วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กระบอกยืดเข้า-ออก รถ NICHIYU ยืนขับ

ตรวจเช็ครถโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า เพื่อเสนอราคาซ่อม

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตรวจซ่อมรถแฮนด์ลิฟท์

ลูกทอร์คเกียร์ ลูกค้าส่งมา วิเคราะห์อาการเสีย

ตรวจเเช็ครถ stacker 24v

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสังเกตอาการเเละเเก้ปัญหาเครื่องยนต์เบื้องต้น

         ปัญหาเครื่องยนต์ติดเเล้วดับ
ปัญหาเครื่องยนต์ผ่อนเเล้วดับ จอดเเล้วดับ หรือเเม้เเต่ขับไปเรื่อยๆ ดับเฉยเลยก็ยังมี อาการเหล่านี้ก็อาจมีได้หลายสาเหตุเช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นเครื่องยนต์เบนซิลอาจเกิดจากไอเดิลของคาร์บูเรเตอร์ไม่ได้อยู่ในตำเเหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะตั้งไว้อ่อนเกินไป ทำให้น้ำมันเเล้วอากาศผสมกันไม่ได้อัตราส่วนที่เครื่องยนตืต้องการ เเต่หากเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อากาศรั่วจากเครื่องยนต์ ลูกสูบเเละท่อของลูกสูบเสื่อมคุณภาพ ยกหูโทรศัพท์ตามช่างได้เลย
          ปัญหาเครื่องยนต์ดับเมื่อเร่งเครื่องเต็มที่
ปัญหาเช่นนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าตั้งเจทไว้สูงหรือเเก่จนเกินไป ทำให้อากาศเข้าภายในห้องเครื่องยนต์มากกว่าอัตราส่วนปกติ เมื่อมีการเร่งเครื่องยนต์เเบบทันทีทันใด ย่อมจะทำให้การเผาไหม้เกิดการขาดช่วง ทำให้เครื่องยนต์ดับไปในที่สุด วิธีเเก้ไขเบื้องต้น คือ
                 -ลดโลว์ สปีด มิกเซอร์
                 -คลัตช์เข้ามาติดไวเกินไป อาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนสปริงคลัตช์ใหม่
                 -เปอร์เซ็นต์ของก๊าซไนโตรต่ำเกินไป
             ปัญหาเครื่องยนต์ร้อนเกินกว่าปกติ
ปัญหานี้อาจสังเกตได้ง่ายๆ จากเกย์วัดอุณหภูมิที่เข็มเบนไปทางฮีทมากเช่นนี้อาจทำให้เครื่องยนต์น๊อกในสถานที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นเราจะต้องรีบตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของความร้อนส่วนเกินที่ไม่สามารถระบายออกได้ เช่น
                 -ระบบหล่อเย็นมีปัญหา
                 -น้ำในหม้อน้ำเเห้ง หรือรั่ว
               ในปัญหานี้จะพบมากที่สุดก็คือ การปล่อยใหิ้หม้อนำ้เเห้งหรือหม้อนำ้เกิดรั่วโดยไม่รู้ตัว หากเจอกับปัญหาเช่นนี้ในระหว่างทางที่ไปอีกไกลกว่าจะถึงตัวเมืองเราจำเป็นจะต้องพยาย่ามเติมน้ำลงในหม้อน้ำ เเต่เราไม่อาจจะเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่มีความร้อนสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราควรคลายความร้อนให้เเก่หม้อน้ำให้ได้มากที่สุด จากนั้นหาผ้าหนามาจับฝาหม้อนำ้เเล้วค่อยหมุนเปิดเพื่อคลายหม้อน้ำที่มีความร้อนสูงออก เเต่ในการใช้วิธีนี้ จำเป็นจะต้องเเน่ใจเสียก่อนว่าหม้อน้ำที่เกิดปัญหาคลายความร้อนลงบ้างเเล้ว
           

