วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสังเกตอาการเเละเเก้ปัญหาเครื่องยนต์เบื้องต้น

         ปัญหาเครื่องยนต์ติดเเล้วดับ
ปัญหาเครื่องยนต์ผ่อนเเล้วดับ จอดเเล้วดับ หรือเเม้เเต่ขับไปเรื่อยๆ ดับเฉยเลยก็ยังมี อาการเหล่านี้ก็อาจมีได้หลายสาเหตุเช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นเครื่องยนต์เบนซิลอาจเกิดจากไอเดิลของคาร์บูเรเตอร์ไม่ได้อยู่ในตำเเหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะตั้งไว้อ่อนเกินไป ทำให้น้ำมันเเล้วอากาศผสมกันไม่ได้อัตราส่วนที่เครื่องยนตืต้องการ เเต่หากเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อากาศรั่วจากเครื่องยนต์ ลูกสูบเเละท่อของลูกสูบเสื่อมคุณภาพ ยกหูโทรศัพท์ตามช่างได้เลย
          ปัญหาเครื่องยนต์ดับเมื่อเร่งเครื่องเต็มที่
ปัญหาเช่นนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าตั้งเจทไว้สูงหรือเเก่จนเกินไป ทำให้อากาศเข้าภายในห้องเครื่องยนต์มากกว่าอัตราส่วนปกติ เมื่อมีการเร่งเครื่องยนต์เเบบทันทีทันใด ย่อมจะทำให้การเผาไหม้เกิดการขาดช่วง ทำให้เครื่องยนต์ดับไปในที่สุด วิธีเเก้ไขเบื้องต้น คือ
                 -ลดโลว์ สปีด มิกเซอร์
                 -คลัตช์เข้ามาติดไวเกินไป อาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนสปริงคลัตช์ใหม่
                 -เปอร์เซ็นต์ของก๊าซไนโตรต่ำเกินไป
             ปัญหาเครื่องยนต์ร้อนเกินกว่าปกติ
ปัญหานี้อาจสังเกตได้ง่ายๆ จากเกย์วัดอุณหภูมิที่เข็มเบนไปทางฮีทมากเช่นนี้อาจทำให้เครื่องยนต์น๊อกในสถานที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นเราจะต้องรีบตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุของความร้อนส่วนเกินที่ไม่สามารถระบายออกได้ เช่น
                 -ระบบหล่อเย็นมีปัญหา
                 -น้ำในหม้อน้ำเเห้ง หรือรั่ว
               ในปัญหานี้จะพบมากที่สุดก็คือ การปล่อยใหิ้หม้อนำ้เเห้งหรือหม้อนำ้เกิดรั่วโดยไม่รู้ตัว หากเจอกับปัญหาเช่นนี้ในระหว่างทางที่ไปอีกไกลกว่าจะถึงตัวเมืองเราจำเป็นจะต้องพยาย่ามเติมน้ำลงในหม้อน้ำ เเต่เราไม่อาจจะเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่มีความร้อนสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเราควรคลายความร้อนให้เเก่หม้อน้ำให้ได้มากที่สุด จากนั้นหาผ้าหนามาจับฝาหม้อนำ้เเล้วค่อยหมุนเปิดเพื่อคลายหม้อน้ำที่มีความร้อนสูงออก เเต่ในการใช้วิธีนี้ จำเป็นจะต้องเเน่ใจเสียก่อนว่าหม้อน้ำที่เกิดปัญหาคลายความร้อนลงบ้างเเล้ว
           

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบหล่อเย็น

ในระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลนี้ จะมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ในขณะที่ทำงานมีอุณหภูมิความร้อนสูงจนเกินไป หรือเกินขีดจำกัดที่เครื่องจะทนได้ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลนั้น โดยปกติจะถูกออกเเบบให้ทำงานในอุณหภูมิที่มีความร้อนสูงมาก ดังนั้นระบบหล่อเย็นจึงมีหน้าที่นำความร้อนส่วนเกินของเครื่องยนต์ในขณะทำงานออกจากเครื่องยนต์ เเละอาจทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ ของเครื่องยนต์เสื่อมสภาพหรือถึงขนาดชำรุดเสียหายได้ นอกจากนี้ระบบหล่อเย็นยังสามารถควบคุมอุณหภูมิจากความร้อนที่สูงขึ้ของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย ซึ่งระบบดังกล่าวจะพยามยามรักษาระดับอุณหภูมิให้มีความคงที่ เเละกำจัดความร้อนส่วนเกินออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงาาน เนื่องจากหากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิที่ต่ำหรือเย็นเกินไปก็อาจจะส่งผลให้ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอได้เช่นกัน ในปัจจุบันได้มีการติดตั้งระบบหล่อเย็นเพื่อควมคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ขณะทำงานอยู่ 2 เเบบ คือ -ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งในตัวระบบจะปล่อยให้อากาศภายนอกผ่านเข้าสู้ตัวเครื่องยนต์โดยตรง ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยอากาศเป็นตัวนำพา -ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ของเหลวที่ว่านี้ ก็คือน้ำโดยทั่วไปนั้นเอง โดยของเหลวเช่นน้ำนั้น จะไหล่ผ่านช่องต่างๆ ที่ถูกติดตั้งขึ้นในตัวของเครื่องยนต์เพื่อให้ความร้อนที่เกิดขึ้นถูกถ่ายเทไปกับน้ำที่ไหลผ่านสัมผัสตัวเครื่องยนต์นั้นซึ่งหลังจากที่น้ำถ่ายเทความร้อนออกจากเครื่องยนต์ในขณะทำงานเเล้ว น้ำร้อนเหล่านั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ในอีกที่หนึ่ง เพื่อให้น้ำนั้นมีการปรับสภาพอุณหภูมิให้ลดลง(น้ำนั้นเย็นลง) จึงจะถูกส่งกลับไปไหลเวียนในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวตามเดิม สำหรับระบบหล่อเย็นนี้ จะมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบเพื่อทำงานในระบบดังนี้ 1.หม้อน้ำ คือ ถังเก็บน้ำที่ใช้สำรองน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนของระบบหล่อเย็น โดยหม้อน้ำจะเป็นเครื่องถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยคอยล์ร้อน 2.พัดลม คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ดูดเอาลมผ่านหม้อน้ำเพื่อคลายความร้อนออกจากน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งพัดลมนี้จะทำงานตามระยะเวลาที่ถูกตั้งไว้ เพื่อใหเมีการระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำเป็นช่วงๆ 3. ปั๊มน้ำ คือ อุปกรณ์ที่มีหน้าที่ปล่อยน้ำให้ไหลเวียนในระบบหล่อเย็นได้อย่างเพียงพอเเละเหมาะสม 4.เทอร์โมสตัด สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ จะมีหน้าที่ควมคุมอุณหภูมิในระบบหล่อเย็น โดยจะสั่งการให้ปล่อยน้ำเพื่อทำการไหลเวียนเพื่อคลายความร้อนให้เเก่เครื่องยนต์ ซึ่งเทอร์โมสตัดนี่้ จะควบคุมให้มีการหล่อเย็นเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสมเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้เเกเครื่องยนต์

