได้ว่า bottom line ทำได้
    กรณีที่ใช้เครื่องบินขนส่งสินค้าแฟชั่นใช้เวลาภายใน 2-3 วันเท่านั้น ถ้าขนส่งทางเรือใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนสินค้าไม่เป็นแฟชั่นแล้วและท้ายที่สุดการบริหารทรัพยากรตัวที่ผันแปรกับ ตัวที่เป็น คงที่ควรจะรู้ว่าตัวไหนที่ควรทำ in-house กลยุทธ์ทำเอง 90% ส่วนอีก 10 %ก็ outsource ในขณะเดียวกันกรณีศึกษาที่โคลัมเบียยังบอกว่าในการบริหารตัวสินค้านี้ เรื่อง small bat สำคัญคือจะไม่มีการrefinish สินค้าเข้าไปที่ outlet คือจะผลิตเท่าที่ประมาณการและขายได้เวลาผลิตจะถี่ขึ้นและไม่สนใจเรื่อง cost แพงหรือไม่ในแง่ความคิด แต่ Resources ที่กลับมาในเมืองไทยอาจจะค้านความรู้สึก แต่คนที่เป็นเจ้าของ ZARA เก่งมากช่วงแรกอาจจะล้มลุกคลุกคลานเริ่มจากผลิตชุดชั้นในให้ทางเยอรมันปี 1975 เค้า๔กยกเลิกออเดอร์ถ้าจะทำคงต้องคิดก่อนเพราะไม่ได้โชคดีเหมือนอย่างเค้า

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์

                          เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์
    เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล (With diesel engine ) จะมีการใช้พลังงานสำรองเมื่อไฟฟ้าด้านเข้าผิดปกติเป็นเครื่องยนต์ดีเซล แทนที่จะเป็นแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้การจ่ายไฟฟ้าที่ต่อเนื่องไม่ขาดตอนก่อนที่เครื่องยนต์ดีเซลจะจ่ายพลังงานสำรองนั้น เกิดจากความเฉื่อยจากการหมุนของชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง
   เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล มีการออกแบบเป็น 2 แนวทางดังนี้
1.เตรื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดมอเตอร์-เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบล้อหมุนตายตัว โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล ( M-G set,Fixed flywheel )
2.เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล ( Induction coupling ) รายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบล้อหมุนตายตัว โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล
      เครื่องยูพีเอสชนิดโรตารี่ชนิดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบล้อหมุนตายตัว ( M-G set,Fixed flywheel )โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล มีชุดขับเคลื่อนอยู่ 2 ชุดที่ถูกต่อเพลาขับเคลื่อนร่วมกัน คือ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (ออลเตอร์เนเตอร์) โดยต่อเข้ากับล้อหมุน
      การทำงานของอุปกรณ์ชุดนี้คือ รับไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าที่มอเตอร์กระแสสลับซึ่งต่อเพลาตรงไปขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ทำการผลิตกำลังไฟฟ้าขึ้นมาใหม่เพื่อจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไปนอกจากนั้น ยังมีเครื่องยนต์ดีเซลที่ต่อเพลาผ่านล้อหมุนไปเข้ากับชุดมอเตอร์-เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบื้องต้น โดยทำหน้าที่จ่ายพลังไฟฟ้าให้กับระบบในกรณีที่ไฟฟ้าเกิดขัดข้องได้โดยต่อเนื่องไม่ขาดตอน ทั้งนี้เนื่องจากในระหว่างที่ไฟฟ้าด้านเข้าขัดข้องก่อนที่เครื่องยนต์ดีเซลจะทำงานเต็มที่นั้น ล้อหมุนยังคงมีพลังงานจลน์ (Kinetic energy )ที่ยังหลงเหลืออยู่ในชุดล้อหมุนจากการหมุนปกติ
     เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบล้อหมุนตายตัวโดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซลนี้ นอกจากกรองไฟฟ้าและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าแล้ว ยังมีความสามารถอื่นๆได้อีกคือ
 - การเปลี่ยนความถี่ไฟฟ้า  ชุดเกียร์ที่อยู่ระหว่างมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับทำให้สามารถเปลี่ยนความถี่ไฟฟ้าด้านเข้า 50 เฮิร์ท ไปเป็นความถี่ด้านนอกตามที่ต้องการได้ เช่น 60 เฮิร์ทหรือ 400 เฮิร์ท
 - การทำงานต่อเนื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ไม่ขาดตอน แม้ว่าจะเกิดไฟฟ้าขัดข้องเนื่องจากความเฉื่อยจากการหมุนดังกล่าวและมอเตอร์ซิงโครนัสจะทำงานเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ตามเวลาที่ตั้งไว้ระหว่าง 0.2 - 10 วินาที