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบหล่อเย็น

ในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลนี้ จะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ในขณะที่ทำงานมีอุณหภูมิความร้อนสูงจนเกินไป หรือเกินขีดจำกัดที่เครื่องจะทนได้ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลนั้น โดยปกติจะถูกออกเเบบให้ทำงานในอุณหภูมิที่มีความร้อนสูงมาก ดังนั้นระบบหล่อเย็นจึงมีหน้าที่นำความร้อนส่วนเกินของเครื่องยนต์ในขณะทำงานออกจากเครื่องยนต์ เเละอาจทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ ของเครื่องยนต์เสื่อมสภาพหรือถึงขนาดชำรุดเสียหายได้ นอกจากนี้ระบบหล่อเย็นยังสามารถควบคุมอุณหภูมิจากความร้อนที่สูงขึ้ของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย ซึ่งระบบดังกล่าวจะพยามยามรักษาระดับอุณหภูมิให้มีความคงที่ เเละกำจัดความร้อนส่วนเกินออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงาาน เนื่องจากหากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิที่ต่ำหรือเย็นเกินไปก็อาจจะส่งผลให้ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอได้เช่นกัน ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งระบบหล่อเย็นเพื่อควมคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ขณะทำงานอยู่ 2 เเบบ คือ -ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งในตัวระบบจะปล่อยให้อากาศภายนอกผ่านเข้าสู้ตัวเครื่องยนต์โดยตรง ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยอากาศเป็นตัวนำพา -ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ของเหลวที่ว่านี้ ก็คือน้ำโดยทั่วไปนั้นเอง โดยของเหลวเช่นน้ำนั้น จะไหล่ผ่านช่องต่างๆ ที่ถูกติดตั้งขึ้นในตัวของเครื่องยนต์เพื่อให้ความร้อนที่เกิดขึ้นถูกถ่ายเทไปกับน้ำที่ไหลผ่านสัมผัสตัวเครื่องยนต์นั้นซึ่งหลังจากที่น้ำถ่ายเทความร้อนออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงานเเล้ว น้ำร้อนเหล่านั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง เพื่อให้น้ำนั้นมีการปรับสภาพอุณหภูมิให้ลดลง(น้ำนั้นเย็นลง) จึงจะถูกส่งกลับไปไหลเวียนในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวตามเดิม สำหรับระบบหล่อเย็นนี้ จะมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบเพื่อทำงานในระบบดังนี้ 1.หม้อน้ำ คือ ถังเก็บน้ำที่ใช้สำรองน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนของระบบหล่อเย็น โดยหม้อน้ำจะเป็นเครื่องถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยคอยล์ร้อน 2.พัดลม คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ดูดเอาลมผ่านหม้อน้ำเพื่อคลายความร้อนออกจากน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งพัดลมนี้จะทำงานตามระยะเวลาที่ถูกตั้งไว้ เพื่อใหเมีการระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำเป็นช่วงๆ 3. ปั๊มน้ำ คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ปล่อยน้ำให้ไหลเวียนในระบบหล่อเย็นได้อย่างเพียงพอเเละเหมาะสม 4.เทอร์โมสตัด สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ จะมีหน้าที่ควมคุมอุณหภูมิในระบบหล่อเย็น โดยจะสั่งการให้ปล่อยน้ำเพื่อทำการไหลเวียนเพื่อคลายความร้อนให้เเก่เครื่องยนต์ ซึ่งเทอร์โมสตัดนี่้ จะควบคุมให้มีการหล่อเย็นเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้เเกเครื่องยนต์

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็คเเบตเตอรี่รถกอล์ฟ CLUBCAR

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สปริง (Spring)

เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ใช้ในการเก็บพลังงานกล สปริงทำจากเหล็กกล้าชุบเเข็ง สปริงขนาดเล็กสามารถขึ้นรูปจากเหล็กเหนียว ในขณะที่สปริงขนาดใหญ่ทำมาจากเหล็กกล้าอบอ่อน เเละทำการชุบเเข็งหลังจากขึ้นรูปเเล้ว โลหะนอกกลุ่มเหล็กที่ใช้ทำสปริง ได้เเก่ ฟอสเฟอร์ บรอนซ์ ไทเทเนียม เเละทองเเดงเบริเลียม สปริงไทเทเนียมใช้ในงานที่ต้องทนต่อการกัดกร่อน เเละสปริงทองเเดงเบริเลียมใช้ทำตัวนำกระเเสไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้านทานของไฟฟ้าต่ำ
                          การออกเเบบผลิตสปริงจะขึ้นอยู่กับสภาพเเวดล้อมหารทำงานที่ต้องการ วัสดุทุกชนิดสามารถนำมาใช้ทำสปริงได้ เเต่ต้องมีความเเข็งเเกร่งเเละมีความยืดหยุ่น เช่น ไม้คันธนูที่อยู่ในรูปของสปริง
                           สปริงใช้ทำประโยช์นได้หลายอย่าง เช่น
                            1.ใช้บังคับเเรงซึ่งเกิดจากการกระเเทกหรือเเรงที่ทำทันทีทันใด (Shock Load) เช่นสปริงในลิฟท์ หรือในข้อสับของตู้รถไฟ
                            2.ใช้บังคับการสั่นสะเทือน เช่นสปริงของรถยนต์เเละสปริงรับฐานเครื่องจักรต่างๆ
                            3.ใช้เป็นตัวออกเเรงเเละบังคับทิศนทางการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่างๆ เช่น สปริงในคลัตช์เเละในเบรคของรถยนต์
                            4.ใช้เป็นตัวเก็บสะสมพลังงาน เช่น ในลานนาฬิกา
                            5.ใช้สำหรับวัดเเรง เช่นสปริงของตาชั่งสปริง

สายพาน (Belt Drives)

การส่งกำลังงานทางกลจากเพลาอันหนึ่งไปยังเพลาอีกอันหนึ่งอาจทำได้ 3 วิธีคือ การใช้เฟือง การใช้สายพาน เเละการใช้โซ่ การส่งกำลังโดยสายพานเป็นการส่งกำลังเเบบอ่อนตัวได้ (Flexible) ซึ่งมีข้อดีเเละข้อเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งกำลังโดยใช้เฟือง ข้อดีคือ มีราคาถูก เเละใช้งานง่าย รับเเรงกระตุกเเละการสั่นสะเทือนได้ดีขณะใช่งาน ไม่มีเสียงดัง เหมาะสำหรับเหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลา ที่อยู่ห่างกันมากๆ เเละค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ข้อเสียคือ อัตราทดไม่เเน่นอน เนื่่องมาจากการลื่นไถล (Slip) การยืดของสายพาน เเละต้องมึการปรับระยะห่างระหว่างเพลา หรือปรับเเรงดึงในสายพานระหว่างการใช้งาน
                    การขับด้วยสายพานเป็นการขับโดยอาศัยความฝืดหรือความเสียดทาน เป็นการส่งกำลังงานโดยการสัมผัสกันระหว่างสายพานเเละพูลเลย์ตัวตาม โดยความสามารถของการส่งกำลังงานด้วยสายพานขึ้นอยู่กับ
                     1.เเรงดึงยึดระหว่างสายพานกับพูลเลย์
                     2.ความเสียดทานระหว่างสายพานกับพูลเลย์
                     3.ส่วนโค้งสัมผัสระหว่างสายพานเเละพูลเลย์
                     4.ความเร็วรอบของสายพาน
                    สายพาน (Belt Drives) โดยปกติใช้ส่งกำลังงานระหว่างเพลาขนานกัน 2 เพลา เเต่ก็มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ในทิศทางอื่นๆ ได้ด้วย

