วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิิธีใช้และการตรวจสอบรถยก

                                  วิธีการใช้งานรถยกและการตรวจเช็คความพร้อมใช้งานเบื้องต้น
พนักงานขับรถยกและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์  และสัญลักษ์ต่างๆที่อยู่ในรถ  วิธีการตรวจเช็คสภาพที่พร้อมใช้งาน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น  และการดูแลรักษาเครื่องยนต์เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์   ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
    การต่อแบตเตอรี่
ดึงหัวปลั๊กแบตเตอรี่ออกจากเครื่องชาร์ทไฟ  แล้วนำไปเสียบกับตัวเสียบที่ตัวรถ
   ตรวจสอบการชาร์ทแบตเตอรี่
มาตรวัดระดับแบตเตอรี่จะบอกสภาพของแบตเตอรี่ในขณะนั้น เราจะสามารถอ่านค่าไฟแบตเตอรี่ที่ถูกต้องได้หลังจากที่ได้ต่อแบตเตอรี่แล้วประมาณ 1 นาที
  ความหมายเมื่อเข็มชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ
- ช่องระดับแรกนับจากซ้ายมือแสดงว่าเหลือระดับไฟ  20  เปอร์เซน
-สัญญาณไฟกระพริบเมื่อเหลือระดับไฟ 20 เปอร์เซน เพื่อเตือนให้ชาร์ทไฟ ระบบไฮดรอลิกในการยกจะถูกตัดโดยอัตโนมัติหากปิดสวิตช์มาตรวัด
-เมื่อเข็มชี้ไปที่ฝั่งขวามือแสดงว่าระดับไฟปกติคือ 80 เปอร์เซนต์   เมื่อระดับไฟแบตเตอรี่ลดเหลือ 20 เปอร์เซนต์ ควรหยุดปฏิบัติงานและทำการชาร์ทไฟใหม่ทันที
  การสตาร์ทเครื่อง
เสียบกุญแจลงในล็อค  แล้วหมุนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา
  มาตรวัดชั่งโมงการทำงาน
มาตรวัดจะทำการบอกชั่วโมงการทำงานที่ผ่านมาของรถและจะทำงานเมื่อไขกุญแจเริ่มการใช้งานเท่านั้น
  การปรับเบาะที่นั่ง
-เลื่อนเบาะไปข้างหน้า หรือข้างหลังโดยการผลักปุ่มด้านล่างทางซ้ายมือของเบาะที่นั่ง ไปทางซ้าย เลื่อนที่นั่งแล้วปล่อย
 -ปรับพนักพิงหลังโดยดึงเหล็กที่อยู่ด้านล่างของเบาะด้านหน้าขึ้น
-ปรับความยืดหยุ่นของเบาะที่นั่งตามน้ำหนักของคนขับโดยหมุนปุ่มที่อยู่ด้านข้างทางซ้ายของเบาะหมุนไปทางซ้ายสำหรับน้ำหนักเบา และทางขวาสำหรับน้ำหนักมากและควรปรับเมื่อไม่มีคนอยู่บนเบาะ
 การปรับระดับพวงมาลัย
-กดคันล๊อคแกนพวงมาลัยลงปรับระดับความต้องการแล้วปรับคันล๊อคพวงมาลัยเข้าที่เดิม
-ในกรณีที่คันล๊อคพวงมาลัยเกะกะเท้า หรืทำให้ไม่สะดวกในการทำงานให้ดันคันล๊อคออกจากแกนหมุนให้พ้นทางแล้วเสียบกลับตมาเดิม
-ตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งว่าแกนพวงมาลัยได้ถูกล๊อคไว้อย่างแน่นหนาแล้ว
การตรวจระดับน้ำมันเบรค
ตรวจระดับน้ำมันเบรคในถังเก็บให้มีปริมาตรอย่างน้อย 3 / 4 ของปริมาตรทั้งหมดหรือเติมน้ำมันเบรคตามคู่มือคำแนะนำ