     เครื่องยูพีเอสชนิดนี้ ได้ถูกพัฒนามากขึ้นอีก คือ มีชุดคอนเวอเตอร์ชนิดสแตติก และมอเตอร์ซิงโครนัส โดยอินเวอร์เตอร์จะถูกต่ออนุกรมเข้ากับมอตเอร์ซิงโครนัสเพื่อรักษาความถี่ไฟฟ้าด้านออกให้มีความเที่ยงตรงก่อนที่จะจ่ายเข้ามอเตอร์ เพื่อให้รับระบบไฟฟ้าที่มีความถี่ไฟฟ้าด้านเข้าได้กว้างขึ้น
     เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล
  การออกแบบยูพีเอสโรตารี่ชนิดอินดักชั่นคัพลิง ( Induction coupling ) โดยใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล เป็นการพัฒนาระบบขับเคลื่อนขึ้นมาใหมีลักษณะการทำงานแบบขนานคู่ไปกับระบบไฟฟ้าปกติ คือ ทำการขนานระบบไฟฟ้าตามปกติเข้ากับพลังงานสำรองฉุกเฉินซึ่งเป็นเครื่องยนต์ดีเซลให้ทำงานได้ในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง และในภาวะปกติ ถือได้ว่าจะมีการกรองไฟฟ้าให้ได้คุณภาพที่ดี
   ข้อได้เปรียนของเครื่องยูพีเอสชนิดนี้ คือ ทำการต่ออยู่กับระบบในรูปแบบของคู่ขนาน และเชื่อมโยงอนุกรมกับระบบหลักอีกด้วย ซึ่งการที่มีอุปกรณ์กรองไฟฟ้าวางอยู่ระหว่างระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าและโหลดที่ใช้งานนั้นนอกจากจะเป็นการป้องกันระบบไฟฟ้าที่ดีแล้วยังเป็นการประหยัดทางด้านพลังงานไฟฟ้าได้อีกมากด้วย ส่วนในระบบหลักนั้น การที่ชุดอินดักชั่นคัพลิงทำงานขนานไปพร้อมกันกับการทำงานของระบบไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จะทำให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
  การต่อยูพีเอสโรตารี่แบบขนาน
  เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าจะมีระบบยูพีเอสตามปกติแล้วเราสามารถนำเครื่องยูพีเอสโรตารี่มาทำการต่อขนานกันได้

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

เครื่องยูพีเอสโรตารี่

                                              เครื่องยูพีเอสโรตารี่
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ ( Rotary UPS ) ใช้ในการรักษาคุณภาพของระบบไฟฟ้า คือ ทำการกรองคลื่นรบกวนทางไฟฟ้า ปรับแรงดันไฟฟ้า ปรับความถี่ไฟฟ้าและจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยจัดสร้างพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ ด้วยการใช้การหมุนและมีการขับเคลื่อน หรือใช้การหมุนจากมอเตอร์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  เครื่องยูพีเอสโรตารี่นี้แยกอุปกรณ์ที่ช่วยในการจ่ายพลังงานสำรองได้เป็นสองประเภท คือ
    -เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใพลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ ( with battery )
    -เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากเครื่องยนต์ดีเซล (with diesel engine)
1.เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
     เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ (with battery )มีหลักในการทำงานคือให้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ จ่ายเข้าอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแล้วทำการอัดไฟแบตเตอรี่ให้เต็ม โดยมีชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยเพลาร่วมกันเพื่อจ่ายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป
   เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่นี้มีการออกแบบเป็นสี่แนวทางดังนี้
 - เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรงโดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ ( M-G set with AC and DC drive )
 - เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ ( M-G set with DC drive )
 - เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ ( M-G set with AC drive )
 - เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ ดดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ (Uniblock convertor )
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรงโดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
        เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์-เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง (M-G set with AC and DC drive )โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ จะมีชุดขับเคลื่อนหลักอยู่ จำนวน 3 ชุดที่ต่อเพลาขับเคลื่อนร่วมกันและพร้อมกัน คือ มอเตอร์กระแสสลับ มอเตอร์กระแสตรงพร้อมชุดอัดไฟให้แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
       การทำงานของอุปกรณ์ชุดนี้จะรับพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งต่อเพลาตรงไปขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสตรง และต่อเพลาตรงไปขับเคลื่อนเคื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่ไฟฟ้ากระแสสลับด้านเข้าเกิดขัดข้อง ยังมีแบตเตอรี่ที่ถูกอัดไฟสำรองไว้ เพื่อช่วยจ่ายพลังไฟฟ้าสำรองให้แก่มอเตอร์กระแสตรง และยังมีชุดบายพาส ( Bypass ) พร้อมชุดควบคุมและตรวจจับอีกด้วย
     ในระหว่างทำงาน อุปกรณ์มอเตอร์กระแสสลับ มอเตอร์ระแสตรง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ และชุดบายพาส จะถูกควบคุมจากชุดตรวจจับ เพื่อให้ระบบกำลังไฟฟ้าที่ได้ และระบบกำลังไฟฟ้าจากชุดบายพาสอยู่ในภาวะซิงโครไนซ์ (Synchronize ) กันตลอดเวลา
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
    เครื่องยูพีเอสชนิดชุดมอเตอร์-เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (M-G set with DC drive ) โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ มีลักษณะเหมือนกับเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง แต่เปลี่ยชุดมอเตอร์กระแสสลับด้านเข้า เป็นชุดเรคติไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์ชนิดสแตติก (Static rectifier / charger )แทน
    การทำงานของอุปกรณ์ชุดนี้ จะรับพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าที่ชุดเรคติไฟเออร์ชนิดสแตติกเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรงไปขับเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงที่ต่อเพลาตรงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนั้น ในกรณีที่ไฟฟ้ากระแสสลับด้านเข้าเกิดขัดข้องชุดแบตเตอรี่ที่ถูกอัดไฟและเก็บพลังงานสำรองไว้จะขับเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง อีกทั้งยังมีชุดบายพาสพร้อมชุดควบคุมและตรวจจับให้อีกด้วย
    เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรงจะมีประสิทธิภาพและการทำงานที่ดีกว่าเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
       เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ( M-G set with AC drive )ดดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่มีลักษณะเหมือนกันกับเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง แต่นำชุดอินเวอร์เตอร์ชนิดสแตติก มาต่อด้านหลังของชุดเรคติกไฟเออร์ / ชาร์จเจอร์สแตติก และเปลี่ยนจากมอเตอร์กระแสตรงเป็นมอเตอร์กระแสสลับ
      เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดนี้บางครั้งจะถูกเรียกว่า ยูพีเอสโรตารี่แบบไฮบริค ( Hybrid UPS ) ในการทำงานจริงของเครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดนี้ คือ จะรับพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับเข้าที่ชุดเรคติกไฟเออร์ชนิดสแตติก เปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรงเพื่ออัดไฟให้แบตเตอรี่แล้วจึงใช้ชุดอินเวอร์เตอร์ชนิดสแตติกเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับที่ไม่จำเป็นต้องมีรูปคลื่นไฟฟ้าที่ดีโดยชุดอินเวอร์เตอร์จะขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสสลับที่ต่อเพลาตรงไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อจ่ายไฟกระแสสลับไปยังโหลดต่อไป ในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง ก็ยังมีแบตเตอรี่ช่วยจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้กับชุดอินเวอร์เตอร์ได้อีกด้วย
     ในภาวะปกติไฟฟ้ากระแสสลับด้านเข้าจากแหล่งไฟฟ้าตามปกติจะขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสสลับที่ต่อตรงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อจ่ายไฟฟ้าที่มีคุณภาพที่ดีไปยังโหลด ทั้งนี้ในภาวะนี้ชุดมอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำหน้าที่เหมือนกับ เครื่องกรองไฟฟ้าแบบโรตารี่ ( Rotary filter )และยังทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม
    จากเครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ทั้ง 3 ข้างต้นจะเห็นได้ว่า เครื่องยูพีเอสโรตารี่ที่ใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่ข้างต้น มีการสูญเสียกำลังไฟฟ้าสูงมากและจะต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งค่อนข้างมากจึงไม่เหาะสมนักที่จะนำมาใช้งานในปัจจุบันซึ่งต้องการพื้นที่ในการติดตั้งให้น้อยที่สุดแต่หากพิจารณาถึงความทนทานในด้านการใช้งานก็นับว่ามีความทนทานสูงมาก
เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
  เครื่องยูพีเอสโรตารี่ชนิดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์ ( Uniblock cnovertor )โดยใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่สำรอง ได้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ โดยพยายามลดความสูญเสียกำลังไฟฟ้าลงจากเดิม
   การที่มีการพยายามออกแบบและพัฒนาขึ้นใหม่นี้ทำโดยสร้างชุดคอนเวอร์เตอร์แบบหมุน (Rotating convertor )ขึ้นและถูกเรียกว่า ยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์
    หากนำชุดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์มาเปรียบเทียบกับชุดมอเตอร์ - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (M-G set)ตามปกติแล้วชุดยูนิบล็อคคอนเวอร์เตอร์จะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะให้ความสูญเสียกำลังไฟฟ้าจะลดตามไปด้วย และการที่ชุดหมุนทั้งหมดรวมอยู่ในชุดเดียวกัน ทำให้การทำงานของและระบบมั่นคงขึ้น

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบไฟฟ้าและปัญหา

                                     ระบบไฟฟ้าและปัญหา
การที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีอยู่หลายประเภทและอุปกรณ์ไฟฟ้าก็มีอยู่หลากหลาย การรบกวนทางไฟฟ้าจึงเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยอาจเกิดจากต้นทาง เช่น แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรือเกิดที่ปลายทางจากโหลด เนื่องจากโหลดบางชนิดจะรบกวนกันเอง ซึ่งการรบกวนนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของระบบไฟฟ้าได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงประการแรกคือ การจ่ายกระแสไฟฟ้า การจ่ายแรงดันไฟฟ้า และการจ่ายความถี่ไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า จะต้องมีคุณภาพที่ดีมีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในที่นี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบและสาเหตุต่างๆที่ทำให้ระบบไฟฟ้ามีคุณภาพด้อยลง เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
1.ระบบจำหน่ายไฟฟ้าและความมั่นคงในระบบ  ระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับผู้ใช้นั้นมาจากองค์กรที่ทำการผลิตและจ่ายพลังงานไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และองค์กรที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานดังกล่าวได้ได้ทำการผลิตพลังงานไฟฟ้า และติดตั้งระบบไฟฟ้าจ่ายไปยังจุดต่างๆจนกระทั่งถึงผู้ใช้นอกจากนั้นแล้วอาจมีผู้ใช้ไฟฟ้าบางรายได้ทำการได้ทำการผลิตไฟฟ้าขึ้นเพื่อทดแทนหรือสำรองไว้ใช้เอง
         การผลิตไฟฟ้าและการส่งจ่ายไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า หรือการผลิตไฟฟ้าสำรองทดแทนของผู้ใช้ไฟฟ้าเองอาจมีองค์ประกอบที่ทำให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติหรือเกิดขัดข้องขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่นระยะทางส่งจ่ายไฟฟ้าที่ไกลเกินไป ฟ้าผ่า ผู้ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป การใช้งานเกินกำลัง ต้นไม้ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการผิดปกติและรบกวนกัน เช่น เครื่องเชื่อม เครื่องกลึง เป็นต้น