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

mitsubishi forklift truck


ตรวจเช็คแบ็ตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์ 48v

รถโฟล์คลิฟท์ HYSTER 3.5 TON ใช้แก๊ส LPG

ชุดเฟืองท้ายรถกอล์ฟไฟฟ้า

มอเตอร์รถกอล์ฟไฟฟ้า 48v

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

หม้อต้มแก๊ส lpg รถโฟล์คลิฟท์






หลักการทำงานของหม้อต้มแก๊ส


หม้อต้มแก๊สหรือ Reducer ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของแก๊สซึ่งปกติแล้วเวลามันอยู่
ในถังแก๊สจะเป็นของเหลว (เหมือนที่เห็นในไฟแช็คอ่ะ เป็นอย่างนั้น)ให้กลายเป็นไอ
(แก๊สจะกลายเป็นไอได้ต้องลดแรงดันลง) โดยแก๊สจากถังจะต้องผ่านหม้อต้มแก๊ส
เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นไอและส่งต่อเข้าไปยังเครื่องยนต์ ที่นี้การเปลี่ยนสถานะของ
แก๊สให้กลายเป็นไอก็ต้องใช้พลังงานมาช่วยก็คือพลังงานความร้อนจากระบบระบาย
ความร้อนของรถยนต์คือน้ำจากหม้อน้ำนั่นเองจะช่วยให้แก๊สเปลียนสถานะได้เร็วขึ้น

หม้อต้มแก๊ส LPG ก็จะมีอยู่ 2 ระบบ
1. หม้อต้มแก๊สระบบดูด หม้อต้มระบบนี้จะไม่มีแรงดันให้แก๊สออกครับ จะต้องอาศัยแรง
ดูดจากเครื่องยนต์เท่านั้นถึงจะมีแก๊สออกไป
2. หม้อต้มแก๊สระบบแก๊สหัวฉีด หม้อต้มแบบนี้จะมีแรงดันประมาณสัก 2 บาร์ได้
เพื่อส่งแก๊สไปที่หัวฉีดและจ่ายแก๊สออกไปเมื่อหัวฉีดเปิดครับ
 มาว่ากันถึงเสป็ค หม้อต้มแก๊ส 
ปกติแล้วหม้อต้มแก๊ส จะมีเสป็คบอกไว้ว่ารองรับเครื่องได้กี่แรงม้าไม่ใช่ว่าใส่แล้ว
จะมีแรงม้าตามที่ระบุเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งนั่นหมายถึงเข้าใจผิดครับ เช่น
เครื่องยนต์มีแรงม้า 100 แรงม้า ถ้าติดหม้อต้ม 200 แรงม้า เครื่องก็มี 100 แรงม้าเท่า
เดิม (ก็ม้าที่มีมาจากโรงงานมันแค่ 100 ตัวนี่)
แต่ถ้าหากเครื่องยนต์ 100 แรงม้า ติดหม้อต้มที่มีกำลังจ่ายแค่ 80 แรงม้า อย่างนี้มี
ปัญหาครับเวลาใช้แก๊สจะเร่งไม่ค่อยออกครับเพราะแก๊สไม่พอเลี้ยงม้า 100 ตัวของ
เครื่องยนต์ครับ อย่างน้อยเครื่องยนต์มี 100 แรงม้า หม้อต้มแก๊สก็ควรจะรองรับ
ได้สัก 100 แรงม้าหรือให้ดีเผื่อสักนิดเป็น 120 แรงม้าไรทำนองนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่มี
ปัญหาแก๊สจ่ายไม่พอเวลาเร่งรอบสูงๆหรือต้องการกำลังฉุดลากมากๆ ครับ

ปกติทั่วไปมันไม่เป็นไรก็ไม่มีใครจะไปรื้อมันหรอกครับ
งั้นหาเหตุที่จะรื้อดีกว่า
1. กินแก๊สมากผิดปรกติ
2. จูนไม่จบสักทีเปลี่ยนหัวฉีดแล้วด้วย
3. สตาร์ทยากเปลี่ยนหรือเช็คหัวฉีดแล้วด้วยเหมือนกัน
4. เร่งไม่ขึ้น อืดผิดปรกติ
5. น้ำในหม้อน้ำหายหรือมีคราบน้ำที่หม้อต้ม
เมื่อนับได้ 5 ข้อแล้ว ก็มารื้อเปลี่ยนชุดซ่อมกันดีกว่าครับ 555
จะอธิบายจุดต่างๆไปด้วยครับ แบบง่ายๆก็แล้วกัน