การตรวจสอบระบบการเบรค
- รถต้องหยุดสนิทเมื่อเหยียบเบรค
- รถต้องจอดนิ่งเมื่อใส่เบรค
การตรวจสอบเบรคจอด
- ล้อหยุดนิ่งเมื่อใส่เบรคจอด
- เมื่อรถเบรคไฟเบรคสว่างขึ้น
- เบรคมือจัดเป็นอุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษ
การขับเคลื่อน
- ยกงาให้สูงจากพื้นเพียงพอแล้วดึงคันบังคับ
- ห้ามใช้งายกนำ้หนักในขั้นนี้
- เลือกทางเดินรถที่คนขับมีความชำนาญ และให้เมาะกับขนาดของรถ
การสตาร์ท
-ปลดเบรคจอดโดยเหยียบไปที่ส่วนล่างของคันเบรค  แล้วปล่อยให้ถอนคืน สัญญาณเบรคจะหายไป
- เลือกทิศทางโดยใช้คันบังคับ
- เหยีียบคัยเร่ง
การถอยหลัง
- ปล่อยคันเร่งแล้วเหยียบเบรค
- ปรับคันเลือกทิศทาง แล้วเหยียบคันเร่ง  สามารถปรับคันเลือกทิศทางได้ในขณะเหยียบคันเร่งโดยรถจะหยุด และรถออกตัวอีกครั้งในทิศทางตรงกันข้าม  ( ถอยหลัง )
พวงมาลัย
 ควบคุมการเลี้ยวของรถโดยหมุนพวงมาลัย  วงเลี้ยวศึกษาจากข้อมูลทางเทคนิค
เมื่อเกิดจุดขัดข้อง
- สัญญาณเตือนจะสว่างขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนคาร์บอนบรัช
- เปลี่ยนคาร์บอนบรัชตามคำแนะนำ  ( อุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม )
การปฏิบัติงานเมื่อมีคันเหยียบ 2 อัน ในการขับขี่
- ยกงาขึ้นสูงจากพื้นจนได้ช่องว่างจากพื้นตามต้องการแล้วผลัก (คันบังคับการยกขึ้น - ลง ) ลง
- ห้ามใช้งายกของในช่วงนี้
- เลือกช่องทางเดินรถที่ชำนาญ
การเดินหน้า
- ปลดเบรคจอด
- เหยียบคันเร่งทางด้านขวา  รถจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้า
- เพิ่มความเร็วโดยเหยียบคันเร่ง และลดความเร็วโดยผ่อนคันเร่ง
การกลับทิศทาง
- ถอนคันเร่ง
- เหยียบคันเร่งของทิศทางตรงกันข้าม  รถจะหยุดและเคลื่อนตัวใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม
การถอยหลัง
- เหยียบคันเร่งทางด้านขวา
- เพิ่มความเร็วโดยเหยียบคันเร่ง  และลดความเร็วโดยการผ่อนคันเร่ง
- ไฟหลังจะสว่างขึ้น
ก่ารเบรค  การควบคุมการยกเบรค
- เหยียบเบรคที่เท้า เพื่อหยุดรถในขณะที่ขับเคลื่อน
- ในการเหยียบเบรค เบรคจะทำงานด้วยไฟฟ้าในระดับแรก เมื่อเหยียบเบรคลึกลงไป จะเป็นการเบรคโดยใช้ระบบไฮดรอลิก
- เบรคไฟฟ้าจะช่วยยึดชั่วโมงการทำงานของแบตเตอรี่และยังช่วยยืดอายุผ้าเบรค เพราะพลังไฟจะกลับสู่แบตเตอรี่เมื่อเบรค
เบรคจอด
เมื่อต้องการจอด เหยียบคันเบรคให้จมหากใช้เบรคมือด้วยให้ดูหน้า
ข้อควรระวัง
- เบรคในระบบไฟฟ้าจะไม่ทำงานในการเบรคจอด  เมื่อเบรคจอดกระแสไฟในมอเตอร์จะลดลงเหลือ 40 เปอร์เซนต์ ของค่าไฟสูงสุด
- การสตาร์ทรถโดยยังไม่ปลดเบรคจอด  จะไม่ทำให้ใช้ไฟเกินกำลัง