        ระบบไฟฟ้าในสายส่งไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า 22 กิโลโวลด์ หรือ 33 กิโลโวลด์ หรือแรงดันไฟฟ้าที่ค่าอื่นได้ถูกลดขนาดแรงดันไฟฟ้าลงเป็นไฟฟ้าแรงต่ำจ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย นั่นคือ กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการระบบไฟฟ้าเป็น 3 เฟส จะแปลงให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าเป็น 380 โวลด์ 3 เฟส ความถี่ไฟฟ้า 50 เฮิร์ท และกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการระบบไฟฟ้าเป็น 1 เฟส จะแปลงให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าเป็น 220 โวลด์ 1 เฟส ความถี่ไฟฟ้า 50 เฮิร์ท ดังนั้นจะขอกล่าวการใช้ไฟฟ้าที่ระดับไฟฟ้าแรงดันต่ำขนาด 1 เฟสและ 3 เฟส
         ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าพิเศษเฉพาะ เช่นคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือสื่อสารหรือเครื่องมือแพทย์นั้นส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะใช้งานกับระบบไฟฟ้าที่มีความเที่ยงตรงของแรงดันไฟฟ้า ความเที่ยงตรงของกระแสไฟฟ้า และความเที่ยงตรงของความถี่ไฟฟ้าตามพิกัดที่กำหนดไว้นอกจากนั้นแล้วยังมีความต้องการที่จะรับกำลังไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอนอีกด้วย แต่จากที่กล่าวข้างต้นแล้วว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ระบบไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์ควบคุมเกิดการเสียหาย หรือข้อมูลเสียหายหรือเกิดข้อผิดพลาดตามมา
         สภาวะแวดล้อมทางไฟฟ้าที่มีผลต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์สื่อสารจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการคือ  แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ระบบสายดิน ระบบเชื่อมต่อไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อระบบสื่อสารและระบบควบคุม ระบบปรับอากาศและระบบป้องกันเพลิง ซึ่งจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่มากมายเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้ง่าย นอกจากนั้นแล้วสภาวะแวดล้อมทางไฟฟ้าภายนอกห้องคอมพิวเตอร์ ห้องควบคุม และห้องสื่อสาร ก็เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางระบบไฟฟ้าได้เช่นกัน เช่น การจ่ายไฟฟ้าผ่านสายไฟที่ไม่มีคุณภาพ ผ่านท่อโลหะที่ไม่มีคุณภาพ หรือคลื่นรบกวนไฟฟ้าที่มาจากการเหนี่ยวนำ
           การที่ระบบไฟฟ้าที่นำมาใช้งานไม่มีการป้องกันที่สมบูรณ์ในช่วงของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้านั้น ผลที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การเกิดฟ้าผ่าที่ทำให้เกิดแรงดันสไปก์ขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างแน่นอน ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าจะออกแบบให้ใช้อุปกรณ์ที่กำจัดแรงดันไฟฟ้าผิดปกติดังกล่าวได้ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าเอง จะต้องพิจราณาหรือตัดสินใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และระดับการป้องกันด้วย
           การยินยอมให้แรงดันไฟฟ้าด้านเข้า มีการเปลี่ยนแปลงโดยแปรตามเวลาที่ยอมรับได้ ซึ่งจาก FIPS (Federal information processing standards )
          ผลที่เกิดจากการที่ระบบไฟฟ้าผิดปกติจะสรุปได้ดังนี้
  - ทำให้ต้องเริ่มต้นทำงานใหม่
  - ทำให้ระบบควบคุมทำงานผิดปกติ หรือข้อมูลผิดพลาด
  - ทำให้เครื่องป้องกันไฟฟ้าตัดระบบที่กำลังทำงานอยู่ออกไป
  - ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในเครื่องใช้ไฟฟ้า 
  - ทำให้เกิดภาวะการจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะต้องพิจารณาสภาพไฟฟ้าเป็นกรณีพิเศษ ถูกพิจารณาแยกเป็นสี่กลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระบบไฟฟ้า คือ
  - กลุ่มโรงพยาบาล
  - กลุ่มบริการสาธารณะ เช่น สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ สนามบิน โรงแรม
  - กลุมบริการธุรกิจ เช่น ธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ ขนส่ง สื่อสาร
  - กลุ่มโรงงาน
2.การผิดปกติในระบบไฟฟ้า พอจะสรุปถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดได้ดังนี้
  - สไปก์ ( Spikes )
  - เสิร์จ ( Surge ) และดิปส์ ( Dips )
  - ฮาร์มอนิกส์ ( Harmonics )