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

ซ่อมรถกอล์ฟ

ปลั๊กแบตเตอรี่รถโฟล์คลิฟท์

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ นิชิยู รุ่น 75

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

เบรค (ฺBrakes)

เป็นอุปกรณ์ทางกลที่ใช้ยับยั้งการเคลื่อนที่ ซึ่งมีการทำงานตรงกันข้ามกับครัตช์ โดยส่วนใหญ่จะใช้กับยานพาหนะต่างๆ เเละเบรคคือการใช้ความเสียดทานที่เป็นพลังงานจลน์ เเล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน
                    เบรคโดยปกติจะติดตั้งกับเพลาหมุนหรือล้อ เเต่อาจจะมีรูปเเบบอื่นๆ เช่นยานพาหนะบางรุ่นใช้การเบรคของลมร่วมกับกลไกการเบรค เช่น รถเเข่งลากเลื่อนที่มีทั้งระบบเบรคที่ล้อเเละร่มชูชีพ หรือเครื่องบินที่มีทั้งระบบเบรคที่ล้อ เเละการงอปลายปีกลงไปในอากาศในระหว่างลงจอดบนพื้นดิน เพื่อช่วยในการเบรคให้เครื่องบินหยุดเร็วขึ้น
                    เบรคของรถยนต์จะเกิดความร้อนจากการเบรคในดุมเบรคหรือดิสก์เบรค เเล้วถ่ายเทความร้อนไปให้กับอากาศในการขับรถยนต์ลงเขา เราจะใช้เบรคตามปกติเเละใช้ระบบเกียร์เป็นเกียร์ 1 เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเป็นตัวเบรคที่เรียกว่า เอนจิ้นเบรค (Engine Brake)
                    เเม่ปั๊มเบรค (Master Cylinder)
เเม่ปั๊มเบรคเป็นอุปกรณ์ควบคุมที่เปลี่ยนเเรงดันจากเท้าเหยียบที่เเป้นเหยียบไปเป็นความดันไฮดรอลิค เพื่อที่จะเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ปลายของระบบไฮดรอลิค ได้เเก่กระบอกเบรคที่ล้อ
                    การทำงาน เมื่อเหยียบเบรค ลูกสูบที่เเม่ปั๊มเบรคจะถูกดันเคลื่อนไปตามรูของเเม่ปั๊มเบรค ทำให้น้ำมันไฮดรอลิคเกิดความดันสูงไปดันลูกสูบของกระบอกเบรคที่ล้อ เเต่โดยที่มีความเเตกต่างกันระหว่างขนาดของเเม่ปั๊มเบรคเเละกระบอกเบรคที่ล้อ ทำให้เกิดความดันจำนวนมากกระทำที่ลูกสูบเบรคที่ล้อ จึงสามารถดันผ้าเบรคออกด้วยความดันสูง ทำให้รถยนต์สามารถชะลอตัวลงหรือหยุดได้


วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็ครถโฟร์คลิฟท์ toyota 7FD20 อาการคคันเกียร์หัก

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

เฟือง (GEARS)