- ในการปลดเบรคจอด เหยียบไปที่ส่วนล่างของคันเบรคแล้วปล่อยให้คืนตัว
การยกและการเอียง
 การโยกเสาไปข้างหน้า   ผลักคันบังคับอันที่ 2 ไปข้างหน้า
 ก่ารโยกเสาไปข้างหลัง   ผลักคันบังคับลง
 การยกงาขึ้น                    ผลักคันบังคับอันที่ 1 ไปข้างหลัง
 การลดงาลง                     ผลักคันบังคับไปข้างหน้า
                                            คันบังคับอันที่  3  ใช้สำหรับตัวคีบ หรืองาด้านข้าง
                                            คันบังคับอันที่  4  ใช้สำหรับงาเสริมแบบหมุนได้
                ( สามารถศึกษาวิธีการควบคุมได้จากแผ่นคำแนะนำที่มากับอุปกรณ์เสริมพิเศษ )
ข้อปฏิบัติในกรณีที่มีคันบังคับอันเดียว
การโยกงาไปข้างหน้า         ผลักคันบังคับไปข้างหน้า
การโยกงาไปข้างหลัง         ผลักคันบังคับไปข้างหลัง
การยกงา                               ผลักคันบังคับไปทางขวา
การลดงา                               ผลักคันบังคับไปทางซ้าย      
                                      ระบบไฮดรอลิกเพิ่มเติม
ระบบเสาและงา  การปรับระบบไฮดรอลิก
แรงดันในระบบไฮดรอลิกนี้มีหลายขนาด สามารถอ่านค่าความดันได้จากมาตรวัดความดัน
- ผ่อนแผ่นเกลียวออก
- ปรับระดับสำหรับตัวหนีบ (ปิดตัวหนีบ )
- หมุนลูกบิดตามค่าความดันที่ต้องการโดยความดันจะเพิ่มขึ้นเมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา (ห้ามถอดจีมออกเด็ดขาด )
                          เสาและงา
 เสาแบบเทเล     เมื่อผลักคันบังคับมาข้างหลังเสาจะยกงาขึ้นโดยใช้กระบอกสูบ 2 อันด้านนอก และโซ่ (งาจะถูกยกขึ้นด้วยความเร็วเป็น 2 เท่าของเสา ) ควรตรวจสอบความสูงหากเป็นบริเวณที่มีเพดานต่ำ
เสาแบบนิโฮ   เมื่อผลักคันบังคับมาข้างหลังกระบอกสูบด้านในจะยกงาสูงขึ้นถึงความสูงระดับ 1 จากนั้นกระบอกสูบด้านนอกจะยกงาต่อจนถึงความสูงสุด
                         เสา  3  ตอน
     การทำงานเหมือนเสาแบบนิโฮ  แต่สามารถยกได้สูงกว่าหากยกของขึ้นสูงถึงระดับ 1 ไม่จำเป็นต้องระวังความสูงของกระบอกสูบด้านใน
                        สัญญาณไฟ  และที่ปัดน้ำฝน
       สัญญาณไฟ  - ดึงสวิตช์ไฟเบรคออกมา ไฟเบรคจอดจะสว่างขึ้น
                               - ดึงสวิตช์ไฟหน้า ไฟหน้าจะสว่างขึ้น
                               - เปิดไฟฉุกเฉินโดยกดสวิตช์ สัญญาณไฟที่สวิตช์จะกระพริบ
       ไฟสูง              - เปิดสวิตช์ปรับคันควบคุมทิศทาง ไปทางซ้ายหรือทางขวา ตามต้องการ
        การเปิดสวิตช์ที่ปัดน้ำฝน  ให้ดึงสวตช์ที่ปัดน้ำฝน