สไปก์ ( Spikes )  ฟ้าผ่าอาจทำให้เกิดเป็นสัญญาณยอดแหลมที่สูงชันมาก คือ สไปก์ ขึ้นในระบบเครือข่ายไฟฟ้าสไปก์ที่เกิดขึ้นจะมีแรงดันไฟฟ้าสูงหลายร้อยโวลด์และบางครั้งอาจสูงถึง 2 กิโลโวลด์ โดยเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นมากๆเช่น 100 ไมโครวินาที (ms) หรือ 0.0001 วินาที และบางครั้งอาจเกิดการสั่นทางไฟฟ้า (Oscillate ) เป็นคลื่นความถี่ไฟฟ้าถึง 100 กิโลเฮิร์ท ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะ ทรานเซียนท์ (Transient )และสไปก์ดังกล่าวจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเกิดการชะงักในระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้
     บางครั้งสไปก์ก็อาจเกิดจากการที่เดินผ่านพรมปูพื้น ซึ่งในขณะที่เดินจะเกิดการขัดสีกับพรมทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้น และไฟฟ้าสถิตย์นี้จะไหลเข้าโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรามักจะพบได้บ่อยๆคือประกายของประจุไฟฟ้าที่เราไปแตะเข้ากับโครงโลหะดังกล่าวนั่นเอง บางครั้งสไปก์อาจเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นไทริสเตอร์หรือ ไทรแอก ซึ่งจากการตรวจคลื่นรบกวนดังกล่าว จะพบว่าอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor ปอาจทำให้เกิดสไปก์ได้ถึง 300 โวลด์ ในช่วงเวลาสั้นๆไม่เกิน 1 ไมโครวินาที หรือบางครั้งสไปก์ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบของมอเตอร์ และในบางครั้งสไปก์ก็อาจเกิดจากหลอดไฟฟ้าบางชนิดได้เช่นกัน เช่น หลอดปรอทความดัยสูง ที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าหลอดแสงจันทร์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมหลายๆอย่างในตัวเราก็สามารถที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบไฟฟ้าและการใช้งานได้
      นอกจากนั้นแล้วสไปก์อาจเกิดขึ้นจากการเปิดปิดสวิตช์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ ( Induction motor ) ซึ่งมอเตอร์ชนิดนี้นำมาใช้กันมากร่วมกับปั๊มและพัดลมและจากการตรวจวัดพบว่าคลื่นสไปกืที่เกิดขึ้นจะมีขนาดสูงกว่า 800 โวลด์ในช่วงเวลา 2 ถึง 3 ไมโครวินาที การเกิดสไปก์ในกรณีนี้เกิดขึ้นได้จากการสั่นของหน้าสัมผัสคอนแทกเตอรืของชุดสตาร์ทนั่นเองซึ่งในบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดสไปก์เป็นหลายๆชุดต่อเนื่องกันนานถึง 100 ไมโครวินาทีได้
เสิร์จและดิปส์  เสิร์จ ( Surge ) และดิปส์ (Dips ) ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าก็เป็นคลื่นรบกวนที่ค่อนข้างรุนแรงเช่นกันเสิร์จเกิดขึ้นได้จากการเปิดวงจร (Switch on )ของระบบไฟฟ้าออกไปส่วนการปิดวงจร (Switch off) ของระบบไฟฟ้าจะทำให้เกิดดิปส์ขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ เช่น ลิฟท์ เครื่องปรับอากาศ ปั๊ม หรือพัดลม ก็จะยิ่งส่งผลให้ปัญหาในการเกิดเสิร์จและดิปส์ดังกล่าวรุนแรงมากโดยทั่วไปแล้วเราจะสังเกตุการเกิดเสิร์จและดิปส์ได้ง่ายๆจากการสังเกตุแสงหลอดไฟฟ้าชนิดกลมมีไส้(Luminance incandescent) ซึ่งจะมีแสงวูบวาบบางช่วงที่เกิดเสิร์จและดิปส์ดังกล่าว ระยะเวลาที่เกิดเสิร์จและดิปส์ จะมีช่วงเวลาที่เกิดนานกว่าสไปก์ คือนานประมาณ 10 มิลลิวินาทีซึ่งการที่เกิดเสิร์จและดิปส์ที่เป็นเวลานานโดยแม้ว่าขนาดแรงดันไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปจากปกติไม่มากนักก้เพียงพอที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้งานของระบบไฟฟ้ารวมถึงการสูญเสียต่อระบบเครือข่ายไฟฟ้าได้
ฮาร์มอนิก ( Harmonic ) เป็นสัญญาณรบกวนระบบไฟฟ้า โดยมีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่ไฟฟ้าตามปกติซึ่งเมื่อมีฮาร์มอนิกผสมเข้าในความถี่ไฟฟ้าปกติแล้วจะก่อให้เกิดการผิดเพี้ยนของรูปคลื่นทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งาน อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดฮาร์มอนิกนี้ ส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีชิ้นส่วนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไทริสเตอร์ เรคติไฟเออร์ หลอดไฟฟ้าชนิดความดันสูง ไดโอด หรือมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ เป็นต้น
WWW.PCNFORKLIFT.COM