                                                                     
เฟือง (GEARS)
          เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งภายในระบบส่งกำลังเครื่องจักร เช่น เครื่องกลึง กระปุกพวงมาลัย กระปุกเกียร์ หรือชุดเฟืองท้าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ส่งถ่ายกำลังโดยการหมุนผ่านเฟืองตัวอื่นๆ เฟืองจะเเตกต่างจากพูลเล่ย์ (Pulley) คือเฟืองจะมีฟันเฟืองอยู่รอบๆ เเละจะมีขนาดของฟันเฟืองเท่าฟันของเฟืองตัวอื่น 
ที่ขบกันอยู่ เฟืองจะมีการส่งกำลังหรือเเรงขับอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการลื่นไถล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง
เเละการจัดวางเฟือง เฟืองสามารถส่งถ่ายกำลังที่ความเร็วเเละเเรงบิดที่เเตกต่างกันได้ หรือมีการได้เปรียบเชิงกล หรือในทิศทางที่เเตกต่างจากต้นกำลังได้ โดยปกติจะใช้ลดความเร็วเเต่เพิ่มเเรงบิด 
   
่1.1 ชนิดของเฟือง (Type of Gears)
      เฟืองเเบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้เเก่ เฟืองฟันนอกเเละเฟืองฟันใน โดยเฟืองฟันนอกจะมีฟันเฟืองอยู่บนผิวด้านนอกของทรงกระบอกกลมหรือกรวยกลม ในทางกลับกัน เฟืองฟันในจะมีฟันเฟืองอยู่ด้านในของผิวทรงกระบอกกลมหรือกรวยกลมดังเเสดงในรูป
                                                                                               
                                                                    

1.1.1 เฟืองฟันตรง (Spur Gears)
         เฟืองฟันตรง เป็นเฟืองที่มีฟันเฟืองตัดตรงขนานกับเเนวเเกน สร้างง่ายเเละเเข็งเเรง ใช้ส่งกำลัง
ระหว่างเพลา 2 เพลาที่ขนานกัน เฟืองฟันตรงมีประสิทธิภาพสูง เเละมีความเเม่นยำสูง ดังนั้นเฟืองฟันตรงจึงถูกใช้งานงานด้วยความเร็วสูงเเละภาระสูง ในการส่งกำลังงานฟันเฟืองจะขบกันได้เพียงหนึ่งฟันเฟือง จึงอาจจะทำให้ฟันเฟืองเเตกหักได้ถ้ามีการส่งกำลังมากเกินไป ข้อเสียของฟันเฟืองเเบบนี้คือ จะมีเสียงดังขณะส่งกำลังงาน ตัวอย่างของเฟืองฟันตรง

 1.1.2เฟืองฟันเฉียง (Helical Gears)
         เฟืองฟันเฉียงใช้ส่งกำลังกับเพลาที่วางขนานกัน จะมีฟันเฟืองตัดขวางกับเเกนหรือการหมุนฟันเฟืองจะมีความยาวกว่าเฟืองฟันตรงเเละรับภาระได้สูงมาก อัตราการสัมผัสของฟันเฟืองจะสูงกว่าสฟันเฟืองตรง ขณะส่งกำลังงานฟันเฟืองจะขบกันได้มากกว่า 2 ฟันเฟืองขึ้นไป มีความราบเรียบเเละไม่มีเสียงดังขณะส่งกำลังงาน เฟืองฟันเฉียงจะใช้ในกระปุกเกียร์รถยนต์ เเละชุดทดกำลังในอุตสาหกรรม 
1.1.3 เฟืองฟันเฉียงคู่ (Herringbone or Double Helical Gears)
         เฟืองฟันเฉียงคู่ หรือเรียกกันว่า เฟืองก้างปลา เฟืองชนิดนี้จะมีฟันเฟืองเฉียงเป็นรูปตัววี ใช้ส่งกำลังงานระหว่างเพลา 2 เพลาที่ว่างขนานกัน เฟืองชนิดนี้ไม่สามารถเลื่อนหลุดออกจากกันได้ขณะขบส่งกำลังเเละผลิตยาก ทำให้มีราคาสูงมาก ใช้ในเตาหลอมซีเมนต์เเละเบ้าหลอมโลหะ
1.1.4 เฟืองเพลนนิทารี (Planetary Gears)
         ชุดเฟืองเพลนทิทารีจะประกอบด้วย เฟืองวงเเหวนเเบบฟันเฟืองใน (Sun Gear) เฟืองตัวเล็ก 3 หรือ 4 ตัว เเละเฟืองตัวกลางโดยเฟืองตัวเล็กจะสวมอยู่ในสลักของตัวเรือน โดยจะหมุนรอบสลักเเละหมุนไปพร้อมกับเรือนของมัน ใช้เป็นชุดเฟืองทดในเกียร์อัตโนมัติ มอเตอร์สตาร์ต เเละชุดเฟืองทดในโรงงานอุตสาหกรรม 
                                                                                                    WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ផ្នែក សម លើក ម៉ាស៊ីន បានទេ forklift repair and spare parts