                         แตรรถและฟิวส์
      แตรรถ  เหยียบสวิตชืแตรที่เท้า
      ฟิวส์      ฟิวส์หลักอยู่ที่หนวยควบคุมไฟฟ้าด้านหลังของตัวรถ
      ฟิวส์สำหรับสัญญาณไฟ  กล่องฟิวส์ทางด้านซ้ายบรรจุฟิวส์สำหรับ
                    - ไฟหน้าด้านขวา
                    - ไฟหน้าด้านซ้าย
                    - สัญญาณไฟ
                    - ไฟเบรค
                การต่อเชื่อมรถพ่วง
    การพ่วงรถ  - เสียบหมุดลงไปที่รูแล้วหมุนทำมุม  90 องศา แล้วดึงออก
                         - สอดใส่สลักตัวพ่วงลงในรูที่เปิดให้พอดี
                         - เสียบหมุดลงไปอีกครั้งให้ดันแรงสปริง แล้วหมุนไป 90 องศา ( หมุดจะถูกตรึงอยู่ในตำแหน่งนี้ )
               น้ำหนักมากที่สุดที่พ่วงได้    น้ำหนักมากที่สุดที่ใช้ได้ในการพ่วงจะเท่ากับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของงาที่ระบุไว้บนแผ่นทางด้านขวาของที่นั่งคนขับ
           ห้ามบรรทุกสิ่งของใดๆ บนงาในกรณีที่ใช้รถพ่วงกับน้ำหนักสูงสุด
           อาจใช้งาบรรทุกสิ่งของบางส่วนได้โดยใช้รถพ่วงบรรทุกน้ำหนักที่เหลือ
         ข้อควรระวัง  จะใช้รถพ่วงกับน้ำหนักมากที่สุดได้เมื่ออยู่บนพื้นเรียบเท่านั้น และจะต้องลดน้ำหนักลงหากรถต้องวิ่งบนทางลาด
          โปรดแจ้งสภาพของรถแก่ผู้ผลิต  หรือตัวแทนจำหน่ายเพื่อรับข้อมูลที่จำเป็น
            การใช้รถอื่นลากรถพ่วง  ควรใช้ความเร็วเท่ากับความเร็วในการเดินลากรถพ่วงการควบคุมพวงมาลัยจะเป็นไปได้ยาก  เซอร์โวสเดียริ่งจะไม่ทำงาน
            การเคลื่อนย้ายรถยก
          - สำหรับการเคลื่อนย้ายรถยกโดยใช้รถเครน ให้เกี่ยวขอให้ถูกตำแหน่งซึ่งระบุไว้ด้วยสัญลักษณ์ตะขอ  ควรแทรกแผ่นไม้ไว้ด้วยเพื่อป้องกันความเสียหาย
          - จะมีหูสำหรับเกี่ยวกับขอที่ตัวรถ
           น้ำหนัก    ให้ศึกษาคำแนะนำของผู้ผลิต         
          การขนย้ายรถ
  1.ลิ่ม     ป้องกันการเลื่อนไหลของล้อหน้า และล้อหลังโดยใช้ลิ่ม 2 อัน เสียบไว้ทั้ง 2 ด้านของล้อโดยใช้ก้อนอิฐประกบไว้ด้านข้าง
 2.การผูกเชือก  ใช้เชือกผูกโดยให้เชือกอยู่ที่เสาด้านหน้า  และปมพ่วงด้านหลัง
             ข้อปฏิบัติก่อนใช้งา บรรทุกของและการปรับงา
       ก่อนใช้งาบรรทุกของ
    -ศึกษาความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักจากแผ่นป้ายทางด้านขวาของที่นั่งคนขับ ห้ามใช้งาบรรทุกน้ำหนักเกินจากที่กำหนดไว้ เพราะจะเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานของรถ
    * ระยะของจุดศูนย์กลางน้ำหนักจากฐานของงา (ม.ม.)
    *ความสูงในการยก (ม.ม.)
