วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์เชื้อเพลิงแก๊สโซลีนที่ควบคุมด้วยิอเล็กทรอนิกสฒ

การตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนคบวคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ( EFI )
  การตรวจหาสาเหตุข้อขัดข้องของเครื่องยนต์ฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีนควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (EFI )สามารถตรวจสอบได้โดยการใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงคลื่นไฟฟ้า และใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องที่ขั้วต่อสายไฟเข้ากล่องคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการตรวจเช็คดังนี้
 1.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว +B กับ E1 และขั้ว +B1 กับ E1
     เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B กับ E1 และบิดสวิตช์จุดระเบิดไปที่ตำแหน่ง ON เราสามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ B1 กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ประมาณ 10 ถึง 14 โวลต์
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 และ +B กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ตรวจฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลักEFI และแบตเตอร์รี่ ว่ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 10 กับ 14 โวลด์หรือไม่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 10 กับ 14 โวลด์ที่อุปกรณ์ต่างๆให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟที่ไหลมาที่ขั้ว E1 ของคอมพิวเตอร์กับกราวต์ว่ามีหรือไม่ ถ้ามีให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
2.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว BATT กับ E1 สามารถตรวจวัดการขัดข้องได้โดยใช้โวลต์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลต์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว BATT กับ E1 จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 10 ถึง 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดที่่ขั้ว BATT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามที่กำหนด ให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์สายและสายไฟระหว่างขั้ว BATT กับ แบตเตอรี่ตามลำดับ
 -ถ้ามีแรงไฟฟ้าที่ขั้ว BATT กับกราวด์ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอรืกับกราวด์ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
3.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว IDL กับ E2 เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IDL กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งกับกล่องคอมพิวเตอร์ลิ้นเร่งจะต้องเปิด วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้ประมาณ 4.5 ถึง 5.5 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว +B และ +B1 ที่กล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่ตามลำดับ
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของสายไฟระหว่างขั้ว E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้ามีให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องที่ขั้ว IDL กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งถ้าตรวจวัดไม่ได้ตามค่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนใหม่
  -ถ้าการตรวจสอบเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งปกติ ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว E2 กับ IDL ของกล่องคอมพิวเตอร์กับเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
4.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VTA กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์ สวิตช์จุดระเบิดอยู่ที่ตำแหน่ง ON และลิ้นเร่งปิดสนิท ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -เมื่อใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VTA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.5 โวลด์หรือน้อยกว่าเมื่อลิ้นเร่งปิดสนิท
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 กับ +B ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งที่ขั้ว VTA กับ E2
  -ถ้าขั้ว VTA กับ E2 ปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เซนเซอร์กับกล่องคอมพิวเตอร์ ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
5.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VCC กับ E2  ของกล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มอเตอร์วัดที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว VCC กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 4.5 ถึง 5.5 โวลด์เมื่อตำแหน่งลิ้นเร่งเปิดสุด ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามทีี่กำหนดให้ตรวจสอบในข้อถัดไป
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B1 และ +B ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานที่ขั้ว VCC กับ E2 ของเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง
  -ถ้าเซนเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่งปกติ ให้ใช้โวลด์มอเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว VCC กับ E2  ของเซนเซอร์ ตำแหน่งลิ้นเร่งกับกล่องคอมพิวเตอร์ ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
6.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว  IGT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IGT กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (เครื่องยนต์เดินเบา )จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.7 ถึง 1.0 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว IGT ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์สตาร์ต จานจ่าย  สายไฟจากกล่องคอมพิวเตอร์กับแบตเตอรี่  และตัวช่วยจุดระเบิด
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์  ถ้าปกติให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
7.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว STA กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ขณะสตาร์ตเครื่องยนต์  สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว STA กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 6 ถึง 14 โวลด์ (สวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง START )และควรตรวจการทำงานของงมอเตอร์สตาร์ต ฟิวส์ ฟิวส์สาย  แบตเตอรี่สวิตช์จุดระเบิด และรีเลย์สตาร์ต ตามลำดับ