ដើម្បីដំណើរការនៅលើជណ្តើរយន្តចំនួនបួនឡានអគ្គីសនីនៅក្នុងការលក់ជួលប្រេងនិងឧស្ម័នផ្នែកជួសជុលនិងសេវាកម្ម។ ចូលរួមនៅក្នុងពេញ - សូមទាក់ទងវិចារណញាណរបស់អ្នក 02-9875837 0865182510 0831458807 អ៊ីម៉ែល: pcnforklift@hotmail.com, www.pcnforklift.com




ផ្នែក សម លើក ម៉ាស៊ីន បានទេ? សំបកកង់ រថយន្ត អគ្គិសនី និង ប្រេងម៉ាស៊ូត ? forklift  ( polyurethane ) ។

ជួសជុល អាគុយ ថាមពល រួមទាំង គ្រប់ប្រភេទ ផ្នែក អគ្គិសនី

សេវា អធិការកិច្ច ដើម្បីផ្តល់នូវ ការជួសជុលឡើងវិញ។ ផ្តល់ប្រឹក្រសា និងសេវា

ការដំឡើង ឧបករណ៍ ពិសេស ដូចជា ការឈោង ? ើអង្គុំគៀ Shiftef ចំហៀងនិង ឧស្ម័ន LPG ឧស្ម័ន។


ការជួសជុល ជួសជុល យ៉ាងឆាប់រហ័ស ម៉ាក ទាំងអស់របស់គណៈ ស៊ីភីយូ controlboard ។

ការលក់ ? ដៃ អំណោយ ជួសជុល ម៉ាក ទាំងអស់ នៃទំហំ ទាំងអស់។

ថ្លៃ សេវា ប្រចាំខែ ( PMS ) ខាញ់ ការផ្លាស់ប្តូរ ប្រេង។

ការលើក រថយន្តដឹកទំនិញ នាំចូលពី ក្រៅប្រទេស សម ( ប្រើ ឡានដឹកទំនិញ ) ទាំងពីរ អគ្គិសនី និងវិស្វករ ។


ជួសជុល ចុង ធ្នឹម ផ្លោរតេហ ហ្វ្រាំង នេះ ធារាសាស្ត្រ ។

ដំឡើង ដងក្ដោង ការកើនឡើង លើក កម្ពស់ ទាំងពីរ ម៉ាស៊ីន និង អគ្គិសនី ។

ជួល រថយន្ត លើក ម៉ាស៊ីន កម្មវិធីជ្រើស ? រថភ្លើងក្រោមដី ជារៀងរាល់ថ្ងៃ រថយន្ត ប្រចាំខែនិងប្រចាំឆ្នាំ ពី 1.0 ទៅ 4 តោន។

ទិញ - លក់ - ប្តូរប្រាក់ ការលើក ឡាន សម ជាមួយនឹង លក្ខខណ្ឌ ទាំងអស់។


ការឆក់ ថ្ម យ៉ាងឆាប់រហ័ស

ក្រុមហ៊ុន forklift ហាង ជួសជុល រថយន្ត។ ប្រភេទ ម៉ាស៊ីន ទាំងអស់ ដូចជា កម្លាំងបង្វិលជុំ បញ្ជូន ក្ដាប់ បញ្ជូន ជាង Hual សែល - ប្រេងសាំង - ហ្គាស ឧស្ម័ន LPG ។