    *น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (ก.ก.)
  ตัวอย่าง
น้ำหนักของสิ่งของที่จะยก   1270 ก.ก.ระยะของจุดศูนย์กลางน้ำหนักจากฐานของงา 600 ม.ม.  ความสูงในการยก  5030 ม.ม.
( ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างโปรดศึกษาจากแผ่นป้ายบนตัวรถของท่่านด้วย
    การปรัระยะห่างของงา
ระยะระหว่างทั้ง 2 ควรกว้างพอควรเพื่อที่จะวางสิ่งของจะได้ไม่เลื่อนตกลงมาขณะทำการยก  ปรับงาทั้ง 2 ข้างให้ได้ระยะห่างที่พอเหมาะแล้วทำการล็อคงาไว้ให้เรียบร้อย
  - ยกสลักขึ้น แล้วเลื่อนงาตามระยะห่างที่เหมาะสมจากนั้นทำการเลื่อนสลักลงเพื่อทำการล็อค
  - จุดศูนย์กลางของน้ำหนักควรอยู่กึ่งกลางงาทั้ง 2 ข้าง
  - ห้ามปรับระยะห่างของงาในขณะที่ใช้งาบรรทุกสิ่งของ
 การใช้งายกของ
  -ขับรถเข้าหาแร็คด้วยความเร็วปานกลาง  แล้วค่อยๆหยุดเมื่อถึงแร็ค
  - ปรับคันบังคับเลือกทิศทางให้อยู่ในตำแหน่งกลาง
  - ใส่เบรคจอด
  - ปรับเสาให้ตั้งตรงโดยผลักคันบังคับไปด้านหน้ายกงาขึ้น แล้วปรับคันบังคับไปด้านหลังความเร็วเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ยกน้ำหนักได้เร็ว
  -ผลักคันเลือกทิศทางไปข้างหน้า
  -ปลดเบรคจอด
  -เคลื่อนรถไปข้างหน้าช้าๆ แล้วสอดงาเข้าไปใต้สิ่งของให้ลึกที่สุด ระวังอย่าให้งากระแทกสิ่งของหรือแร็คหยุดรถเมื่อสิ่งของวางอยู่ชิดกับฐานงาเรียบร้อยแล้วจุดศูนย์กลางของน้ำหนักต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างงาทั้ง 2
  -ใส่เบรคจอด
  -ยกงาขึ้นจนสัมผัสกับสิ่งของที่จะบรรทุก
  -ปรับคันบังคับเลือกทิศทางเป็นถอยหลัง
  -ปลดเบรคจอด ตรวจดูว่าทางเดินรถด้านหลังไม่มีสิ่งกีดขวาง ถอยรถช้าๆจนสิ่งของพ้นจากตัวแร็คแล้วเบรค
  - ใส่เบรคจอด
  การเคลื่อนย้ายของ
  -ปรับเสาให้หงายขึ้นไปทางด้านหลังจนสุด
  -ลดความสูงของงาลงมาจนได้ระดับเหมาะสมแก่การเดินรถ เว้นระยะห่างจากพื้นให้พอเหมาะ
  -ปลดเบรคจอด และเริ่มเคลื่อนรถได้ ขับรถอย่างระมัดระวังหากต้องเลี้ยวและหลีกเลี่ยงการเบรคอย่างกะทันหัน
  -เวลาเดินรถควรให้สิ่งของอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้ การบรรทุกสิ่งของที่อยู่ในระดับสูงเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพของรถ
  -ควรปรับระดับงาให้อยู่ห่างจากพื้นพอประมาณ และควรเดินรถถอยหลังหากสิ่งของที่บรรทุกอยู่ทำให้ไม่สามารถมองเห้นเส้นทางเดินรถได้ชัดเจน
  -เวลาเดินรถให้ปรับเสาหงายไปทางด้านหลังให้มากที่สุดเสมอ
  -ควรเร่งหรือชลอความเร็วด้วยความนุ่มนวลและหลีกเลี่ยงการสตาร์ท หรือเบรคอย่างกะทันหัน