WWW.PCNFORKLIFT.COM

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็คเเบตเตอรี่รถกอล์ฟ CLUBCAR

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สปริง (Spring)

เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ใช้ในการเก็บพลังงานกล สปริงทำจากเหล็กกล้าชุบเเข็ง สปริงขนาดเล็กสามารถขึ้นรูปจากเหล็กเหนียว ในขณะที่สปริงขนาดใหญ่ทำมาจากเหล็กกล้าอบอ่อน เเละทำการชุบเเข็งหลังจากขึ้นรูปเเล้ว โลหะนอกกลุ่มเหล็กที่ใช้ทำสปริง ได้เเก่ ฟอสเฟอร์ บรอนซ์ ไทเทเนียม เเละทองเเดงเบริเลียม สปริงไทเทเนียมใช้ในงานที่ต้องทนต่อการกัดกร่อน เเละสปริงทองเเดงเบริเลียมใช้ทำตัวนำกระเเสไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้านทานของไฟฟ้าต่ำ
                          การออกเเบบผลิตสปริงจะขึ้นอยู่กับสภาพเเวดล้อมหารทำงานที่ต้องการ วัสดุทุกชนิดสามารถนำมาใช้ทำสปริงได้ เเต่ต้องมีความเเข็งเเกร่งเเละมีความยืดหยุ่น เช่น ไม้คันธนูที่อยู่ในรูปของสปริง
                           สปริงใช้ทำประโยช์นได้หลายอย่าง เช่น
                            1.ใช้บังคับเเรงซึ่งเกิดจากการกระเเทกหรือเเรงที่ทำทันทีทันใด (Shock Load) เช่นสปริงในลิฟท์ หรือในข้อสับของตู้รถไฟ
                            2.ใช้บังคับการสั่นสะเทือน เช่นสปริงของรถยนต์เเละสปริงรับฐานเครื่องจักรต่างๆ
                            3.ใช้เป็นตัวออกเเรงเเละบังคับทิศนทางการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่างๆ เช่น สปริงในคลัตช์เเละในเบรคของรถยนต์
                            4.ใช้เป็นตัวเก็บสะสมพลังงาน เช่น ในลานนาฬิกา
                            5.ใช้สำหรับวัดเเรง เช่นสปริงของตาชั่งสปริง

สายพาน (Belt Drives)

การส่งกำลังงานทางกลจากเพลาอันหนึ่งไปยังเพลาอีกอันหนึ่งอาจทำได้ 3 วิธีคือ การใช้เฟือง การใช้สายพาน เเละการใช้โซ่ การส่งกำลังโดยสายพานเป็นการส่งกำลังเเบบอ่อนตัวได้ (Flexible) ซึ่งมีข้อดีเเละข้อเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งกำลังโดยใช้เฟือง ข้อดีคือ มีราคาถูก เเละใช้งานง่าย รับเเรงกระตุกเเละการสั่นสะเทือนได้ดีขณะใช่งาน ไม่มีเสียงดัง เหมาะสำหรับเหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลา ที่อยู่ห่างกันมากๆ เเละค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ข้อเสียคือ อัตราทดไม่เเน่นอน เนื่่องมาจากการลื่นไถล (Slip) การยืดของสายพาน เเละต้องมึการปรับระยะห่างระหว่างเพลา หรือปรับเเรงดึงในสายพานระหว่างการใช้งาน
                    การขับด้วยสายพานเป็นการขับโดยอาศัยความฝืดหรือความเสียดทาน เป็นการส่งกำลังงานโดยการสัมผัสกันระหว่างสายพานเเละพูลเลย์ตัวตาม โดยความสามารถของการส่งกำลังงานด้วยสายพานขึ้นอยู่กับ
                     1.เเรงดึงยึดระหว่างสายพานกับพูลเลย์
                     2.ความเสียดทานระหว่างสายพานกับพูลเลย์
                     3.ส่วนโค้งสัมผัสระหว่างสายพานเเละพูลเลย์
                     4.ความเร็วรอบของสายพาน
                    สายพาน (Belt Drives) โดยปกติใช้ส่งกำลังงานระหว่างเพลาขนานกัน 2 เพลา เเต่ก็มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ในทิศทางอื่นๆ ได้ด้วย

WWW.PCNFORKLIFT.COM