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าเป็นปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว STA (50)ของมอเตอร์สาร์ตกับกราวด์
8.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว No.10 กับ E01 หรือ No.20 กับ E02 และสวิตช์จุดระเบิดอยู่ในตำแหน่ง ON สามารถตรวจสอบข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว No.10 กับ E01 หรือขั้ว No.20 ที่กล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9ถึง 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้วความต้านทานโซลีนอยด์ขั้ว +B กับกราวด์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 ถึง 14 โวลด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สายไฟ สวิตช์จุดระเบิดและรีเลย์สตาร์ต
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้วความต้านทานโซลีนอยด์ No.10 และ No.20 กับกราวด์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 ถึง 14 โวลด์
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานของขดลวดแม่เหล็กของแต่ละหัวฉีดประมาณ 13.8 โอห์มถ้าหัวฉีดมีค่าความต้านทานตามค่าที่กำหนดให้ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างกล่องคอมพิวเตอร์กับความต้านทานโซลีนอยด์หัวฉีด หรือเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
9.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W กับ E1 (หลอดไฟดับแต่เครื่องยนต์ทำงาน ) สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (เครื่องยนต์ทำงานที่รอบเดินเบา )แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 9 กับ 14 โวลด์
  -ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว W ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ หลอดไฟเตือนเครื่องยนต์ และสายไฟระหว่างขั้ว W ของกล่องคอมพิวเตอร์กับฟิวส์ หรือลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 กับกราวด์ ถ้าไม่ต่อเนื่องให้เปลี่ยนกล่องคอมพอวเตอร์ใหม่
10.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PIM กับ E2 หรือ VCC กับ E2 .ในขณะที่บิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจหาข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว PIM หรือขั้ว VCC กับ E2 ของกล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 3.3 กับ 3.9 โวลด์และ 4.5 กับ 5.5 โวลด์ตามลำดับ
  -ใช้โวลด์มอเตอรืตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B หรือ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์ EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้าปกติให้ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว PIM และขั้ว VCC กับE2  ของกล่องคอมพิวเตอร์กับเซนเซอร์สุญญากาศ ถ้าปกติ ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  -ใช้โอห์มมิเตอร์วัดการต่อเนื่องของสายไฟที่ขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติ ให้เปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
11.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว THA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช็จุดระเบิดไปที่ตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้ดวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว THA กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 2.0 ถึง2.8 โวลด์ (อุณหภูมิไอดี 20 องศาเซลเซียส)
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่ปกติ ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้าแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าปกติให้ตรวจสอบค่าความต้านทานของเซนเซอร์อุณหภูมิไอดี
  -ถ้าค่าความต้านทานของเซนเซอร์ปกติ ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
12.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้ว THW กับ E2 เมื่อเปิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON ซึ่งสามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ดังนี้
  -ใช้ดวลด์มิเตอร์ตรวจจับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว THW กับ E2 ที่กล่องคอมพิวเตอร์ จะต้องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 0.4 ถึง0.5 โวลด์(อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น 80 องศาเซลเซียส)
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โวลด์มิเตอร์วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว +B และ +B1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ฟิวส์ ฟิวส์สาย สวิตช์จุดระเบิด รีเลย์หลัก EFI และแบตเตอรี่
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้าปกติ ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวดืและตรวจสอบความต้านทานของเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
  -ถ้าปกติให้ลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
13.เมื่อไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C และE1 ที่กล่องคอมพิวเตอร์เมื่อบิดสวิตช์จุดระเบิดไปในตำแหน่ง ON สามารถตรวจวัดข้อขัดข้องได้โดยใช้โวลด์มิเตอร์และโอห์มมิเตอร์ตรวจสอบดังนี้
  -ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C กับ E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์ (สวิตช็เครื่องปรับอากาศอยู่ในตำแหน่ง ON)แรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 5 ถึง 14 โวลด์
  -ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ใช้โวลด์มิเตอร์ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้ว A/C ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ แรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างขั้วแอมพลิไฟเออร์กับกราวด์ หรือตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างแอมพลิไฟเออร์กับกล่องคอมพิวเตอร์
  -ถ้ามีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ตรวจวัดการต่อเนื่องของสายไฟเข้าขั้ว E1 ของกล่องคอมพิวเตอร์กับกราวด์ ถ้าไม่ต่อเนื่อง ให้ทดลองเปลี่ยนกล่องคอมพิวเตอร์ใหม่
WWW.PCNFORKLIFT.COM

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น