  -ห้ามบรรทุกของในขณะที่งาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งกลาง
  -ควรขึ้นทางชันโดยให้สิ่งของอยู่ทางด้านหน้ารถ และลงทางชันโดยให้สิ่งของอยู่ทางด้านหลังรถ
  -ห้ามขับรถข้ามสิ่งกีดขวางที่ทำมุม 90 องศากับพื้น(ควรมีไม้วางพาดไว้) และห้ามเลี้ยวบนทางลาดชัน
  -ห้ามไม่ให้มีผู้ใดเดินผ่าน หรือเดินใต้งาเด็ดขาด
  การขนของเข้า
  -ปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดโดยเรียงย้อนจากหลังไปหน้า
  -เดินรถเข้าหาแร็ค ยกสิ่งของให้สูงกว่าระดับชั้นที่จะวางเล็กน้อยเมื่อสิ่งของอยู่เหนือชั้นวางแล้ว ปรับเสาให้ตั้งตรง แล้ววางของลงบนชั้นจากนั้นเดินรถถอยหลังจนกว่าสิ่งของจะพ้นจากงา
  -ลดงาลงมาจนถึงระดับที่จะเดินรถปรับเสาให้หงายไปข้างหลังแล้วเดินรถได้
               การจอดรถเพื่อทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่
การจอดรถ
   -ปรับคันเลือกทิศทางให้อยู่ในตำแหน่งกลาง
   -ใส่เบรคจอด
   -ปรับเสาให้อยู่ในแนวตั้ง
   -ลดระดับงาลงจนถึงพื้น
   -ปรับสวิตช์ไปทางซ้ายแล้วถอดออก
   -ถอดปลั๊กแบตเตอรี่
  ( ห้ามทิ้งรถในขณะที่มีน้ำหนักบรรทุกอยู่ )
              การเปลี่ยนแบตเตอรี่
   -โยกพวงมาลัยไปข้างหน้าแล้วล็อคไว้
   -ถอดสายแบตเตอรี่
   -เลื่อนเบาะไปข้างหลังให้มากที่สุด
   -เปิดล็อคฝาครอบแบตเตอรี่โดยเลื่อนตัวล็อคไปทางซ้าย
   -ยกฝาครอบแบตเตอรี่ขึ้นโดยจับตรงหูที่จับ
   -สำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ยกออกจากด้านบนให้ผูกรอกเข้ากับแบตเตอรี่โดยให้สายรอกผ่านช่องว่างระหว่างซี่เหล็กเหนือที่นั่งคนขับ
   -ติดตั้งแบตเตอรี่ลูกใหม่  ( ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเท่ากันเท่านั้นเพราะน้ำหนักของแบตเตอรี่มีผลต่อความสมดุลย์ของรถน้ำหนักของแบตเตอรี่จะระบุไว้ที่ตัวรถและตัวแบตเตอรี่ )
   -ปิดฝาครอบแบตเตอรี่
   -ต่อปลั๊กแบตเตอรี่
    อุปกรณ์เพิ่มเติมพอเศษ
   เบรคมือ   จะทำงานควบคุมล้อหน้าโดยใช้สายเคเบิ้ล
   แท่งวัดระดับน้ำมันไฮดรอลิค  สามารถตรวจเช็คระดับน้ำมันไฮดรอลิคได้โดยใช้แท่งเหล็ก
  การระบายอากาศสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า  เมื่อความร้อนขึ้นสูงถึง  80 องศา เครื่องระบายอากาศจะทำการระบายความร้อนของมอเตอร์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
  หูเกี่ยวรอก  ในการใช้เครนยก ให้เกี่ยวตะขอเครนเข้ากับหูเกี่ยวของรถซึ่งจะมีเครื่องหมายตะขอแสดงไว้
  งาเสริม  ติดงาเสริมเข้ากับงาตัวเดิม
 
WWW.PCNFORKLIFT.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น